ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่อในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • จุรีพร คงประเสริฐ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

พัฒนาคุณภาพ, คลินิกโรคไม่ติดต่อ, การควบคุมระดับน้ำตาล, การควบคุมระดับความดันโลหิต

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรค ไม่ติดต่อกับผลการรักษาผู้ป่ วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานของโรงพยาบาลภายใต้สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ประเมินคุณภาพในระบบ NCD clinic plus Online จำนวน 896 แห่ง ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2564 ชุดข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 องค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ทิศทางและนโยบายของสถานบริการสุขภาพ ระบบ สารสนเทศ การปรับระบบและกระบวนการบริการ ระบบสนับสนุนการจัดการตนเอง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และจัดบริการเชื่อมโยงชุมชน ส่วนที่ 2 ผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ ร้อยละของการควบคุมระดับความดันโลหิตและ ร้อยละของการควบคุมระดับน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ทดสอบสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาคุณภาพทั้ง 6 องค์ประกอบของเครื่องมือเกณฑ์ประเมิน NCD clinic plus ที่นำไปใช้พัฒนาคลินิกโรคไม่ติดต่อมีความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 ในโรงพยาบาลทุกระดับ ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในภาพรวมต่อการควบคุมระดับความดันโลหิต ได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กคิดเป็นร้อยละ 33.0, 31.1, 26.7 และต่อการควบคุมระดับ น้ำตาลได้ร้อยละ 23.0, 18.9, 14.1 ตามลำดับ โดยองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพที่มีผลต่อการควบคุมระดับ ความดันโลหิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ การจัดบริการเชื่อมโยงชุมชนในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ การสนับสนุนการ ตัดสินใจและการจัดบริการเชื่อมโยงชุมชนในโรงพยาบาลขนาดเล็ก สำหรับองค์ประกอบของการพัฒนาคุณภาพที่มีผล ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ การจัดบริการเชื่อมโยงชุมชนในโรงพยาบาลขนาดเล็ก ผลของการศึกษานี้ ควรนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาคุณภาพของคลินิกโรคไม่ติดต่ออย่างต่อเนื่องตามบริบทและขนาดของโรงพยาบาล ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ