การสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข: กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • เยาวภา จันทร์เหมือน สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รูปแบบการสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข, การจัดการข้อมูลข่าวสาร, การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสารสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข และศึกษารูปแบบการสื่อสารสุขภาพ ในกรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสาร (documentary analysis) เกี่ยวกับการสื่อสารด้านสุขภาพของ กระทรวงสาธารณสุข สรุปผลการดำเนินงานข่าวในกรณีการระบาดของโรค และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการสื่อสาร จำนวน 19 คน ศึกษาระหว่างเดือนมกราคม 2563 ถึงมีนาคม 2565 นำมา ประมวลผลสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยในประเด็นสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการข้อมูลข่าวสารเพื่อการสื่อสาร สุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Public Health Emergency Operation Center: PHEOC) ซึ่งมีคณะทำงานกลุ่มภารกิจสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ เฝ้ าระวังข้อมูลข่าวสารจากสื่อทุกช่องทาง และประเมินการรับรู้ของสาธารณะ เพื่อจัดทำประเด็นข่าว (press release) ประเด็นสาร (talking point) สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ รวมทั้งผลิตสื่อเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน โดย มีแหล่งข้อมูลที่สำคัญคือ หน่วยงานฐานข้อมูลกลางโควิดโลก (Global Initiative on Sharing all Influenza Data: GISAID) องค์การอนามัยโลก และองค์ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทั้งของกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานภายนอก (2) รูปแบบการสื่อสารสุขภาพ มีการบูรณาการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง โดยอิงตามแผนการ สื่อสารในภาวะวิกฤตที่มีอยู่เดิม กำหนดประเด็นการสื่อสารเป็นสองส่วนคือ (1) สถานการณ์การระบาดของโรค และ (2) ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยส่วนบุคคล สำหรับประชาชนในการป้ องกันตนเอง ครอบครัว และ สังคม และความรู้เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่ วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยพบว่า ประเด็นปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากการขาดแคลนองค์ความรู้เรื่องโรคที่เพียงพอสำหรับการสื่อสาร ในระยะเริ่มต้นของการระบาด รวมทั้งวัคซีนและยาที่ใช้ในการรักษา เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่ที่มีการกลายพันธุ์และ แพร่ระบาดหลายระลอก ทำให้ต้องมีการปรับแผนงานด้านการสื่อสารเป็นระยะบนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการ ทั้งนี้ มีข้อ เสนอแนะว่า ควรมีการจัดทำแผนสื่อสารความเสี่ยงระดับกระทรวงที่มีความครอบคลุมทั้งด้านบุคลากรและ งบ ประมาณ เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ