ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคเมลิออยโดสิสในโรงพยาบาลหนองคาย

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา กราบไกรแก้ว กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย

คำสำคัญ:

เมลิออยโดสิส, ปัจจัยเสี่ยง, อัตราตาย

บทคัดย่อ

อุบัติการณ์การติดเชื้อเมลิออยโดสิสทั่วโลกในปี พ.ศ. 2559 ประมาณ 165,000 รายต่อปี มีอัตราการเสียชีวิต 89,000 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 54.0 ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิต 2,800 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 37.0 และจากข้อมูลของโรงพยาบาลหนองคายช่วงปี พ.ศ. 2562-2564 โรคเมลิออยโดสิสพบบ่อยเป็นอันดับที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 5.4-6.2 ของผู้ป่ วยติดเชื้อในชุมชนที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด และมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 6.7- 10.8 การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทีสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่ วยโรคเมลิออยโดสิสในโรงพยาบาล ่ หนองคายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563 วิธีการศึกษาเป็นเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัย โดยใช้สถิติ Chi-square test แล้วนำเฉพาะปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติมาวิเคราะห์ต่อโดยใช้สถิติ multiple logistic regression ผลการศึกษาพบว่า มีผู้ป่ วยที่มีคุณสมบัติเข้าในการวิจัยทั้งหมด 184 ราย แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่ วยที่เสียชีวิต 43 ราย (ร้อยละ 23.4) และกลุ่มผู้ป่ วยที่รอดชีวิต 141 ราย (ร้อยละ 76.6) โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตของ ผู้ป่ วยโรคเมลิออยโดสิส ได้แก่ ภาวะติดเชื้อชนิดรุนแรง ภาวะช็อค ระดับไบคาร์บอเนตในเลือด <20 มิลลิโมลต่อลิตร คริเอตินิน >1.1 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะชนิดฉีด 1 ชนิด (p<0.05) โดยสรุป ควรพิจารณา ให้ยาปฏิชีวนะชนิดฉีดร่วมกับยารับประทาน ตลอดจนการเฝ้ าระวังและติดตามผู้ป่ วยโรคเมลิออยโดสิสที่มีภาวะติด เชื้อรุนแรงหรือมีภาวะช็อค มีกรดคั่งในเลือด มีไตวายอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคได้

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ