ผลของการพัฒนาระบบ Application Pediatric Early Warning Score ในเด็ก เพื่อลดอัตราการตายของผู้ป่วยเด็กที่นอนรักษาในโรงพยาบาล
คำสำคัญ:
เครื่องมือประเมินอาการและอาการแสดงที่ผิดปกติของผู้ป่วยเด็กก่อนที่อาการจะทรุดลง, ผู้ป่วยเด็ก, การเสียชีวิตในโรงพยาบาลบทคัดย่อ
จากการทบทวนเวชระเบียน 5 ปีย้อนหลัง พบว่ามีผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการ Cardiopulmonary resuscitation มีอัตราการตายสูงมากถึง 86% ทำให้ทีมผู้วิจัยจึงต้องการพัฒนาต้นแบบระบบ Application Pediatric early warning signs score (PEWS) ในเด็ก ที่ระบบเตือนได้ทันที และคำนวณ PEWS ได้อัตโนมัติ เพื่อค้นหาผู้ป่วยเด็กที่มีอาการทรุดลงตั้งแต่ช่วงแรก และรวดเร็ว ซึ่งก็จะส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กไม่เสียชีวิตโดยไม่มีเหตุอันควร โดยวัตถุประสงค์การศึกษา คือ เพื่อหาผลกระทบของการใช้ Application PEWS ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ต่ออัตราการตายของผู้ป่วยเด็กที่มานอนรักษาในโรงพยาบาล และเพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ Application PEWS และ แบบบันทึก PEWS ในกระดาษแบบเดิมที่ใช้อยู่ วิธีการศึกษาเป็น การวิจัยแบบ Observational Analytical case-control study และได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในโรงพยาบาลแล้ว ส่วนประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือน ถึง 15 ปี ได้นอนรักษาที่โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ณ หอผู้ป่วยสามัญ ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2564 และประชากรที่คัดออก คือ ผู้ป่วยเด็กที่ย้ายไปนอนที่หอผู้ป่วยอื่น หรือไม่สามารถลงข้อมูลใน PEWS ได้ ส่วนผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยทั้งหมด 62 คน โดยเป็นสองกลุ่มเท่าๆกัน โดยมี baseline clinical characteristics ไม่แตกต่างกัน โดยอัตราการตายในกลุ่มควบคุมใช้ PEWS แบบกระดาษ คือ 3.2% (1คนใน 31 คน) และ พบอัตราการ unplanned ICU 12.9% (4คนใน 31 คน), อัตราผู้ป่วยมีอาการทรุดลง 9.7% (3 คนใน 31 คน) ส่วนในกลุ่มทดลองใช้ Application PEWS ไม่มีผู้ป่วยเด็กตายเลย และไม่พบ unplanned ICU หรือผู้ป่วยมีอาการทรุดลงเลย นอกจากนี้เรื่องของเวลาให้การรักษาผู้ป่วยเฉลี่ย 80 นาที ในกลุ่มควบคุม ส่วนในกลุ่มทดลอง เวลาให้การรักษาผู้ป่วยเฉลี่ย 29 นาที ซึ่งกลุ่มทดลองได้เวลาตามมาตรฐาน สรุปผลศึกษา คือ การใช้ PEWS application ที่มีระบบ alert ทำให้ไม่พบการตายเลย รวมทั้งอัตราการ unplanned ICU และผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงก็ไม่พบเช่นกัน เวลาที่ให้การรักษาผู้ป่วยตามความรุนแรงก็ได้ตามมาตรฐาน เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม ที่ใช้ PEWS score แบบฟอร์มในกระดาษ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.