การขับเคลื่อนรูปแบบการพัฒนาการป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในกลุ่มผู้พยายามฆ่าตัวตาย จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • เกษม ตั้งเกษมสำราญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกัน, การฆ่าตัวตายซ้ำ, ผู้พยายามฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้ องกันการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำจังหวัดอุตรดิตถ์ เก็บรวบรวม ข้อมูลแบบผสมผสาน 3 ระยะ คือ (1) ศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ (2) พัฒนารูปแบบและนำรูปแบบ ไปทดลองใช้ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ และ (3) ประเมินผลรูปแบบ จากนั้นได้นำไปขับเคลื่อนรูปแบบ การพัฒนาการป้ องกันการฆ่าตัวตายซ้ำในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้พยายามฆ่าตัวตายซ้ำ และสมาชิกในครอบครัว คณะทำงานสุขภาพจิตระดับอำเภอ อาสาสมัครสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า แบบประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย คู่มือการดำเนินงานป้ องกันการพยายามฆ่าตัว ตายซ้ำ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบ การป้ องกันการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำในกลุ่มผู้พยายามฆ่าตัวตาย 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาศักยภาพบุคลากร (2) พัฒนาระบบการค้นหาคัดกรองกลุ่มเสี่ยง (3) ส่งเสริมภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลป้ องกันและแก้ไข ปัญหาฆ่าตัวตาย และ (4) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร ผลการประเมินรูปแบบพบว่า ผู้พยายามฆ่าตัวตายมีภาวะซึม เศร้าและความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายลดลง ในปี 2563 ไม่พบผู้พยายามฆ่าตัวตายซ้ำ จะเห็นได้ว่า รูปแบบการ ป้ องกันการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำในกลุ่มผู้พยายามฆ่าตัวตายส่งผลให้บุคคลในครอบครัวให้ความสำคัญกับปัญหา การฆ่าตัวตายของสมาชิกในครอบครัว ชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังป้ องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย มีระบบการเฝ้าระวัง ป้ องกันการฆ่าตัวตายที่ได้มาตรฐาน เกิดระบบการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วนและมีการบูรณาการการดำเนินงาน ร่วมกันระหว่างเครือข่าย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ