การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สมลักษณ์ หนูจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน, ผู้ป่วยวัณโรค, กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรค, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบการป้ องกันและควบคุมการ ติดเชื้อวัณโรค ในกลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน โดยชุมชนมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจระเข้ อำเภอ หนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ศึกษาในกลุ่มผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ผ่านการคัดกรองความเสี่ยงด้วยแบบคัดกรองผู้มีอาการ สงสัยวัณโรคปอด 38 คน และผู้นำชุมชน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ศูนย์การศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ. สต.) รวม 47 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการ PAOR 2 วงรอบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ และพฤติกรรมการป้ องกันตนเอง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 แบบบันทึกผลการตรวจทางคลินิก และแนว คำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้สัมผัสโรคร่วมบ้าน ส่วนใหญ่อยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่ ใน สภาพบ้านที่การระบายอากาศไม่ดี และไม่ยอมไปตรวจเพราะความกลัว ดังนั้น จึงได้นำมาเข้าสู่การพัฒนารูปแบบ ร่วมกับชุมชน ผ่านการสนทนากลุ่มย่อย ได้เป็น ZOOM TB model ดังนี้ (1) Z - Zero: ในขั้นวางแผน ตั้งเป้ าหมาย คือ ไม่มีผู้สัมผัสร่วมบ้านที่ยังไม่ได้รับการตรวจ ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายชุมชนไร้วัณโรค ประกอบด้วย อสม. ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ภาครัฐได้แก่ รพ.สต. และ กศน. สื่อสารประสานผ่านกลุ่มไลน์ “ซุมสู้ทีบี” เพื่อออกแบบ ระบบติดตามผู้สัมผัสเข้ารับการคัดกรอง และร่วมเยี่ยมดูแลต่อเนื่องจนผลการรักษาครบ (2) O - Organizing: ผสานเครือข่ายชุมชนไร้วัณโรคเข้ากับการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) เพื่อให้เกิดพลังในการขับเคลื่อน กำหนดบทบาทที่ชัดเจนร่วมกัน (3) O - Open: เปิดระบบบริการทางด่วน TB ในโรงพยาบาล ตามวัน เวลา ที่กลุ่ม เสี่ยงสะดวก โดยกำหนดให้ได้รับการ X-ray ปอดทุกคน และ (4) M - Man: สร้างบุคคลต้นแบบ ชักชวนให้กลุ่ม ผู้สัมผัสร่วมบ้านเข้ารับการตรวจได้ ร้อยละ 100.00 หลังดำเนินการพบผลบวกเพิ่มอีก 2 ราย และเข้าสู่ระบบการ รักษาจนครบ (complete) ส่วนด้านความรู้เกี่ยวกับการป้ องกันโรควัณโรค พบว่า ก่อนดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ย 6.62 คะแนน (SD=1.33) และหลังดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ย 8.03 (SD=0.64) ด้านพฤติกรรมป้ องกันตนเองก่อน ดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ย 31.55 คะแนน (SD=1.94)หลังดำเนินการมีคะแนนเฉลี่ย 35.77 (SD=2.15)

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-26

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ