การจัดการน้ำเสียของโรงล้างขยะพลาสติก มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โรงล้างขยะพลาสติก, การจัดการน้ำเสีย, คุณภาพน้ำทิ้งบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงการศึกษาภาคตัดขวาง (cross-sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ จัดการน้ำเสีย และคุณภาพน้ำทิ้งของโรงล้างขยะถุงพลาสติกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ การจัดการน้ำเสียและวิเคราะห์คุณภาพน้ำเสียทางห้องปฏิบัติการ โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสีย 3 จุด ได้แก่ กระบวนการ ล้างพลาสติก บ่อบำบัดน้ำเสียแบบบ่อหมักไร้อากาศ และบ่อสุดท้าย (บ่อดิน) ผลการศึกษา พบว่า มีการปฏิบัติตาม ข้อกำหนดการจัดการน้ำเสีย ร้อยละ36.36 คุณภาพน้ำทิ้ง ผ่าน 15 พารามิเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 88.23 และไม่ผ่าน 2 พารามิเตอร์ คือ ค่า pH และ total dissolved solids (TDS) คิดเป็นร้อยละ 11.77 โดยเทียบกับมาตรฐานตาม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด ประเภทโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการ พ.ศ. 2560 และพบว่าระบบบำบัดน้ำเสีย มี ประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสีย ระหว่างร้อยละ 27.39 ถึงร้อยละ 95.80 โดยมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุดใน พารามิเตอร์ ค่าซีโอดี และค่าบีโอดี ตามลำดับ และมีค่าปริมาณโลหะหนักไม่เกินมาตรฐาน ดังนั้นการแก้ไขปัญหา คุณภาพน้ำทิ้งของโรงล้างขยะพลาสติกควรแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดที่เกิดจากการใช้สารเคมีซักล้าง และเพิ่มระยะเวลา กักเก็บน้ำ ตรวจสอบระบบหมุนเวียนน้ำของบ่อสุดท้าย และกำหนดให้ความลึกของบ่อไม่ควรเกิน 2 เมตร
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.