ประสิทธิผลของการนวดกระตุ้นเต้านม ต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอด
คำสำคัญ:
การนวดกระตุ้นเต้านม, หญิงหลังคลอด, การไหลของน้ำนมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผล ของการนวดกระตุ้นเต้านมต่อการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยภายใน 36 ชั่วโมง แรกหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงหลังคลอด จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น กลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลและ สุขศึกษาสำหรับหญิงหลังคลอดตามปกติ จำนวน 20 คน กลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ได้รับการพยาบาลปกติ สุขศึกษาสำหรับหญิงหลังคลอดตามปกติและโปรแกรมการนวดกระตุ้นเต้านมโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์คนเดียว เป็นผู้ทำหัตถการ จำนวน 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที โดยเปรียบเทียบคะแนนระดับการไหลของน้ำนมก่อนและหลังการ ศึกษาและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (ก) เครื่องมือสำหรับกลุ่มทดลอง ประกอบด้วย (1) แผนการให้สุขศึกษา (2) โปรแกรมการนวดกระตุ้นเต้านม (ข) เครื่องมือสำหรับกลุ่มควบคุม ประกอบด้วย แผนการให้สุขศึกษา เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.80 ทดสอบความเที่ยงของแบบประเมินคะแนนการไหลของน้ำนม ได้ค่าเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบ Kolmogorov–Smirnov สถิติ Independent T-test และสถิติการวิเคราะห์ multiple linear regression ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนน การไหลของน้ำนมก่อนและหลังการศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 0.9 และ 2.65 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กลุ่มควบคุมมีคะแนนการไหลของน้ำนมก่อนและหลังการศึกษาเฉลี่ยเท่ากับ 1.25 และ 1.25 ตามลำดับ และการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่ามีคะแนนการไหลของน้ำนม หลังการศึกษาเฉลี่ย เท่ากับ 1.25 และ 2.65 ตามลำดับ โดยกลุ่มทดลองมีคะแนนการไหลของน้ำนมมากกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมอย่างมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการนวดกระตุ้นเต้านมต่อการไหลของน้ำนม ในหญิงหลังคลอดด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยภายใน 36 ชั่วโมงแรกหลังคลอด มีผลต่อการกระตุ้นการไหลของ น้ำนม จึงควรนำโปรแกรมนี้มาใช้ในการแก้ปัญหาน้ำนมมาช้า น้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อย เพื่อส่งเสริมหญิงหลังคลอด ให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Hoddinott P, Tappin D, Wright C. Breast feeding. BMJ. 2008;336(7649):881-7.
อรพร ดำรงวงศ์ศิริ และพัตธนี วินิจะกูล. ความรู้ใหม่เรื่อง นมแม่กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย. วารสาร โภชนาการ 2563;55(2):15-28.
กฤษณา ปิงวงศ์, กรรณิการ์ กันธะรักษา. การนวดเต้านมเพื่อ ส่งเสริมการสร้างและการหลั่งน้ำนม. พยาบาลสาร 2560; 44(4):169-76.
กุสุมา ชูศิลป์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับพัฒนาการของ สมอง, มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 1 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://thaibf. com/wpcontent/uploads /2017/07/2-การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่กับพัฒนาการของสมอง.pdf
พรพิมล อาภาสสกุล. ค่านิยมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของ มารดาไทย: บทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2561;19(ฉบับพิเศษ):53-61.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจ สถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562 รายงาน ผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2563.
Unicef. Breastfeeding: a key to sustainable development. [Internet]. 2016 [cited 2021 Apr 1]. Available from: http://www.worldbreastfeedingweek.org/pdf/ BreastfeedingandSDGsMes saging%20WBW2016%20Shared. pdf
World Health Organization, UNICEF. Global nutrition targets 2025: breastfeeding policy brief [Internet]. 2014 [cited 2021 Apr 1]. Available from: https://www.who. int/nutrition/topics /globaltargets_breastfeeding_policybrief.pdf
ศศิกานต์ กาละ. การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่: บทบาทพยาบาล. สงขลา: ชาญเมืองการพิมพ์; 2561.
สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒายุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2555. หน้า 21-42.
พรรณี หาญคิมหันต์, สมหมาย อัครปรีดี, รัตนา ทอดสนิท, กิติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์ . ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วย นมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลศิริราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2554;20(5): 766-77.
Hurst NM. Recognizing and treating delayed or failed lactogenesis II [Electronic version]. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52(6):588-94.
Walker M. Breastfeeding management for the clinician: using the evidence. 3rd ed.. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning; 2014.
นิตยา พันธ์งาม, ปราณี ธีรโสภณ, สุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. ผลของการประคบเต้านมด้วยลูกประคบเจลโพลิเมอร์แบบ อุ่นชื้นต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดาหลังค ลอดครรภ์แรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า 2559;27(1):28-38.
ฉันทิกา จันทร์เปีย. กายวิภาคของเต้านม สรีรวิทยาของการ สร้างและหลั่งน้ำนม และกลไกการดูดของทารก. ใน: กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, นันทิยา วัฒา ยุ, สุพินดา เรืองจิรัษเฐียร, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2555. หน้า 61-82.
วิไลพรรณ สวัสดิ์ พาณิชย์. การพยาบาลมารดา หลังคลอด. ชลบุรี: โรงพิมพ์ศรีศิลปการพิมพ์; 2554.
ชุติมาพร ไตรนภากุล, มณฑา ไชยะวัฒน, วิวัฒน คณาวิฑูรย์, รัชกร เทียมเท่าเกิด, สุวรรณี นาคะ, วิมล มิตรนิโยดม, และ คณะ. ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดทีถูกนวดประคบเต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2553;3(3):75-91.
Burns N, Grove SK. The practice of nursing research: conduct, critique, and utilization. St. Louis, MO: Elsevier Saunders; 2005.
ประมินทร์ อนุกูลประเสริฐ. การนวดเต้านมธรรมดาเปรียบ เทียบกับการนวดประคบด้วยผ้าอุ่นกระตุ้นการหลั่งน้ำนม หลังคลอด. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550;1(3- 5):430-38.
เปล่งฉวี สกนธรัตน์, ศศิธร ภักดีโชติ. ผลของการใช้โปรแกรม กระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมของมารดา หลังคลอดโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2555;15(3):1-10.
อังสนา วงศ์ศิริ. การนวดเต้านม: วิถีแห่งการเพิ่มน้ำนม. ใน: ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล, กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, สุธีรา เอื้อ ไพโรจน์กิจ, ฉันทิกา จันทร์เปี ย, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4; วันที่ 5-7 มิถุนายน 2556; โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2556. หน้า 75-9.
สร้อยเพ็ชร วงศ์วาลย์. การนวดและประคบเต้านมด้วย สมุนไพรในหญิงหลังคลอด. ใน: ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล, กรรณิการ์ วิจิตรสุคนธ์, สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, ฉันทิกา จันทร์ เปีย, สุดาภรณ์ พยัคฆเรือง, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการ นมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4; วันที่ 5-7 มิถุนายน 2556; โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น, กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2556. หน้า 101-4.
มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, วรางคณา ชัชเวช. ผลของ โปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนม ในมารดาครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2562;11(3):1-14.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.