ผลของโปรแกรมเสริมสร้างที่มีต่อทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
ทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพ, กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โปรแกรมเสริมสร้าง, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรบทคัดย่อ
กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพของประเทศไทย ประชากรไทยที่มีภาวะความเจ็บป่ วยจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างต้นทุนทางจิตวิทยาของบุคคลที่จะช่วยป้ องกันหรือลดความเสี่ยง จากความเจ็บป่ วยจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือเพื่อศึกษาผล ของโปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ผู้เข้าร่วมวิจัย ได้แก่ นิสิตชั้น ปีที่ 4 สาขาวิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งอาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย 44 คน ผู้วิจัยสุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 22 คนด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และมาตรวัดทุนจิตวิทยาด้าน สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการทดลองที่มีกลุ่มควบคุม โดยมีการทดสอบ ก่อนและหลังการทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบทีแบบเป็นอิสระจากกัน ผลการศึกษาพบว่า ทุนจิตวิทยา ด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยรวมของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มโรคไม่- ติดต่อเรื้อรัง พบว่า การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความหวัง และการฟื้ นพลังของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าของ กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แต่การมองโลกในแง่ดีของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นมากกว่าของกลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05)
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 ม.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories /5/ncds/2/173/176-กลุ่มโรค+NCDs.html
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: อิโมชั่นอาร์ต; 2560.
กัลยารัตน์ รอดแก้ว, ยุวดี ลีลัคนาวีระ, วรรณรัตน์ ลาวัง. ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อ พฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2561;11(2):13-28.
นุชรัตน์ จันทโร, เนตรนภา คู่พันธวี, ทิพมาส ชิณวงศ์. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อความสามารถ ในการจัดการอาการและอาการหายใจลำบากของผู้ป่วย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2561;38(3):25-37.
ศศิธร ตันติเอกรัตน์, อภิชัย คุณีพงษ์. ผลของโปรแกรมปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะ น้ำหนักเกินและโรคอ้วน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2562;12(1):100-16.
สมจิต แดนสีแก้ว, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, วาสนา รวยสูงเนิน, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ , นพนันท์ ชัยภูมิ, รุ่งทิวา ขันธมูล, และคณะ. การเสริมพลังอำนาจผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ เรื้อรังในการลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงเพื่อป้ องกัน โรคไตเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562;37(2):238-46.
Luthans F, Youssef CM, Sweetman DS, Harms PD. Meeting the leadership challenge of employee well-being through relationship PsyCap and health PsyCap. J Leadersh Organ Stud 2013;20(1):118-33.
Harms PD, Vanhove AJ, Luthans F. Positive projections and health: an initial validation of the implicit psychological capital health measure. Applied Psychology: an International Review 2017;66(1):78-102.
วิธัญญา วัณโณ. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัด ทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพสำหรับคนไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2562;49(2):170-83.
วิธัญญา วัณโณ, ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์. ทุนจิตวิทยาด้าน สุขภาพ: การประเมินความต้องการจำเป็นและอิทธิพลต่อสุขภาวะทางจิตของบุคคล. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์ 2564;43(2):36-51.
Luthans F, Avey JB, Avolio BJ, Norman SM, Combs GM. Psychological capital development: toward a micro-intervention. J Organ Behav 2006;27(3):387- 93.
Ryan P, Sawin KJ. The individual and family self-management theory: Background and perspectives on context, process, and outcomes. Nurs Outlook 2009;57(4):217- 25.
Ryan P. Integrated theory of health behavior change: background and intervention development. Clin Nurse Spec 2009;23(3):161-72.
วิธัญญา วัณโณ. การพัฒนามาตรวัดทุนจิตวิทยาด้านสุขภาพ สำหรับคนไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2561.
Lundman B, Viglund K, Aléx L, Jonsén E, Norberg A, Fischer RS, et al. Development and psychometric properties of the inner strength scale. Int J Nurs Stud 2011;48(10):1266-74.
Luthans F, Avey JB, Patera JL. Experimental analysis of a web-based training intervention to develop positive psychological capital. Academy of Management Learning & Education 2008;7(2):209-21.
Luthans F, Avey JB, Avolio BJ, Peterson S. The development and resulting performance impact of positive psychological capital. HRD Quarterly 2010;21(1):41- 67.
Bandura A. Self-efficacy: the exercise of control. New York: Freeman; 1997.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.