การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ชนิดเลือดออกในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ สิริประภาพล โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • สมคิด ปานประเสริฐ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม
  • ศุภาวีร์ ดิษแพร โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ระบบการดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง, ภาวะความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลระบบการดูแลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า ดำเนินการ 3 ระยะ ประกอบด้วย ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่ วย พัฒนาระบบการดูแลและประเมินประสิทธิผลระบบเครื่องมือ ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ รูปแบบระบบการดูแลผู้ป่ วย แบบทบทวนเวชระเบียนและสอบถามสถานการณ์ แบบวัด ความรู้พยาบาลและผู้ดูแลหลัก แบบประเมินความสามารถการปฏิบัติการพยาบาล แบบวัดทักษะผู้ดูแลหลัก แบบสอบถาม ความพึงพอใจพยาบาลและผู้ดูแลหลัก แบบบันทึกข้อมูลและรายงานผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test ผลการศึกษา ได้ระบบการดูแลผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองชนิด เลือดออกในสมองจากภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบด้วย (1) พัฒนาความรู้และสมรรถนะพยาบาล (2) บริหาร จัดการความพร้อมทรัพยากร (3) แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่ วย (4) ติดตามการปฏิบัติ และ (5)ประเมินประสิทธิผล ระบบการดูแล ผลลัพธ์หลังใช้ระบบ พบว่า พยาบาลวิชาชีพมีความรู้ระดับดีเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงกว่า ก่อนการใช้ระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติอยู่ในระดับดี ความพึงพอใจต่อการ ใช้ระบบอยู่ในระดับมาก ผู้ดูแลหลักมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น คะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่าก่อนใช้ระบบอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ํ (p<0.05) ทักษะการดูแลผู้ป่ วยระดับปานกลาง ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ระยะ เวลาการส่งผู้ป่ วยเข้าห้องผ่าตัดได้ตามเป้ าหมาย วันนอนเฉลี่ยลดลง ภาวะแทรกซ้อนลดลง แสดงให้เห็นว่า ระบบการ ดูแลผู้ป่ วยที่พัฒนาขึ้น ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี จึงควรนำระบบการดูแลที่พัฒนานี้ ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วรกร วิชัยโย, เพ็ญศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง, ศิริษา โคตรบุดดา. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ ด้านสุขภาพเพื่อป้ องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2564;14(2):25-35.

จุฑาทิพย์ เทพสุวรรณ. ผลของโปรแกรมป้ องกันการกลับเป็น ซ้ำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2560.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำนวนและอัตราผู้ป่วย ในปี 2559-2561 [อินเทอเน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com/ 2016/mission/documents-detail.php?id=13653&tid= 32&gid=1-020.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมควบคุมโรค. ประเด็นสาร รณรงค์วันอัมพาตโลกปี 2561 [อินเทอเน็ต]. 2563 [สืบค้น เมื่อ 10 ม.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd. com/2016/news/announcementdetail.php?id= 13251&gid=16/ ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี_2561_.pdf

OECD Ilibrary. Mortality following ischaemic stroke. [Internet]. 2019 [cited 2021 Dec 2]. Available from: https://www.oecd-ilibrary.org/sites/a489af86-en/index.html?itemId=/content/component/a489af86-en

Esmael A, Fathi W, Abdelbadie M, El-sayed NTM. Proper timing of control of hypertension and outcome in acute spontaneous intracerebral hemorrhage. The Egyptian Journal of Neurology, Psychiatry and Neurosurgery 2020:56:68. 7. พิชเยนทร์ ดวงทองพล. แนวทางการดูแลผู้ป่ วย hemorrhagic stroke เขตสุขภาพที่

วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2563;15(2):1-23.

สถาบันประสาท กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติโรคหลอดเลือดสมองแตก สำหรับแพทย์ กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2561.

สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. แนวทางการพยาบาล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2558.

จรูญลักษณ์ ป้องเจริญ, รสริน วรรณจิรวิไล, รุ่งนิภา จ่างทอง, ศมีนา สุวรรณประทีป, อุมากร มณีวงษ์. ผลของการพัฒนา รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก ของสหสาขาวิชาชีพ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2563;21(2):91-105.

ชลภัสสรณ์ วิวรรณพงษ์. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอด เลือดสมองแตก หอผู้ป่ วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลยโสธร [รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2555.

สมหวัง โรจนะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563;31(2):205- 21.

ศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานประจำปี ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2562-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 15 ต.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: http://203.157.95.66/data_sys/report_/t_med/ MD207.php?prepage=../t_med/menu.php

Schoderbek PP, Schoderbek CG, Kefalas AG. Management systems: conceptual consideration. Boston: Richard D Irwin; 1990.

Titler MG, Kleiber FC, Steelman VJ, Rakel BA, Budreau G, EverettL Q, et al. The Iowa model of evidence–based practice to promote quality care. Critical Care Nursing Clinics of North America 2001;13(4):497–509.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. คู่มือการนำมาตรฐาน สู่การปฏิบัติ SPA (standards-practice-assessment) part III สำหรับมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 5 ม.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: http://wapihos.com/phocadownload/Form1- Dowload/SPA-2019-Part-II_20190614.pdf

Joanna Briggs Institute. New JBI Levels of Evidence [Internet]. 2013 [cited 2021 Dec 2]. Available from: http://joannabriggs.org/assets/docs/approach/ JBI-Levels-of-evidence_2014.pdf

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้