ประสิทธิผลของโปรแกรม DPACrb Ketogenic Diet ในการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุริยะ คูหะรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี
  • ดวงเดือน ก้อนทอง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, โปรแกรม Ketogenic Diet, การควบคุม, เบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม และวัดผลก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม DPACrb Ketogenic Diet ในการควบคุมโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่ วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย คัดเลือกแบบสมัครใจเข้ารับโปรแกรม ทั้งสองกลุ่มจะ ได้รับการชั่งน้ำหนัก, BMI, เจาะน้ำตาลปลายนิ้ว และ HbA1c จากนั้นจัดแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดย รพ.สต. กลุ่มทดลองจะได้รับการพิจารณาหยุดยาควบคุมโรคเบาหวาน โดยให้รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (<20 กรัมต่อวัน) และการออกกำลังกายนาน 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะรักษาด้วยยารักษา เบาหวานและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามรูปแบบ 3อ2ส ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เริ่ม เมษายน – กรกฎาคม 2562 และมีการติดตามน้ำหนักตัว, BMI, DTX ก่อนอาหาร และ HbA1c ระยะ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ ผลการศึกษา กลุ่มทดลองสามารถลดน้ำหนักตัว, BMI และ DTX ได้และแตกต่างจากก่อนเข้าโครงการอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ยังไม่สามารถคุม HbA1c ได้ ส่วนกลุ่มควบคุมสามารถลดน้ำหนักตัว, BMI และ HbA1c ได้แต่ไม่ แตกต่างจากก่อนเข้าโครงการ แต่กลุ่มควบคุมสามารถลด DTX ได้ และพบว่ากลุ่มทดลองสามารถคุม DTX, HbA1c ได้เป็นปกติเป็น 2.43 และ 2.33 (95%CI=1.18-4.99 และ 1.04-5.25 ตามลำดับ) เท่าของกลุ่มควบคุม โปรแกรม DPACrb Ketogenic Diet สามารถเปลี่ยนผู้ป่ วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นคนปกติได้ ร้อยละ 46.67 และ สามารถลดยาได้ร้อยละ 16.67 โดยอาศัยอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและการออกกำลังกายเข้ามาแทน (reversal and remission type 2 diabetic) ทำให้ลดผู้ป่ วยเบาหวานรายใหม่และรายเก่าได

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อตาม 9 เป้าหมายระดับโลกของ ประเทศไทย. ใน: อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา, บรรณาธิการ. รายงานสถานการณ์ โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่ เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิค แอนด์ดีไซน; 2563.

วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 28 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/7711

Warshaw HS, Bolderman KM. Practical carbohydrate counting a how to teach guide for health professional. 2nd ed. USA: Worzalla Publishing; 2008.

กรมอนามัย. คู่มือ กระบวนการจัดการคลินิกไร้พุง (DPAC) สำหรับสถานบริการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 28 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://203.157. 71.163/kpi/uploads/20200207040218-DPAC 256204.pdf

Bernard, R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbery, CA: Pacific Grove; 2000.

เยี่ยม คงเรืองราช, ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ , นาดา ลัคนหทัย. ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนหมอลำกลอนต่อระดับ ฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารพยาบาลสาร 2555;39(3):105-16.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.

กัลยา อุรัจนานนท์, สุนารี เลิศทำนองธรรม, ธนัฐพงษ์ กาละนิโย, วิทยา บัญยศ, ศุภฤกษ์ สื่อรุ่งเรือง. ประสิทธิผล ของคลินิกไร้พุง ศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ ในการลดน้ำหนัก และลดรอบเอวของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ 2557. วารสาร Mahidol R2R e-Journal [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 25 มิ.ย. 2565];2(2):112-25. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/mur2r/article/ view/243063/165126

Masood W, Annamaraju P, Uppaluri KR. Ketogenic diet [Internet]. 2022 [cited 2022 Jun 28]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK499830/

Westman EC, Yancy WS Jr, Mavropoulos JC, Marquart M, McDuffie JR. The effect of a low-carbohydrate, ketogenic diet versus a low-glycemic index diet on glycemic control in type 2 diabetes mellitus. Nutr Metab (Lond) 5 [Internet]. 2008 [cited 2022 Jun 27];36:1-9. Available from: https://nutritionandmetabolism.biomedcentral.com/track/pdf/10.1186/1743-7075-5-36. pdf

Hussain TA, Mathew TC, Dashti AA, Asfar S, Al-Zaid N, Dashti HM. Effect of low-calorie versus low-carbohydrate ketogenic diet in type 2 diabetes. Nutrition [Internet], 2012 [cited 2022 Jun 27];28(10):1016-21. Available from: https://www.sciencedirect.com/journal/ nutrition/vol/28/issue/10

ขวัญหทัย ไตรพืช, พรทิพย์ มาลาธรรม, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ, วิศาล คันธารัตนกุล. การสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับการออกกำลังกายทีมีผลต่อการควบคุมระดับ น้ำตาล ในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Rama Nurs J [อินเทอร์เน็ต]. 2556 [สืบค้นเมื่อ 30 มิ.ย. 2565];16(2): 259-78. แหล่งข้อมูล: https://he02.tci-thaijo.org/index. php/RNJ/article/view/8976

Casanueva FF, Castellana M, Bellido D, Trimboli P, Castro AI, Sajoux I, et al. Ketogenic diets as treatment of obesity and type 2 diabetes mellitus. Rev Endocr Metab Disord [Internet]. 2020 [cited 2022 Jun 28];21(3):381- 97. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s11154-020-09580-7#article-info

Dashti HM, Mathew TC, Khadada M, Al-Mousawi M, Talib H, Asfar SK, et al. Beneficial effects of ketogenic diet in obese diabetic subjects. Mol Cell Biochem [Internet]. 2007 [cited 2022 Jun 28];302(1-2):249-56. Available from: https://link.springer.com/article/ 10.1007/s11010-007-9448-z

Dashti HM, Al-Zaid NS, Mathew TC, Al-Mousawi M, Talib H, Asfar SK, et al. Long term effects of ketogenic diet in obese subjects with high cholesterol level. Mol Cell Biochem [Internet]. 2006 [cited 2022 Jul 1];286(1- 2):1-9. Available from: https://link.springer.com/article/10.1007/s11010-005-9001-x

Gomez-Arbelaez D, Bellido D, Castro AI, Ordoñez-Mayan L, Carreira J, Galban C, et al. Body composition changes after very-low-calorie ketogenic diet in obesity evaluated by 3 standardized methods. J Clin Endocrinol Metab [Internet]. 2017 [cited 2022 Jul 1];102(2):488-98. Available from: https://academic. oup.com/jcem/article/102/2/488/2972058?login=- false

Yancy WS Jr, Foy M, Chalecki AM, Vernon MC, Westman EC. A low-carbohydrate, ketogenic diet to treat type 2 diabetes. Nutr Metab [Internet]. 2005 [cited 2022 Jul 1];2:34. Available from: https://nutritionandmetabolism. biomedcentral.com/articles/10.1186/1743- 7075-2- 34

Umphonsathien M, Rattanasian P, Lokattachariya S, Suansawang W, Boonyasuppayakorn K, Khovidhunkit W. Effects of intermittent very-low calorie diet on glycemic control and cardiovascular risk factors in obese patients with type 2 diabetes mellitus: a randomized controlled trial. J Diabetes Investig [Internet]. 2022 [cite 2022 Jun 27];13(1):156-66. Available from: https:// onlinelibrary. wiley.com/doi/10.1111/jdi.13619

สุภาพร สมหวัง. การนับคาร์โบไฮเดรตกับการควบคุมเบาหวาน. วารสารโภชนบำบัด [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้น เมื่อ 28 มิ.ย. 2565];25(1):7–11. แหล่งข้อมูล: https:// he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/ article/ view/244100/165928

ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ ศรี, พรพิมล ชัยสา, อัศนี วันชัย, ชลธิมา ปิ่นสกุล. แนวทางการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล ในเลือดของผู้ป่ วยเบาหวานไทย: การสังเคราะห์งานวิจัย อย่างเป็นระบบ, วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 28 มิ.ย. 2565];19(2):39- 48. แหล่งข้อมูล: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/ bcnpy/article/view/114167/104524

World Health Organization. Global report on diabetes [Internet]. 2016 April [cite 2022 Jul 20];p52. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/ 9789241565257

Shibib L, Al-Qaisi M, Ahmed A, Miras AD, Nott D, Pelling M, et al. Reversal and remission of T2DM - an update for practitioners. Vasc Health Risk Manag [Internet]. 2022 Jun [cite 2022 Jul 20];18:417-43. Available from: https://www.dovepress.com/getfile.php?fileID=81465

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ