จำนวนครั้งของการฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบน ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • กฤติกานต์ พลงาม สถาบันสิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
  • พิริยณัฐ มูลยศ สถาบันสิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
  • ปิยบุตร เกตุวิริยะกุล สถาบันสิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
  • พรสวรรค์ โพธิ์สว่าง สถาบันสิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ
  • บุณฑริก เอกคุณธรรม สถาบันสิรินทรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, กิจกรรมบำบัด, การควบคุมการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบน

บทคัดย่อ

การฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนของ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้สูงสุด ลดปัญหาการสูญเสียสมรรถภาพ และ กลับเข้าสู่สังคมได้ อย่างไรก็ตามการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณและความถี่ในการฟื้ นฟูยังมีค่อนข้างจำกัด ส่งผลกระทบ ต่อการกำหนดขอบเขตและแนวทางในการให้บริการ รวมถึงการจัดสรรทางด้านทรัพยากรและบุคลากร การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจำนวนครั้งของการฟื้ นฟูกิจกรรมบำบัดที่ส่งผลต่อความสามารถสมรรถภาพด้านการ เคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง ศึกษาในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 63 คนที่เข้ารับ การฟื้ นฟูกิจกรรมบำบัด ณ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้ นฟูฯ ความถี่ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 60 นาที จะได้รับการ ประเมินความสามารถด้านการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนด้วย Fugl-Meyer assessment (FMA) ในครั้งแรกและทุกๆ 3 ครั้ง ที่ผู้ป่ วยเข้ารับการฝึก ติดตามผลที่ระยะการฝึกทั้งหมด 45 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และ Pair t-test (P<0.05) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วยที่ความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนระดับน้อย มีคะแนน FMA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงการฝึกครั้งที 27 ส่วนผู้ป่ วยที ่ มีความบกพร่องระดับปานกลางจนถึงรุนแรง มีคะแนน ่ FMA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงการฝึกครั้งที่ 39 โดยสรุป จำนวนครั้งในการฝึกกิจกรรมบำบัดที่ส่งผลต่อความ สามารถในการเคลื่อนไหวรยางค์ส่วนบนในผู้ป่ วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีระยะเวลาการเกิดโรคไม่เกิน 1 ปี คืออย่าง น้อย 27 ครั้ง ในกลุ่มที่มีความบกพร่องระดับน้อย และ 39 ครั้ง ในกลุ่มที่มีความบกพร่องระดับปานกลางจนถึง รุนแรง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Stroke Organization. Facts and figures about stroke [Internet]. 2022 [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://www.world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/why-stroke-matters/ learn-about-stroke

สมศักดิ์ เทียมเก่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมอง ประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2566; 39(2):39-46.

ดานิล วงศ์ษา, ประทุม สร้อยวงค์, จินดารัตน์ ชัยอาจ. คุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองภายใน 6 เดือนแรกหลังได้รับการวินิจฉัย. พยาบาลสาร 2561; 45(2):40-50.

Govender P, Kalra L. Benefits of occupational therapy in stroke rehabilitation. Expert review of neurotherapeutics 2007;7(8):1013-9.

Rowland TJ, Cooke DM, Gustafsson LA. Role of occupational therapy after stroke. Ann Indian Acad Neurol 2008;11(Supplement 1):99-107.

American Occupational Therapy Association. Occupational therapy scope of practice. American Journal of Occupational Therapy 2021;75(Suppl 3):1-9.

พิศักดิ์ ชินชัย, ทศพล บรรยมาก. กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่ มีปัญหาด้านระบบประสาท. พิมพ์ครั้งที 4. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา; 2560.

Hatem SM, Saussez G, della Faille M, Prist V, Zhang X, Dispa D, et al. Rehabilitation of motor function after stroke: a multiple systematic review focused on techniques to stimulate upper extremity recovery. Front Hum Neurosci 2016;10:442.

Jolliffe L, Lannin NA, Cadilhac DA, Hoffmann T. Systematic review of clinical practice guidelines to identify recommendations for rehabilitation after stroke and other acquired brain injuries. BMJ Open 2018; 8(2):1- 14.

Murrell JE, Pisegna JL, Juckett LA. Implementation strategies and outcomes for occupational therapy in adult stroke rehabilitation: a scoping review. Implement Sci 2021;16(1):105.

Theben J, Fearn J, Willems D, Sooley D, White J. Stroke rehabilitation intensity literature review. Ontario Stroke Network (OSN) Rehabilitation Intensity Working Group [Internet]. 2016 [cited 2024 Jan 20]. Available from: https://www.corhealthontario.ca/OSN-Stroke-Rehab-Intensity-Literature-Review-2016.pdf

Winstein CJ, Stein J, Arena R, Bates B, Cherney LR, Cramer SC, et al. Guidelines for adult stroke rehabilitation and recovery: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2016;47(6):98-169

Wolf TJ, Nilsen DM. Occupational therapy practice guidelines for adults with stroke. Bethesda, MD: AOTA Press; 2015.

Boop C, Cahill SM, Davis C, Dorsey J, Gibbs V, Herr B, et al. Occupational therapy practice framework: domain and process fourth edition. American Journal of Occupational Therapy 2020;74(Suppl 2):1-87.

American Occupational Therapy Association. Standards of practice for occupational therapy. American Journal of Occupational Therapy 2022;75(Suppl 3):1-7.

Duncan P, Studenski S, Richards L, Gollub S, Lai SM, Reker D, et al. Randomized clinical trial of therapeutic exercise in subacute stroke. Stroke 2003;34(9):2173- 80.

คณินณ์ เศรษฐไพศาล, ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ผลการฝึกโดยใช้หุ่นยนต์และกิจกรรมบำบัดกับกิจกรรมบำบัดเพียง อย่างเดียวต่อการฟื้นตัวของแขนและมือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน: การศึกษาแบบสุ่ม. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร 2560;27(3):88-95.

Woodbury ML, Velozo CA, Richards LG, Duncan PW. Rasch analysis staging methodology to classify upper extremity movement impairment after stroke. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation 2013; 94(8): 1527-33.

Almhdawi KA, Mathiowetz VG, White M, Delmas RC. Efficacy of occupational therapy task-oriented approach in upper extremity post-stroke rehabilitation. Occupational Therapy International 2016;23(4):444-56.

นวรัชต์ อุตรารัขต์กิจ, นัดดา รีชีวะ, พรรณเพชร ศิริรัตน์, พิธากร ธำรงเลาหะพันธุ์, วารี จิรอดิศัย. ผลการฟื้นฟูสมรรถภาพของการใช้งานรยางค์บนและล่างในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลันและระยะเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี: ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟูคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. เวชศาสตร์ฟื้ นฟูสาร 2559;26(2):47-53.

Doğan AG. The effect of occupational therapy on upper extremity function and activities of daily living in hemiplegic patients. Journal of Medicine and Palliative Care 2023;4(4):350-4.

Coupar F, Pollock A, Rowe P, Weir C, Langhorne P. Predictors of upper limb recovery after stroke: a systematic review and meta-analysis. Clinical Rehabilitation 2012;26(4):291-313.

Wu J, Zhang J, Bai Z, Chen S, Cai S. Predictive factors of upper limb motor recovery for stroke survivors admitted to a rehabilitation program. European Journal of Physical and Rehabilitation Medicine 2020;56(6):706- 12.

Bailes AF, Reder R, Burch C. Development of guidelines for determining frequency of therapy services in a pediatric medical setting. Pediatric Physical Therapy 2008; 20(2):194-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ