ความชุกของสายพันธุ์เอชพีวีจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี HPV DNA test ชนิด 14 สายพันธุ์เสี่ยงสูงในเขตสุขภาพที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศิริญญา เพชรพิชัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
  • ณัฐพร คล้ายคลึง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์
  • อมรรัตน์ โพธิ์ตา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์

คำสำคัญ:

การตรวจเอชพีวี, ดีเอ็นเอ, มะเร็งปากมดลูก, เอชพีวีสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง, ความชุก, หญิงไทย

บทคัดย่อ

มะเร็งปากมดลูกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญที่มีสาเหตุหลักจากการติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง สามารถพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกสายพันธุ์เอชพีวี จากการ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA ชนิด 14 สายพันธุ์เสียงสูง ในสตรีไทย ช่วงอายุ 30-60 ปี จำนวน 28,870 ราย ทีเข้ารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ่ ที่ 3 นครสวรรค์ จากการศึกษาพบความชุกของการติดเชื้อเอชพีวี ทีร้อยละ 7.69 พบความชุกของสายพันธุ์ 16, 18 และ ่ สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงอื่นที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16/18 ร้อยละ 1.19, 0.48, 6.02 ตามลำดับ สายพันธุ์ทีพบความชุกสูง 3 ่ อันดับแรก คือ สายพันธุ์ 52, 16, 58, 68 ที่ร้อยละ 1.35, 1.19, 0.63 และ 0.63 ตามลำดับ เมื่อประเมิน ความผิดปกติทางเซลล์วิทยาแบบแผ่นบางของสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงอื่นที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16/18 พบความผิดปกติที่ ร้อยละ 20.07 โดยพบความผิดปกติ 5 อันดับแรก คือ สายพันธุ์ 33, 52, 58, 31 และ 56 ทีร้อยละ 28.57, 23.14, ่ 23.08, 22.95 และ 21.11 ตามลำดับ นอกจากนี้พบค่าทำนายผลบวกจากผลการตรวจชิ้นเนื้อปากมดลูกของกลุ่ม ที่ติดเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์ 18 สายพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่สายพันธุ์ 16/18 และสายพันธุ์ 16 ที่ร้อยละ 56.35, 51.78 และ 43.80 ตามลำดับจากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลในการคัดเลือกวัคซีนเอชพีวีให้เหมาะสมกับประชากรใน พื้นที่ต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Gargano J, Meites E, Watson M, Unger E, Markowitz L. Human papillomavirus (HPV). In: Roush SW, Baldy LM, Hall MAK, editors. Manual for the surveillance of vaccine-preventable diseases. Atlanta: Centers for Disease Control and Prevention; 2017. p. 5.1-7.

งานเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรคมะเร็ง. ทะเบียนมะเร็ง ระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2564.

Bansal A, Singh MP, Rai B. Human papillomavirus-associated cancers: a growing global problem. Ijabmr 2016;6(2):84-9.

Mayeaux EJ. Reducing the Economic Burden of HPV-Related Disease. J Am Osteopath Assoc 2008;108(2): S2-S7.

สุรพันธุ์ คุณอมรพงศ์, สุมาลี ศิริอังกุล. พยาธิวิทยาของปากมดลูก. เชียงใหม่ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2561.

ศิริญญา เพชรพิชัย, ณัฐพร คล้ายคลึง, อมรรัตน์ โพธิ์ ตา, อนุกูล บุญคง, ปาริชาติ กัญญาบุญ. ความชุกของการติดเชื้อ Human papillomavirus สายพันธุ์ความเสี่ยงสูงของสตรีไทย ในพื้นที่ จังหวัดพิจิตร อุทัยธานี ชัยนาท และกำแพงเพชร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2564;63(4):766-81.

อรุณ จิรวัฒน์กุล, มาลินี เหล่าไพบูลย์, จิราพร เขียวอยู่, ยุพา ถาวรพิทักษ์, จารุวรรณ โชคคณาพิทักษ์, บัณฑิต ถิ่นคำระ, และคณะ. ชีวสถิติ. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, วีรวุฒิ อิ่มสำราญ. แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยและรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก. กรุงเทพมหานคร: สถาบันมะเร็งแห่งชาติ; 2561.

อติพร อิงค์สาธิต. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง หลักการ พิจารณางานวิจัยเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยมาประยุกต์ใช้ใน เวชปฏิบัติ [อินเทอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยมหิดล. [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.rama.mahidol. ac.th/fammed/sites/default/files/public/pdf/EBM_Diagnostic_study.pdf

Sousa H, Tavares A, Campos C, Marinho-Dias J, Brito M, et al. High-Risk human papillomavirus genotype distribution in the Northern region of Portugal: Data from regional cervical cancer screening program. Papillomavirus Research 2019;100179:S1-S7.

ดุริยา ฟองมูล, มินตา นากอง, สมเกียรติ ลลิตวงศา, วรันกร เกยูรวงศ์. ความชุกและการกระจายตัวของการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแปปปิโลม่าชนิดความเสี่ยงสูงในโรงพยาบาลมะเร็ง ลำปาง. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2558;48(3): 231-40.

Boonthum N, Suthutvoravut S. Prevalence, Types, and Associated Factors of HPV Infection Among Women With Abnormal Cervical Cytology Screening at Ramathibodi Hospital. Rama Med J 2021;44(3):12-9.

Rijkaart DC, Berkhof J, Kemenade FJ, Coupe VM.H,Hesselink AT, et al. Evaluation of 14 triage strategies for HPV DNA-positive women in population-based cervical screening. Int J Cancer 2011;130:602-10.

Kietpeerakool C, Kleebkaow P, Srisomboon J. Human papillomavirus genotype distribution among Thai woman with high-grade cervical intraepithelial lesion and invasive cervical: a literature review. Asian Pac J Cancer Prev 2015;16(13):5153-8.

Clarke MA, Risley C, Stewart MW, Geisinger KR, Hiser LM, et al. Age-specific prevalence of human papillomavirus and abnormal cytology at baseline in a diverse statewide prospective cohort of individuals undergoing cervical cancer screening in Mississippi. Cancer Medicine 2021;10:8641-50.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้