ผลลัพธ์ของมาตรการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลต่อการป้องกันควบคุมโรคติดต่อในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • ณัฐทิชา หงษ์สามสิบหก กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • กรรรณิการ์ เจริญไทย กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • จริยา ดาหนองเป็ด กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค
  • ดุสิต สุจิรารัตน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (ข้าราชการบำนาญ)

คำสำคัญ:

มาตรการป้องกันโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคมือเท้าปาก, โรคไข้หวัดใหญ่, โรคทางเดินหายใจ, โรคอาหารเป็นพิษ, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคมือเท้าปาก โรคไข้หวัดใหญ่ โรคทางเดินหายใจและโรคอาหารเป็นพิษในสถานศึกษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดโรคกับผลของ การจัดการตามแนวทางการป้ องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7,563 แห่งที่ส่ง แบบสอบถามผ่านทางออนไลน์แบบสมัครใจ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน พบว่า อัตราป่ วยโรคทางเดินหายใจพบมากที่สุด คือ 1,868.12 ต่อแสนประชากร ด้านมาตรการป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีผลต่อการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ สถานศึกษาที่ไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม อัตราความเสี่ยง 14.60 เท่า (95%CI=9.47-22.51) มีผลต่อการเกิดโรคมือเท้าปาก คือ นักเรียนหรือบุคลากรในสถานศึกษาไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา อัตราความเสี่ยง 3.44 เท่า (95%CI=3.30-3.58) มีผลต่อการเกิดไข้หวัดใหญ่คือ สถานศึกษาไม่มีการทำความสะอาดพื้น อัตราความเสี่ยง 12.12 เท่า (95%CI=6.05-24.27) มีผลต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจ คือ สถานศึกษาไม่มีการทำความสะอาด ห้องน้ำ อัตราความเสี่ยง 3.30 เท่า (95%CI=2.54-4.29) และมีผลต่อการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ คือ สถานศึกษา ที่ไม่มีการจัดการสิ่งแวดล้อม อัตราความเสี่ยง 4.35 เท่า (95%CI=2.85-6.64) ดังนั้น สถานศึกษาควรดำเนินงาน ตามมาตรการป้ องกันควบคุมโรคอย่างเคร่งครัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรเน้นย้ำให้สถานศึกษาดำเนินการอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อลดโอกาสและความรุนแรงของการเกิดโรคติดต่อในสถานศึกษาต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคมือเท้าปาก [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?dcontent=old&ds=71

World Health Organization. Update on COVID-19 in Thailand: 7 February 2024 [Internet]. [cited 2024 Mar 1]. Available from: https://www.who.int/thailand/ news/detail/06-02-2024-update-on-covid-19-inthailand--7-february-2024

European Centre for Disease Prevention and Control. COVID-19 in children and the role of school settings in COVID-19 transmission. Technical Report 2020;1:1- 31.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติสำหรับ สถานศึกษาในการป้ องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. นนทบุรี: คิวแอดเวอร์ไทซิ่ง; 2563.

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index. php

Yamane T. Statistics an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row; 1973.

สุชาดา เจียมศิริ, สุพินดา ตีระรัตน์, ลออรัตน์ เวชกุล, สุธิดา แสงยนต์, กัญญารัตน์ พึ่งประยูร, รัตนา ไชยมูล, และคณะ. การประเมินโครงการศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคต่อการลดการ ป่วยมาโรงพยาบาลจากกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก และโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ในเด็กของ ศูนย์เด็กเล็ก. วารสารควบคุมโรค 2557;40:233-41.

สมนึก เลิศสุโภชวณิชย์, สมคิด คงอยู่, เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, ปรารถนา สุขเกษม, รุ่งเรือง กิจผาติ. การศึกษาประสิทธิผล ของมาตรการในการป้ องกันควบคุมโรคมือเท้าปากในศูนย์ เด็กเล็ก. วารสารควบคุมโรค 2557;40:310-20.

Chiu NC, Chi H, Tai YL, Peng CC, Tseng CY, Chen CC, et al. Impact of wearing masks, hand hygiene, and social distancing on influenza, enterovirus, and all-cause pneumonia during the coronavirus pandemic: retrospective national epidemiological surveillance study. J Med Internet Res [Internet]. 2020 [cited 2022 May 2];22(8):e21257. Avaiable from: https://www.jmir. org/2020/8/e21257/

Donovan CV, Rose C, Lewis KN, Vang K, Stanley N, Motley M, et al. SARS-CoV-2 incidence in K–12 school districts with mask-required versus mask-optional policies - Arkansas, August–October 2021. MMWR 2022;71:384-9.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ