ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการล่าช้าด้านภาษา ในเด็กอายุ 2-5 ปี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ฤดีมน สกุลคู กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, ภาษาล่าช้า, พัฒนาการด้านภาษา

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านภาษาใน เด็กอายุ 2-5 ปี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย จำนวน 210 คน เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากโปรแกรม HOSxp ระหว่างเดือนตุลาคม 2563 ถึงเมษายน 2565 จำนวน 210 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ multiple logistic regression ผลการวิจัยพบว่าเด็กเพศชาย (ORadj=2.74, %95CI: 1.31-5.69) เด็กที่มีมารดามี ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ (ORadj=-36.94, %95CI: 8.78-155.37) และเด็กเข้าถึงโดยการใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟน (ORadj=8.57, %95CI: 2.17-33.86) มีอิทธิพลต่อพัฒนาการล่าช้าด้านภาษา ในเด็กอายุ 2-5 ปี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นโรงพยาบาลควรมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมมี การวางแผนครอบครัว การสร้างความตระหนักเรื่องการฝากครรภ์คุณภาพตลอดจนให้ความรู้แก่มารดาหรือผู้เลี้ยงดู เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการ การฉีดวัคซีน รวมทั้งมีการตรวจติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็น ระยะ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ชัชฎา ประจุดทะเก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการ เด็กปฐมวัย ในเขตสุขภาพที่ 9 ปี 2560 . วารสารศูนย์อนามัย ที่ 9 2561; 63(6):1-19.

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ. ทบทวนสถานการณ์ พัฒนาการเด็กไทย 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 18 พ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.nich.anamai. moph.go.th/th/general-of-50/204370

UNICEF. Early childhood development All children aged 0-5 years are progressively cared for through quality ECD services and in protective and nurturing family environments [Internet]. 2018 [cited 2021 Jan 27]. Available from: https://www.unicef.org/thailand/what-we-do/early-childhood-development

ขวัญข้าว ต่วนชื่น. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พัฒนาการทางภาษาล่าช้าในเด็ก 1-5 ปี ที่มารับบริการใน คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. วารสารแพทย์เขต 4-5 2565;36(1):669-80.

ณัฐวิภา วาณิชย์เจริญ, พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์. ปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์กับความบกพร่องของพัฒนาการด้านภาษาในเด็ก ปฐมวัยที่หน่วยพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล: การศึกษาแบบจับคู่ย้อนหลัง. วชิรเวชสารและ วารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2562;12(28):1-19.

Diepeveen F B, Van Dommelen P, Oudesluys–Murphy AM, Verkerk P H. Specific language impairment is associated with maternal and family factors. Child: care, health and development 2017;43(3):401-5.

Robinson R J. Causes and associations of severe and persistent specific speech and language disorders in children. Developmental Medicine & Child Neurology 1991;33(11):943-62.

Luoma L, Herrgard E, Martikainen A, Ahonen T. Speech and language development of children born at 32 weeks’ gestation: a 5-year prospective follow-up study. Dev Med Child Neurol 1998;40(6):380-7.

Prathanee B, Purdy SC, Thinkhamrop B, Chaimay B, Ruangdaraganon N, Mo-suwan L,et al. Early language delay and predictive factors in children aged 2 years. Journal of the Medical Association of Thailand 2011; 92(7):930-7.

ตวงพร ชุมประเสริฐ, วันธนี วิรุฬห์พานิช และพิสมัย วัฒน สิทธิ์ . ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์กับ พัฒนาเด็กอายุ 2-5 ปีในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562;6(2): 91-104.

Thorndike RM. Correlation procedures for research. New York: Gardner Press; 1978.

Choudhury N, Benasich AA. A family aggregation study. Journal of Speech, Language, and Hearing Research 2003;930-8.

หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด ,ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ และสมเกียรติยศ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยทีมีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณ. วารสารเครือ ข่ายวิทยาลัยการพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(1):281-96.

พนิต โล่เสถียรกิจ, กรวิภา ภู่พงศ์พันธ์กุล, มลุลี แสนใจ, วิย ดา บุญเลื่อง, แน่งน้อย ธูปแช่ม, ดวงหทัย จันทร์เชื้อ และ คณะ. สถานการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยในปี พ.ศ. 2557. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(2):199-208.

ธิดา สีสด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการล่าช้าของ เด็กปฐมวัยกลุ่มเสี่ยง. วารสารโรงพยาบาลแพร่ 2564; 29(1):80-90.

American Academy ofPediatrics. American Academy of Pediatrics announces new recommendations for children’s media use [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 27]. Available from: https://www.pathwaypeds.com/american-academy-of-pediatrics-announces-new-recommendations-for-childrens-media-use/

Sunderajan T, Kanhere S V. Speech and language deley in children: Prevalence and risk factores. Journal of Family Medicine and Primary Care 2019;8(5):1642- 60.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ