การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ธัญญาภรณ์ ใหญ่เจริญ งานทันตกรรม โรงพยาบาลโพทะเล จังหวัดพิจิตร

คำสำคัญ:

การมีส่วนรวม, การส่งเสริมสุขภาพช่องปาก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้อง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก ประชากรที่ศึกษาคือ อสม.ใน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร จำนวน 11 ตำบล 97 หมู่ จำนวน 1,758 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 330 คน โดยสุ่ม ตัวอย่าง อสม. จากแต่ละหมู่บ้าน หมู่ละ 3-4 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random Sampling) ด้วยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระหว่างเดือน มี.ค. ถึง เม.ย. พ.ศ. 2564 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และไคสแควร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 77.97 มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 51.95 ปี (SD=11.11) จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 47.27 มีสถานภาพการสมรส ร้อยละ 74.85 อาชีพหลักคือเกษตรกร ร้อยละ 63.64 มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย เดือนละ 4,114.24 บาท (SD=2,561.46) และมีระยะเวลาเฉลี่ยในการปฏิบัติงานเป็น อสม. 13.15 ปี (SD=9.07) ระดับความรู้ของ อสม. โดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.08 คะแนน (SD=2.22) ระดับทัศนคติ ต่องานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเป็นบวก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 44.70 คะแนน (SD=4.51) ระดับการมีส่วนร่วม ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับสูง โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 57.53 คะแนน (SD=7.57) เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับสูงทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Mean=3.11, SD=0.46) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (Mean=2.91, SD=0.55) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Mean=2.84, SD=0.60) และด้านการมีส่วนร่วมในการเสียสละพัฒนาและปฏิบัติ (Mean=2.67, SD=0.31) ส่วน ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของ อสม. ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก คือ ทัศนคติในการปฏิบัติงาน (r=0.14, p=0.01) และอายุ (r=0.23, p=0.01) เพื่อส่งเสริมให้ อสม. มีส่วนร่วมในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปาก มากขึ้น ควรบูรณาการงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับงานแม่และเด็ก งานผู้สูงอายุ หรืองานส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เพื่อไม่ให้ อสม. เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้เพิ่มงานจากงานประจำมากขึ้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนและ ส่งเสริมการทำงานของ อสม. ในงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สานักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพ ช่องปากแห่งชาติ ครั้ง ที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ); 2561.

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center, 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กองสนับสนุนสุขภาพภาค ประชาชน. แนวทางการดำเนินงานสุขภาพภาคประชาชน ปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://hss.moph.go.th/HssDepartment/file_reference/20210506935772122.pdf

กองสนับสนุนสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักข่าวพาณิชย์ กรมส่งเสริมการส่งออก; 2554.

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. คู่มือมาตรฐานการ ดูแลสุขภาพเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสหกรณ์- การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพทะเล. รายงานผลการวิเคราะห์ ผลการปฏิบัติงานตามบทบาทและหน้าที่ของอาสาสมัคร สาธารณสุขหมู่บ้าน ประจำปี 2563 อำเภอโพทะเล. พิจิตร: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพทะเล; 2563.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill; 1971.

Cohen JM, Uphoff NT. Rural development participation: concepts and measures for project design implementation and evaluation 1977 [Internet]. [cited 2020 Dec 11]. Available from: https://www.semanticscholar.org/paper/Rural-development-participation%3A-con-cepts-and-for-Cohen-Uphoff/250561b72e4074ef592afe484e2aed607e42e067

กรมอนามัย. เอกสารเกณฑ์การคัดเลือก อสม. ดีเด่นด้าน ทันตสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย; 2560.

ชนิดา เตชะปัน. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดำเนินงานด้านสุขศึกษาชุมชนในเทศบาลตำบลป่ าไผ่ อำเภอ สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่; 2560. 148 หน้า.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall; 1977.

วิภาพร สิทธิสาตร์, ภูดิท เตชาติวัฒน์, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยส่วนบุคคลที่มี ความสัมพันธ์ กับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนในการ ควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2559; 9(1):25-31.

มนัสนันท์ ชัยประทาน, สมเดช พินิจสุนทร. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้ องกันโรคฟันผุของอาสาสมัคร สาธารณสุขในเขต อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2558; 3(3):357-66.

สิริญา ไผ่ป้ อง, สมเดช พินิจสุนทร. ความรู้และบทบาทของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการวางแผนพัฒนา สาธารณสุขระดับชุมชน อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4(2):291-305.

สุดปรีชา เตียติวิริยะกุล. การมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน [วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น; 2559. 80 หน้า.

รุ่งเพ็ชร บุญทศ, จริญาณี สวัสดี, จันทร์จิรา อุดมผล, ธัญชนก สงแจ้ง, ศิณารักษ์ บุญศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบ้านปึก อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี. วารสารทันตาภิบาล 2563; 31(2):65-76.

ศิริชัย จุนพุ่ม, ชัญญา อภิปาลกุล, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์, สุทิน ชนะบุญ. ความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมในการป้ องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารปกครองท้องถิ่น 2559; 9(5):104-18.

วิมลรัตน์ ถนอมศรีเดชชัย, รัตนาภรณ์ อาษา, อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการป้องกัน และควบคุมไข้เลือดออกของอาสาสมัคร อ. อ่าวลึก จ. กระบี่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 2560; 36(2):85-97.

กฤษรุจ พิมพะไชย, ไชยา ยิ้มวิไล. ปัจจัยความสามารถ ส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัคร สาธารณสุขหมู่บ้านในการดำเนินยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทยพ.ศ. 2554-2563 ของกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารการศึกษาสันติภาพ MCU 2564;9(5):2171-83.

ธนชัย เอกอภิชน. ปัจจัยการมีส่วนร่วมในการป้ องกันวัณโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุข ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ บุ่งลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารวิจัยและนวัตกรรม ด้านสุขภาพ 2561;1(1):12-24.

วาริน เขื่อนแก้ว. ปัจจัยสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านในการป้ องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ และการสอนปี 2564;1(2):30-4.

แจ่มนภา ใขคำ, ชลิยา ศิริกาล, ถนอมศักดิ์ บุญสู่, แก้วใจ มาลีลัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับบทบาทของอาสาสมัคร สาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;12(2):59-68.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ