การวิเคราะห์สถานการณ์ แนวทางการฝากครรภ์ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิมลพรรณ ต่างวิวัฒน์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ฐิติภรณ์ ตวงรัตนานนท์ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • จุฬาวรรณ เขมทอง สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การฝากครรภ์, นโยบายฝากครรภ์คุณภาพ, จำนวนครั้งของการฝากครรภ์, ผลลัพธ์ของสุขภาพแม่และเด็ก

บทคัดย่อ

การฝากครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพแม่และเด็กและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ประเทศไทยมีแนวทาง การฝากครรภ์ตามนโยบายฝากครรภ์ 5 ครั้งคุณภาพ ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 แต่ยังไม่มีการศึกษาทีเข้าไปสำรวจสถานการณ์ หลังจากการดำเนินนโยบายนี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานการณ์การฝากครรภ์ในเวชปฏิบัติทีดำเนินการ อยู่จริงในประเทศไทย รวมถึงผลลัพธ์สุขภาพด้านอนามัยแม่และเด็ก โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมคู่ขนาน ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณในหญิงหลังคลอดเกี่ยวกับบริการที่ได้รับระหว่างการตั้งครรภ์และวิเคราะห์ด้วยสถิติ เชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บโดยการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบงานคลินิกฝากครรภ์และห้องคลอดใน 24 โรงพยาบาล จาก 12 เขตสุขภาพ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีแก่นสาระแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า สถานะทางสุขภาพของแม่และเด็กในประเทศไทยมีแนวโน้มทีจะเป็นไปในทางที ่ ดี สถานพยาบาลใน 12 เขตสุขภาพมี ่ การดำเนินงานตามแนวทางการฝากครรภ์คุณภาพ 5 ครั้ง โดยหญิงตั้งครรภ์กลุ่มความเสี่ยงต่ำได้รับบริการฝากครรภ์ เฉลี่ยถึง 10 ครั้ง แต่ยังพบว่ามีกลุ่มที่มาฝากครรภ์ช้าถึงร้อยละ 25.7 กิจกรรมที่หญิงตั้งครรภ์ได้รับบริการค่อนข้างต่ำ ได้แก่ การตรวจฟังเสียงการหายใจและเสียงหัวใจ การตรวจเต้านม การตรวจสุขภาพช่องปาก การประเมินสุขภาพจิต การฉีดวัคซีนป้ องกันไข้หวัดใหญ่และการให้ความรู้ในกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ โดยรวมการปรับปรุงแนวทางการฝากครรภ์ เป็น 8 ครั้ง มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ควรให้ความสำคัญกับความครบถ้วนของกิจกรรมที่จำเป็นในแต่ละ ช่วงอายุครรภ์ และคำนึงถึงผลกระทบด้านภาระงานและค่าใช้จ่าย รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการฝากครรภ์และการประชาสัมพันธ์เรื่องฝากครรภ์ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์ ให้ทั่วถึงมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Berhan Y, Berhan A. Antenatal care as a means of increasing birth in the health facility and reducing maternal mortality: a systematic review. Ethiop J Health Sci 2014;24:93–104.

สานักอนามัยการเจริญพันธุ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที 2 (พ.ศ. 2560 -2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่าง มีคุณภาพ. นนทบุรี: กรมอนามัย; 2559.

World Helath Organization. WHO Antenatal care randomized trial: manual for the implementation of the new model. Geneva: World Health Organization; 2002.

ณรงค์ วินิยกูล. การดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่ขององค์การ อนามัยโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2550 [สืบค้นเมื่อ 27 ก.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://203.157.71.148/data/ kpw/news/เนื้อหาผลงานปี 2550/การดูแลผู้ตั้งครรภ์แนว ใหม่ขององค์การอนามัยโลก

World Health Organization. WHO recommendations on antenatal care for a positive pregnancy experience. Geneva: World Health Organization; 2016.

Vogel JP, Habib NA, Souza JP, Gülmezoglu AM, Dowswell T, Carroli G, et al. Antenatal care packages with reduced visits and perinatal mortality: a secondary analysis of the WHO Antenatal Care Trial. Reprod Health 2013;10(1):19.

Dowswell T, Carroli G, Duley L, Gates S, Gülmezoglu AM, Khan-Neelofur D, et al. Alternative versus standard packages of antenatal care for low-risk pregnancy. Cochrane Database Syst Rev [Internet]. 2015 [cited 2022 Jul 27];2015(7):CD000934. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26184394/

กองบริหารสาธารณสุข. อัตราเกิดไร้ชีพ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 2565]. แหล่งข้อมูล: https:// cmi.moph.go.th/isp/sp_obs/index?menu_id=3

The Global Health Observatory. Stillbirth rate (per 1000 total births) [Internet]. 2022 [cited 2022 Feb 19]. Available from: https://www.who.int/data/gho/data/ indicators/indicator-details/GHO/stillbirth-rate-(per1000-total-births)

สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย. อัตราส่วนการตายมารดา [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.พ. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://hp.anamai.moph.go.th/th/maternal-mortality-ratio

World Health Organization. Maternal mortality [Internet]. 2019 [cited 2020 Jun 20]. Available from: https:// www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality

World Health Organization. Trends in maternal mortality 2000 to 2017: estimates by WHO, UNICEF, UNFPA, World Bank Group and the United Nations Population Division [Internet]. 2019 [cited 2022 Jul 27]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/327595

Ekholuenetale M. Prevalence of eight or more antenatal care contacts: findings from multi-country nationally representative data [Internet]. 2021 [cited 2022 Jul 27]. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/ full/10.1177/2333794X 211045822

Gammeltoft T, Nguyen HTT. The Commodification of obstetric ultrasound scanning in Hanoi, Viet Nam. Reprod Health Matters 2007;15(29):163-71.

Beauclair R, Petro G, Myer L. The association between timing of initiation of antenatal care and stillbirths: a retrospective cohort study of pregnant women in Cape Town, South Africa. BMC Pregnancy Childbirth [Internet]. 2014 [cited 2022 Jul 27];14(1):1–10. Available from: https://bmcpregnancychildbirth.biomedcentral. com/articles/10.1186/1471-2393-14-204

Demilie T, Beyene G, Melaku S, Tsegaye W. Diagnostic accuracy of rapid urine dipstick test to predict urinary tract infection among pregnant women in Felege Hiwot Referral Hospital, Bahir Dar, North West Ethiopia. BMC Res Notes [Internet]. 2014 [cited 2022 Jul 27];7(1). Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 25073620/

Lumbiganon P, Chongsomchai C, Chumworathayee B, Thinkhamrop J. Reagent strip testing is not sensitive for the screening of asymptomatic bacteriuria in pregnant women. J Med Assoc Thail 2002;85(8):922–7.

Kovavisarach E, Vichaipruck M, Kanjanahareutai S. Reagent strip testing for antenatal screening and first meaningful of asymptomatic bacteriuria in pregnant women. J Med Assoc Thail 2008;91(12):1786–90.

Chongsomchai C, Piansriwatchara E, Lumbiganon P, Pianthaweechai K. Screening for asymptomatic bacteriuria in pregnant women: urinalysis versus urine culture. J Med Assoc Thail 1999;82(4):369–73.

Lumbiganon P, Laopaiboon M, Thinkhamrop J. Screening and treating asymptomatic bacteriuria in pregnancy. Curr Opin Obstet Gynecol 2010;22(2):95–9.

Tran TK, Nguyen CTK, Nguyen HD, Eriksson B, Bondjers G, Gottvall K, et al. Urban - rural disparities in antenatal care utilization: a study of two cohorts of pregnant women in Vietnam. BMC Health Serv Res [Internet]. 2011 [cited 2022 Jul 27];11(1):1–9. Available from: https://bmchealthservres.biomedcentral.com/articles/10.1186/1472-6963-11-120

Huang K, Tao F, Raven J, Liu L, Wu X, Tang S. Utilization of antenatal ultrasound scan and implications for caesarean section: a cross-sectional study in rural Eastern China. BMC Health Serv Res [Internet]. 2012 [cited 2022 Jul 27];12(1):1–10. Available from: https:// bmchealthservres.biomedcentral.com/articles/10.1186/1472-6963-12-93

Ker CR, Kuo YL, Chan TF. A survey of current use, dilemma and outlook of antenatal ultrasonography in Taiwan. Taiwan J Obstet Gynecol 2019;58(6):820–6.

World Health Organization. WHO antenatal care recommendations for a positive pregnancy experience: maternal and fetal assessment update: imaging ultrasound before 24 weeks of pregnancy [Internet]. 2022 [cited 2022 Jul 27]. Available from: https://www.who.int/ publications/i/item/9789240046009

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ