รูปแบบการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า โดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
คำสำคัญ:
พลังสุขภาพจิต, ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า, ทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะ ซึมเศร้าโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การ สนทนากลุ่ม การสังเกต และแบบวัดพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าใน อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี 12 คน ผู้ให้ข้อมูลรองคืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 4 คน ดำเนิน การวิจัย 2 วงรอบ โดยวงรอบที่ 1 ศึกษาสถานการณ์การสร้างเสริมพลังสุขภาพจิต และทดลองใช้โปรแกรมการ สร้างเสริมพลังสุขภาพจิตโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย และวงรอบที่ 2 นำโปรแกรมที่ปรับปรุง แล้วไปใช้ และประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรม ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าเข้าใจ ความหมายและองค์ประกอบของพลังสุขภาพจิต สามารถนำจุดแข็งของตนเองไปใช้เพิ่มความมั่นคงทางอารมณ์เมื่อ เผชิญปัญหาโดย การมองปัญหาทางบวกและขอความช่วยเหลือจากสิ่งดีๆ ที่มีอยู่รอบตัว เพื่อเสริมกำลังใจให้ก้าว ผ่านปัญหาอุปสรรคไปได้ หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯ ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้ามีคะแนนเฉลี่ยพลังสุขภาพ จิต (Mean=90.33, SD=7.17) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ (Mean=56.58, SD=4.77) ผลการพัฒนารูปแบบ การสร้างเสริมพลังสุขภาพจิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าโดยบูรณาการทฤษฎีความสำเร็จตามจุดมุ่ง หมาย ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) สร้างพลังใจด้วยไมตรี (2) ยืนหยัด ผ่านพ้น (3) ก้าวข้ามปัญหา ฟันฝ่า เชิงบวก (4) สิ่งดีๆ ที่มีค่าสำหรับฉัน และ (5) พลังสุขภาพจิตของฉัน
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. Noncommunicable diseases [Internet]. 2021 [cited 2021 Aug 10]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/ noncommunicable-diseases
สกานต์ บุนนาค, วิชัย เอกพลากร, กฤษณา ตรียมณีรัตน์, นิสสรา แผ่นศิลา. การวิเคราะห์ภาวะสุขภาพ ภาระโรคและ ความต้องการบริการด้านสุขภาพในผู้สูงอายุไทย [รายงาน การวิจัย]. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ; 2563.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, ภาณุวัฒน์ คำวังสง่า, สุธิดา แก้วทา. รายงานสถานการณ์โรค NCDs (เบาหวาน ความดัน โลหิตสูง และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิ คแอนด์ดีไซน์; 2563.
Li H, Ge S, Greene B, Dunbar-Jacob J. Depression in the context of chronic diseases in the United States and China. Int J Nurs Sci 2019;6(1):117-22.
โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์. แนวทางยกระดับ มาตรการป้ องกันการฆ่าตัวตาย ปี พ.ศ. 2563-2564. ขอนแก่น: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
Health Data Center ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐาน การเข้า ถึงระบบบริการสุขภาพจิต ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ (workload) (2562-2564) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://sbr.hdc.moph.go.th/ hdc/reports/report.php?source=pformated/format1. php&cat_id=ea11bc4bbf333b78e6f53a26f7ab6c89&id=61a59cc4548076dfa9efdc0ecb86f91b
Gerino E, Rollè L, Sechi C, Brustia P. Loneliness, resilience, mental health, and quality of life in old age: a structural equation model. Front Psychol 2017;8(2003):1- 12.
Grotberg EH. The international resilience project: research and application. Birmingham, AL: Civitan International; 1995.
MacLeod S, Musich S, Hawkins K, Alsgaard K, Wicker ER. The impact of resilience among older adults. Geriatr Nurs 2016;37(4):266-72.
Thongkhum K, Peungposop N, Sakunpong N. A mixed-methods study to develop a resilience scale for thai elderly with chronic diseases and depression. Depression Research and Treatment 2022;2022:1-6.
Proyer RT, Gander F, Wellenzohn S, Ruch W. Positive psychology interventions in people aged 50–79 years: Long-term effects of placebo-controlled online interventions on well-being and depression. Aging & Mental Health 2014;18(8):997-1005.
โสฬวรรณ อินทสิทธิ์ , สิริกุล จุลคีรี, บรรณาธิการ. เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี พลังสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.
Seligman M. Flourish: Positive psychology and positive interventions. The Tanner Lectures on Human Values 2010;31(4):229-43.
King I, Sieloff CL, Killeen MB, Frey MA. Imogene King’s theory of goal attainment. In: Parker ME, Smith MC, editors. Nursing theories and nursing practice. 3rd ed. Philadelphia: FA Davis; 1990. p. 146-66.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University; 1988.
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ, ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ, เสาวลักษณ์ คงสนิท. ประสิทธิผลของโปรแกรมการ เสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านศรีตรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2562;29(1):32-47.
อัมเรศ เนตาสิทธิ์ , เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ. การพัฒนาชุด กิจกรรมส่งเสริมพลังสุขภาพจิตสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้ ครอบครัวและชุมชนเป็ นฐาน. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2563;28(4):327-36.
สุจิตรา สุขทวี, รังสิมันต์ สุนทรไชยา, อังคณา จิรโรจน์. ผลของโปรแกรมการระลึกถึงความหลังต่อความเข้มแข็งทางใจ ในผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า. วารสารพยาบาลทหารบก 2564;22(1):235-43.
ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงค์ไพศาล, ศุภชัย จันทร์ทอง, เบญจมาศ พฤกษ์กานนท์, สุพัตรา สุขาวห, จินตนา ลี้จงเพิ่มพูน. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าของแบบประเมินอาการซึมเศร้า 9 คำถาม ฉบับ ปรับปรุงภาษากลาง. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2561;63(4):321-34.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. โครงการประเมินเทคโนโลยี ทางการแพทย์ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบ สภาพสมองเสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai) 2002 และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย (Thai Mini-Mental State Examination; TMSE) ในการคัดกรอง ผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพมหานคร: ซีจีทูล; 2551.
Park BM. Effects of nurse-led intervention programs based on goal attainment theory: a systematic review and meta-analysis. Healthcare 2021;9(699):1-28.
Huffman JC, DuBois CM, Millstein RA, Celano CM, Wexler D. Positive psychological interventions for patients with type 2 diabetes: rationale, theoretical model, and intervention development. J Diabetes Res 2015;2015:1- 18.
นริสรา พึ่งโพธิ์ สภ. สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำในการ พัฒนาเค้าโครงวิจัยสำหรับนักวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 2556;19(1):1-22.
Hassani P, Izadi-Avanji FS, Rakhshan M, Majd HA. A phenomenological study on resilience of the elderly suffering from chronic disease: a qualitative study. Psychol Res Behav Manag 2017;10:59-67.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.