ผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่วยเบาหวานในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ณัฐดนัย วรศรีหิรัญ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุพัฒนา คำสอน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วุฒิชัย จริยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โรคปริทันต์, พฤติกรรมการป้องกันโรค, ผู้ป่วยเบาหวาน, ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค, ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทาง สังคมต่อพฤติกรรมการป้ องกันโรคปริทันต์ของผู้ป่ วยเบาหวานในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก โดยประยุกต์ ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้ องกันโรคร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 40 คน โดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ตำบลหนองพระ และตำบลวังพิกุล จากนั้นทำการคัดเลือกกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ด้วย วิธีการจับฉลาก กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม การบรรยายประกอบสื่อวีดีทัศน์ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การอภิปรายกลุ่ม การนำเสนอ ตัวแบบ การกระตุ้นเตือนทางวาจา และการติดตามเยี่ยมบ้าน ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และระยะติดตามผล ใช้แบบสอบถามในการเก็บ ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง และระยะ ติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคปริทันต์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์ การรับรู้ความสามารถของตนเองเพื่อป้ องกันโรคปริทันต์ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตนเพื่อป้ องกัน โรคปริทันต์ และพฤติกรรมการป้ องกันโรคปริทันต์สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสร้างเสริมแรงจูงใจร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่ วยเบาหวานเพื่อป้ องกันการเกิดโรคปริทันต์และการสูญเสียฟันได้

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วัชรี จังศิริวัฒนธำรง, จิรพันธ์ พันธ์วุฒิกร, อรสา ไวคกุล. การวางแผนการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่ วยที่มีโรคทาง ระบบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติกพับลิชชิ่ง; 2552.

ชัชลิต รัตรสาร. สถานการณ์ปัจจุบันและความร่วมมือเพื่อ ปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. ม.ป.ท.; 2560.

Cho NH. Q&A: key points for IDF diabetes atlas 2017. In: Snouffer E, Piemonte L, editors. Diabetes Res Clin Pract 2016;115:157-9.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 ธ.ค. 2561]. แหล่งข้อมูล: https:// ddc.moph.go.th/doe/publishbooksub.php?5

Löe H. Periodontal disease. The sixth complication of diabetes mellitus. Diabetes Care 1993;16(1):329-34.

เมธินี คุปพิทยานันท์. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประชากรวัยทำงาน. ใน: เมธินี คุปพิทยานันท์, สุพรรณี ศรี- วิริยกุล, บรรณาธิการ. การสร้างเสริมสุขภาพช่องปากประตู… สู่สุขภาพที่ดีในทุกช่วงวัยของชีวิต. กรุงเทพมหานคร. องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2555. หน้า 54-60.

เฉลิมพร พรมมาส. โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์อักเสบ ความสัมพันธ์ที่ไม่อาจมองข้าม. วารสารแพทย์นาวี 2558; 42(3):61-82.

Preshaw PM, Alba AL, Herrera D, Jepsen S, Konstantinidis A, Makrilakis K, et al. Periodontitis and diabetes: a two-way relationship. Diabetologia 2012;55(1):21- 31.

Grossi SG, Skrepcinski FB, DeCaro T, Robertson DC, Ho AW, Dunford RG, et al. Treatment of periodontal disease in diabetics reduces glycated hemoglobin. J Periodontol 1997;68(8):713-9.

Emrich LJ, Shlossman M, Genco RJ. Periodontal disease in non-insulin-dependent diabetes mellitus. J Periodontol 1991;62(2):123-31.

Taylor GW, Burt BA, Becker MP, Genco RJ, Shlossman M, Knowler WC, et al. Non-insulin dependent diabetes mellitus and alveolar bone loss progression over 2 years. J Periodontol 1998;69(1):76-83.

Taylor GW. The effects of periodontal treatment on diabetes. J Am Dent Assoc 2003;134(Spec No):41S-48S.

Soskolne WA, Klinger A. The relationship between periodontal diseases and aiabetes: an overview. Annals of Periodontology 2002;6(1):91-8.

Taylor GW, Burt BA, Becker MP, Genco RJ, Shlossman M, Knowler WC, et al. Severe periodon- titis and risk for poor glycemic control in patients with non-insulin-dependent diabetes mellitus. J Periodontol 1996; 67(10 Suppl):1085-93.

Kiran M, Arpak N, Unsal E, Erdoğan MF. The effect of improved periodontal health on metabolic control in type 2 diabetes mellitus. J Clin Periodontol 2005;32(3):266- 72.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. รายละเอียดตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำีงบประมาณ 2561 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 20 มี.ค. 2562]. แหล่งข้อมูล: http://www.spko.moph.go.th/ wp-content/uploads/ 2017/ 01/ kpi_ template 25612. pdf

งานทันตกรรมโรงพยาบาลวังทอง. รายงานการตรวจคัดกรอง สุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวานประจำปี 2561. พิษณุโลก: โรงพยาบาลวังทอง; 2561.

สุดาดวง กฤษฎาพงษ์. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก หลักการและการวัด. ปทุมธานี: นโมพริ้นติ้งแอนต์พับลิชชิ่ง; 2552

เศรษฐพล เจริญธัญรักษ์, จิราพร เขียวอยู่, วิลาวัลย์ วีระอาชากุล. คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่ วย เบาหวาน: กรณีศึกษาในเขตอำเภอสุวรรณคูหา จังหวัด หนองบัวลำภู. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(4):339-44.

Rogers RW. Cognitive and physiological processes in fear appeals and attitude change: a revised theory of protection motivation. In: Cacioppo J, Petty R, editors. Social psychophysiology. New York: Guilford; 1983. p. 153-77.

House JS. Work stress and social support. Boston: Addison–Wesley Educational Publishers; 1981.

วนิดา โพธิ์ เงิน. การประยุกต์ใช้แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วม กับแรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคปริทันต์สตรีวัย ทำงานอายุ 35-44 ปี อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2553. 117 หน้า.

สุปรีชา โกษารักษ์, จุฬาภรณ์ โสตะ. ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ ของอาสาสมัครสาธารณสุขในอำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย. วารสารทันตภิบาล 2560;28(2):1-12.

Schlesselman JJ. Data transformation in two-way analysis of variance. Journal of the American Statistical Association 1973;68(342):369-78.

ศุภศิลป์ ดีรักษา, จตุพร เหลืองอุบล, ศุภวดี แถวเพีย. ผลของโปรแกรมดูแลสุขภาพ ช่องปากด้วยการเรียนรู้เชิงกระบวนการสนทนากลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองทางทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่ให้บริการสุขศาลาเทศบาลตำบลคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล 2557; 25(2):45-58.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้