ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • พรพรรณ ประจักษ์เนตร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • สุญาณี พงษ์ธนานิกร ภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • ณัฐกานต์ ทองแท้ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเลิดสิน จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ยาปฏิชีวนะ, เชื้อดื้อยา, พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ

บทคัดย่อ

ปัจจุบันยาปฏิชีวนะได้มีประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก เนื่องจากแบคทีเรียมีการปรับตัวให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาลดลง จากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า หนึ่งในสาเหตุที่สําคัญ ของปัญหาเชื้อดื้อยาเกิดจากพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสม การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัย ที่สัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ การศึกษานี้เป็นการวิจัย เชิงสำรวจ (cross-sectional survey study) มีระยะเวลาการเก็บข้อมูล 60 วัน ตั้งแต่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 3 เมษายน 2564 กลุ่มตัวอย่างคือคนไทยที่ใช้สื่อออนไลน์จำนวน 400 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะโดยใช้การทดสอบไคสแควร์(Chi-square test) และวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการศึกษาพบว่า เพศ ระดับการศึกษา สาเหตุของการใช้ยาปฏิชีวนะ รายได้และแหล่งที่ได้รับยาปฏิชีวนะ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนปัจจัยด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในระดับต่ำ (0.320, p<0.001) ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะและความรู้ เกี่ยวกับเชื้อดื้อยาต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะไม่มีความสัมพันธ์กัน (p-value=0.554, 0.120) ดังนั้น ควร ส่งเสริมให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีเพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

พรพรรณ กู้มานะชัย. ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคติดเชื้อแห่ง ประเทศไทย; 2562 [สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2563]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.idthai.org/Contents/Views/ ?d=kuF2!8!4!!96!WdT6gcOs

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข. แผน ยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 19 มิ.ย.2563]. แหล่งข้อมูล: http://dmsic.moph.go.th/index/ detail/6849

Apisarnthanarak A, Mundy LM. Correlation of antibiotic use and antimicrobial resistance in Pratumthani, Thailand, 2000 to 2006. Am J Infect Control [Internet]. 2008 [cited 2020 Jun 19];36(9):681-2. Available from: doi:10.1016/j.ajic.2007.10.022

Taylor JA, Kwan-Gett TS, McMahon EM Jr. Effectiveness of an educational intervention in modifying parental attitudes about antibiotic usage in children. Pediatrics [Internet]. 2003 [cited 2020 Jun 19];111(5 Pt 1):e548-e554. Available from: doi:10.1542/ peds.111.5.e548

เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, ศิริขวัญ บริหาร, วีระศักดิ์ พุทธาศรี. ตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.ค. 2563]. แหล่ง ข้ อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/ 11228/4245?locale-attribute=th

อิสรีย์ฐิกา ชัยสวัสดิ์ จันทร์ส่องสุข, นิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา, พาสน์ ทีฆทรัพย์. การวิเคราะห์พลวัตระบบของปัจจัยที่ส่งผล ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในภาค ประชาชน รูปแบบระดับจังหวัด: กรณีศึกษาจังหวัดนครนายก [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 3 ก.ค. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/ 5195?locale-attribute=th

United Nations. High-level meeting on antimicrobial resistance [Internet]. 2016 [cited 2020 Jul 3]. Available from: https://www.un.org/pga/71/event-latest/ high-level-meeting-on-antimicrobial-resistance/

Cochran WG. Sampling technique. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons; 1963.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall; 1977.

Demoré B, Mangin L, Tebano G, Pulcini C, Thilly N. Public knowledge and behaviours concerning antibioticuse and resistance in France: a cross-sectional survey. Infection [Internet]. 2017 [cited 2020 Jun 19];45(4):513-20. Available from: doi:10.1007/ s15010-017-1015-2

Awadh A, Raja A, Mahdi A. Assessment of knowledge, attitude and practice regarding antibiotics misuse among the public in Saudi Arabia. The Egyptian Journal of Hospital Medicine [Internet]. 2017 [cited 2020 Jun 19]; 69(5):2405-11. Available from: doi: 10.12816/ 0041684

นัชชา ยันติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยา ปฏิชีวนะของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2560;7(2):57-66.

Pereko DD, Lubbe MS, Essack SY. Public knowledge, attitudes and behaviour towards antibiotic usage in Windhoek, Namibia. S Afr J Infect Dis [Internet]. 2015 [cited 2020 Jun 19];30:134–7. Available from: doi: 10.1080/ 23120053.2015.1107290

Jose J, Jimmy B, Alsabahi AG, Al Sabei GA. A study assessing public knowledge, belief and behavior of antibiotic use in an Omani population. Oman Med J [Internet]. 2013 [cited 2020 Jun 19];28(5):324-30. Available from: doi:10.5001/omj.2013.95

Keaw-aun R., Thaikhamnam K., Suttisean P., Wisai S., Suphim B. Antimicrobial using behaviors: case study of Ban Kang Pla population, Chaiyapruek Sub-district, Mueang District, Loei Province. Ubru Journal for Public Health Research [Internet]. 2019 [cited 2020 Jun 19];8(2):43-54. Available from: https://he02. tci-thaijo.org/index.php/ubruphjou/article/ view/240311

Hagiya H , Ino H, Tokumasu K, Ogawa H, Miyoshi T, Ochi H, et al. Antibiotic literacy among Japanese medical students. J Infect Chemother [Internet]. 2020 [cited 2021 Jan 30];26(10):1107-9. Available from: doi: 10.1016/j.jiac.2020.06.021

สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคม. การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม และ เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพของประชาชนในประเทศไทย: ผลการ สำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 3 ก.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www. nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2562/N14-03- 62-1.aspx

ทิพวรรณ วงเวียน. ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะใน โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนของผู้ป่วยนอกที่เป็นโรคดังกล่าวในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา. วารสารเภสัชกรรมไทย 2557;6(2): 106-14.

Haenssgen MJ, Charoenboon N, Zanello G, Mayxay M, Reed-Tsochas F, Lubell Y, et al. Antibiotic knowledge, attitudes and practices: new insights from cross-sectional rural health behaviour surveys in low-income and middle-income South-East Asia. BMJ Open [Internet]. 2019 [cited 2021 Jan 30];9:e028224. Available from: doi: 10.1136/bmjopen-2018-028224

Bloom BS. Taxonomy of educational objectives: the classification of educational objectives. Handbook I: the cognitive domain. New York: McKay; 1964.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง