การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number One ของนักศึกษามหาวิทยาลัยในจังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วัชรินทร์ ทองสีเหลือง ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เครือข่ายโรงพยาบาลมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ยาเสพติด, การพัฒนารูปแบบ, โครงการ To Be Number One, การป้องกัน, เยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติด ของนักศึกษาและพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number One แบ่งการศึกษา เป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 7 ส่วน มีคำความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพทคูณ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบ การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number One ไช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเลือก แบบเฉพาะเจาะจง คือ จำนวน 58 คน ใช้การวางแผนแบบมีส่วนร่วมด้วยเทคนิค A-I-I-C และวิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล คือ การควบคุมตนอง ทักษะชีวิต และการรับรู้เกี่ยวกับยาเสพติด และปัจจัยด้านสังคม คือ แรงสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดได้ร้อยละ 32.8 ระยะที่ 2 พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นจาการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number One คือ 4ก. ประกอบด้วย กรรมการ กองทุน กิจกรรม และกลยุทธ์ ซึ่งกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น คือ TAKASILA Model โดย มหาวิทยาลัยต้อง กำหนดมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ตรวจคัดกรองสารเสพติดอย่างน้อยภาคเรียนละ 2 ครั้ง สอดแทรกการเรียนการสอนเกี่ยวกับยาเสพติด จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดที่มากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. สรุุปการดำเนินการด้านการป้องกันยาเสพติด. เอกสารประกอบการประชุุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 6 ก.พ. 2564]. แหล่งข้อมููล: https://www.oncb.go.th/EBookLibrary/annual%20report%202564.pdf

United Nations Office on Drugs and Crime. World Drug Report. [Internet]. 2021 [cited

Feb 18]. Available from https:// www.unodc.org/unodc/data-and-analysis/world-drug-report-2021.html

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. ระบบข้อมููลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 24 มี.ค. 2564]. แหล่งข้อมููล: https://antidrugnew.moph. go.th/

ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. สาเหตุุและกระบวนการติดยาบ้าในนักศึกษาอาชีวศึกษาศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์์วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหวิิทยาลัยขอนแก่น; 2561. 120 หน้า

สำนักงานเลขาการคณะกรรมการบำบัดฟืนฟูผู้ติดยาเสพติด. มาตรการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. กรุุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2564.

กรมสุุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุุข. คู่มือการดำเนินงานโครงการรณรงค์และแก้ไขปัญหายาเสพติด To Be Number One ฉบับปรับปรุงใหม่ 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 4 ม.ค. 2564]. แหล่งข้อมููล: https://dmh-elibrary. org/items/show/216

คณะกรรมการดำเนิินงานป้องกัันและแก้้ไขปััญหายาเสพติิดมหาวิิทยาลััย. แนวทางการดำเนิินงานป้องกัันและแก้้ไขปัญหายาเสพติิดในมหาวิิทยาลััย: มหาสารคาม : มหาวิิทยาลััยราชภััฎ มหาสารคาม; 2564

สุรพล บุญทองสุุข. การดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในเขตกรุุงเทพมหานคร หลังประกาศสงครามของรัฐบาลเพื่อเอาชนะยาเสพติด. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2564. 185 หน้า

Shorten A, Smith J. Mixed methods research: expanding the evidence base. Evid Based Nurs 2017;(3):74-5.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3 rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong: Deakin University publisher; 2017.

Osborn AF. Applied Imagination AIC: principles and procedures of creative problem solving. New York: Charles Scribner’s Son; 1963.

WHO ASSIST Working Group. The Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test (ASSIST). development, reliability and feasibility. Addiction 2002; 97:1183-94.

Ehret PJ, Ghaidarov TM, LaBrie JW. Can you say no? Examining the relationship between

drinking refusal self-efficacy and protective behavior strategy use on alcohol outcomes. Addictive Behaviors 2013;38(4): 1898-904.

Oh H, Kim Y. Drinking behavior and drinking refusal self-efficacy in Korean college students. Psychological Reports 2014;115(3):872-83.

เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดของเยาวชนไทยในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2563; 31(3):88-103.

Kumpfer KL, Turner CW. The social ecology model of adolescent substance abuse:

implications for revention. The Interational Journal of the Addictions 1990;25(4A): 435-63.

เกรียงศักดิ์ อุบลไทร. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากยาเสพติดของวัยรุ่น การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์อนุุมาน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 2561;2(4):92-106.

วิมลสิริ บุญโญปกรณ์. การดำเนินงานตามนโนบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึึกษาสัังกััด สำนัักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครไป สู่การปฏิบัติ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 2564; 9(3):75-86.

อัจฉรา พงษ์โพธิ์. รูปแบบดำเนินการป้องกันนและแก้ไขปัญหายาเสพติดในมหาวิทยาลัยในสังกัดกรุุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2564. 148 หน้า.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ