การพัฒนาศักยภาพการใช้แบบสังเกตอาการด้านสุขภาพจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • รุจิรา อำพันธ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองกลาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

โรคทางจิตเวชหากได้รับการรักษาเร็วในขณะที่เริ่มมีอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของจิตแพทย์จะมีโอกาส หาย และสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไปแต่หากปล่อยให้โรครุนแรง เรื้อรัง การรักษาอาจต้องใช้เวลานาน และมีโอกาสที่โรคจะกำเริบซ้ำๆ ได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงผลการพัฒนาศักยภาพด้านสุขภาพจิต ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรมการใช้แบบ สังเกตอาการด้านสุขภาพจิตของ อสม. เพื่อส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัด ศรีสะเกษ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา ระหว่างเดือนมกราคม 2561 ถึงเดือนมกราคม 2562 กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองกลาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 90 คน โดยการอบรมการพัฒนาศักยภาพการใช้แบบสังเกตอาการด้านสุขภาพจิต เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามความรู้ และทัศนคติ ก่อนและหลังการอบรม แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป 10 ข้อ แบบประเมินด้านความรู้ 10 ข้อ แบบประเมินด้านทัศนคติ 10 ข้อ สถิติที่ใช้คือ pair t- tast ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า หลังอบรม อสม. มีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001, 95%CI=2.45-2.95) และหลังฝึกอบรม พบว่า หลังอบรม อสม. มีค่าเฉลี่ยทัศนคติที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p<0.001, 95%CI= 8.86-10.34) จากผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาศักยภาพการใช้แบบสังเกตอาการด้านสุขภาพจิตของ อสม. เพื่อ ส่งต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองกลาง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ สามารถเพิ่มความรู้และปรับเปลี่ยน ทัศนคติของ อสม. เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่ วยโรคจิตเวชได้ จึงควรขยายผลไปใช้ในประเด็นอื่นต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กายสิทธิ์ แก้วยาศรี. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง คัดกรอง และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(2):328-42.

จินตนา ยูนิพันธุ์. การปฏิบัติการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนที่พึงประสงค์ในทศวรรษหน้าสำหรับเด็กที่มีปัญหา ทางจิต. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2557; 28(1):16–28.

ปกรณ์ จารักษ์. ประสิทธิผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่ วย จิตเวชในชุมชน โรงพยาบาลสร้างคอม อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2550;2(2): 1220-30.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. ฐานข้อมูล Health Data Center: HDC, 2561 [อินเทอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2561]. แหล่งข้อมูล: http://www.ssko.moph.go.th/

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1977.

วรัญญา จิตรบรรทัด, พิมพวรรณ เรืองพุทธ, สุพัตรา สหายรักษ์, วัฒนา วาระเพียง. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร สาธารณสุขประจาหมู่บ้านเป็นผู้จัดการรายกรณีในการดูแลคนพิการสูงอายุในชุมชน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.

ประภาส อนันตา, จรัญญู ทองอเนก. ผลของการพัฒนา ศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ปี พ.ศ. 2555. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556;20(1):1-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ