ปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตนาของแพทย์จบใหม่ต่อการคงอยู่ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภายหลังครบสัญญาการชดใช้ทุน

ผู้แต่ง

  • ฑิณกร โนรี กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • อินทิรา นิ่มนวล สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตนาของแพทย์จบใหม่ ต่อการคงอยู่ ในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขภายหลังครบสัญญาการชดใช้ทุน โดยเก็บข้อมูลจากแพทย์จบใหม่ที่เข้า ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี พ.ศ. 2565 อาศัยแบบสอบถามใน รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ตอบกลับทั้งสิ้น 682 คน คิดเป็นร้อยละ 39.1 ของแพทย์ทีมารายงานตัว ณ เดือนพฤษภาคม ่ 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประเภทความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ความสัมพันธ์รายปัจจัยโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และการทดสอบที (t-test) ผลการ ศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับเจตนาของแพทย์จบใหม่ ในการคงอยู่หลังระยะเวลาชดใช้ทุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วยปัจจัยส่วนตัว จำนวน 1 ปัจจัย ได้แก่ ภูมิลำเนาต่างจังหวัด และปัจจัยด้านการศึกษา จำนวน 3 ปัจจัย ได้แก่ (1) การศึกษาในระดับมัธยมปลายในโรงเรียนทีตั้งอยู่นอกเขตอำเภอเมือง (2) การศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด และ (3) การเข้าเรียนแพทย์ด้วยระบบการคัดเลือกจากนักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ในส่วนปัจจัยเชิงระบบและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน จำนวน 5 ปัจจัย ประกอบด้วย (1) เงินเดือนและค่าตอบแทน (2) การมีพี่เลี้ยงดูแล (3) ภาระงาน (4) ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และ (5) สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ภายนอกโรงพยาบาล เช่น ห้างสรรพสินค้า และปัจจัยเชิงนโยบาย คือ การชดใช้ทุนในภาครัฐ 3 ปี ข้อเสนอที่สำคัญ คือ การผลิตแพทย์ภายใต้แนวคิด Rural recruitment, Local Training and Hometown placement เป็นนโยบายที่ ต้องได้รับความสำคัญและสนับสนุนอย่างต่อเนื่องและกระทรวงสาธารณสุขต้องให้ความสำคัญในการวางระบบและ สิ่งแวดล้อมที่ดีในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Monitoring the building block of health systems: a handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.

United Nations. The Sustainable Development Goals report 2022. Geneva: United Nations; 2022.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ธรรมนูญว่าด้วย ระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: อีแอนด์ไอ ครีเอทพลัส; 2560.

คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข. แผนปฏิรูป ประเทศด้านสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข; 2561.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้าน สาธารณสุข). นนทบุรี: สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Witthayapipopsakul V, Cetthakrikul N, Suphanchaimart R, Noree T, Sawaengdee. Equity of health workforce distribution in Thailand: an implication of concentration index. Risk Manag Healthc Policy 2019;12:13-22.

แพทยสภา. ข้อมูลจำนวนแพทย์ ปี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 29 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. tmc.or.th/pdf/tmc-stat-15-08-22.pdf

พินทุสร เหมพิสุทธิ์ , ภาวิณี เอี่ยมจันทน์, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. การศึกษาทิศทางระบบสุขภาพในอนาคตและ คาดการณ์ความต้องการกำลังคนสาขาวิชาชีพแพทย์ของ หน่วยบริการส่วนภูมิภาคสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2565-2569: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(5):929-43.

Pachanee C. Wibulpolprasert S. Incoherent policies on universal coverage of health insurance and promotion of international trade in health services in Thailand. Health Policy Plan 2006;21(4):310-8.

Noree T, Hanefeld J, Smith R. Medical tourism in Thailand: a cross-sectional study. Bull World Health Organ 2016;94(1):30-6.

World Health Organization. Increasing access to health workers in remote and rural areas through improved retention. Geneva: World Health Organization; 2010.

World Health Organization. Transforming and scaling up health professionals’ education and training. Geneva: World Health Organization; 2013.

Suphanchaimart R, Wisaijohn T, Thammathacharee N, Tangcharoensathien V. Projecting Thailand physician supplies between 2012 and 2030: application of cohort approaches. Hum Resour Health 2013;11(1):3.

World Health Organization. Health system in transition: the Kingdom of Thailand. Geneva: World Health Organization; 2015.

นงลักษณ์ พะไกยะ, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, ฑิณกร โนรี, สัญญา ศรีรัตนะ, อภิชาติ จันทนิสร์. จะดึงดูดแพทย์จบใหม่ ไปทำงานที่ชนบทได้อย่างไร: การใช้เครื่องมือทดลองการ ตัดสินใจเลือกงาน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555; 6(1):40-7.

Siripanumas C, Suphanchaimart R, Nittayasoot N, Sawaengdee K. Distribution of physicians to public health facilities and factors contributing to new medical graduates serving in public facilities, 2016-2020, Thailand. Risk Manag Healthc Policy 2022;15:1975-85.

Mohammadiaghdam N, Doshmangir L, Babaie J, Khabiri R, Ponnet K. Determining factors in the retention of physicians in rural and underdeveloped areas: a systematic review. BMC Fam Pract 2020;21(1):216.

Russell D, Mathew S, Fitts M, Liddle Z, Murakami-Gold L, Campbell N, et al. Interventions for health workforce retention in rural and remote areas: a systematic review. Hum Resour Health 2021;19(1):103.

Arora R, Chamnan P, Nitiapinyasakul A, Lertsukprasert S. Retention of doctors in rural health services in Thailand: impact of a national collaborative approach. Rural Remote Health 2017;17(3):43-4.

Nithiapinyasakul A, Arora R, Chamnan P. Impact of a 20-year collaborative approach to increasing the production of rural doctors in Thailand. Int J Med Educ 2016; 7:414-6.

ลลิตยา กองคำ, พรหมพิศิษฐ์ โจทย์กิ่ง, ศตพร รัตนโชเต. อัตราการคงอยู่ในชนบทของบัณฑิตแพทย์ในโครงการผลิต แพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 1(2):13-9.

Techakehakit W, Arora R. Rural retention of new medical graduates from the collaborative project to increase production of rural doctors (CPIRD): a 12-year retrospective study. Health Policy Plan 2017;32(6):809-15.

ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย. แรงจูงใจที่ไม่ใช่เงินที่มี อิทธิพลต่อการคงอยู่ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐของ แพทย์ใน 8 จังหวัดของประเทศไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.

พัชรี เพชรทองหยก, นารีรัตน์ ผุดผ่อง, สตพร จุลชู, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตร์, พิกุลแก้ว ศรีนาม, นิธิวัชร์ แสงเรือง, และคณะ. รูปแบบการจ้างงาน การคงอยู่ของบุคลากรสุขภาพ และภาระงบประมาณ: กรณีศึกษาเฉพาะแพทย ทันตแพทย์ เภสัชกร และพยาบาลภาครัฐ ระยะ 15 ปีข้างหน้า. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562;13(2):188-203.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-18

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ