ฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ของแผ่นแปะจากเปลือกมะนาวที่มีสารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสน
บทคัดย่อ
เชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus เป็นหนึ่งในแบคทีเรียสาเหตุหลักของการเกิดสิวอักเสบ ซึ่งวิธีการรักษา สามารถใช้แก่นฝางเสนทีมีสารออกฤทธิ ่ ์ ทางชีวภาพ โดยการนำสารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสนกับเพคตินจากเปลือกมะนาวมาพัฒนาเป็นแผ่นแปะสิวเพื่อลดการอักเสบ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดหยาบ จากแก่นฝางเสนในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus และพัฒนาแผ่นแปะจากเปลือกมะนาวที่มีสารสกัดหยาบจาก แก่นฝางเสนในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus โดยแก่นฝางเสนถูกสกัดด้วยเอทานอลความเข้มข้น 95% หลังจาก นั้นนำสารสกัดหยาบไปทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี disc diffusion เทียบกับผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ คลินดามัยซิน ความเข้มข้น 10,000 ppm พบว่า สารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสนความเข้มข้น 10,000 ppm, 20,000 ppm, 40,000 ppm และยาปฏิชีวนะคลินดามัยซินความเข้มข้น 10,000 ppm สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย S. aureus เมื่อนำสารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสนมาหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (MIC) และ ค่าความเข้มข้นต่ำสุดฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (MBC) พบว่า ค่า MIC ของเชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 625 ppm และค่า MBC ของ เชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 40,000 ppm ต่อจากนั้นพัฒนาแผ่นแปะจากเปลือกมะนาวที่มีสารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสน เพื่อนำไปทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองพบว่าแผ่นแปะจากเปลือกมะนาวที่มีสารสกัดหยาบจาก แก่นฝางเสนความเข้มข้น 40,000 ppm สามารถฆ่าเชื้อ S. aureus โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางบริเวณยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียเท่ากับ 1.57 เซนติเมตร ดังนั้น ควรมีการศึกษาทดลองการใช้แผ่นแปะจากเปลือกมะนาวทีมีสารสกัดหยาบ ่ จากแก่นฝางเสนทางคลินิกเพื่อพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์เวชสำอางต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Widerström M, Wiström J, Sjöstedt A, Monsen T. Coagulase-negative staphylococci: update on the molecular epidemiology and clinical presentation, with a focus on Staphylococcus epidermidis and Staphylococcus saprophyticus. European Journal of Clinical Microbiology & Infectious Diseases 2012;20-7:)1(31.
Chen J, Ying GG, Wei XD, Liu YS, Liu SS, Hu LX, et al. Removal of antibiotics and antibiotic resistance genes from domestic sewage by constructed wet-lands: effect off low configuration and plant species. Science of the Total Environment 2016;571:974-82.
Nelish PN, Mithun SR, Rangabhatla GSVP, Mehraj A. Brazilin from Caesalpinia sappan heartwood and its pharmacological activities. Asian Pacific Journal of Tropical Medicine 2015;8:421-30.
Nirmal NP, Panichayupakaranant P. Antioxidant, antibacterial, and anti-inflammatoryactivities of standardized brazilin-rich Caesalpinia sappan extract, Pharmaceutical Biology 2015;53:1339-43.
Kim KJ, Yu HH, Jeong SI, Cha JD, Kim SM, You YO. Inhibitory effects of Caesalpinia sappan on growth and invasion of methicillin-resistant Staphylococcus aureus. Journal of Ethnopharmacology 2004;91:81-7.
วลีพรรณ รกิติกุล. การสังเคราะห์ไฮโดรเจลของเพคตินจาก ผลข้าวปั้นพระฤาษีสำหรับการปลด ปล่อยปุ๋ยไนโตรเจน. วารสารวิจัยรามคำแหง (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2563;23(1):39-46.
Klančnik A, Piskernik S, Jeršek B, Možina SS. Evaluation of diffusion and dilution methods to determine the antibacterial activity of plant extracts. Journal of Microbiological Methods 2010;81:121-6.
Liua M, Seidela V, Katerereb DR, Graya AI. Colorimetric broth microdilution method for the antifungal screening of plant extracts against yeasts. Methods 2007;42(4):325-29.
ธานุวัฒน์ ลาภตันศุภผล, ปฏิมา ทองขวัญ, ศิริลักษณ์ สรงพรมทิพย์. การสกัดเพคตินจากเปลือกผักและผลไม้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2013;44(2):433-6.
ณัฐา จริยภมรกุร, ชิดชนก ศุขศรีไพศาล, กัญญาวีร์ นวลศรี. การศึกษาฤทธิ์ ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบชะพลู. การ ประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกาแพงแสน ครั้งที่ 11; 8-9 ธันวาคม 2557; มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557. p. 1768-74.
Nirmal NP, Panichayupakaranant P. Antibacterial activities of brazilin and C. sappan extracts anti-propionibac terium acnes assay-guided purification of brazilin and preparation of brazilin rich extract from Caesalpinia sappan heartwood. Pharmaceutical Biology 2014;52(9): 1204–07.
มณฑล วิสุทธิ. ฤทธิ์ ต้านแบคทีเรียกลุ่ม Staphylococci ของ สารสกัดจากพืชท้องถิ่นบางชนิดในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์ มข. 2560;45(4):805-16.
ไอลดา แกนุ, สุปรานี กองคำ. ผลของการสกัดด้วยเอทานอล และการทำให้บริสุทธิ์ บางส่วนต่อปริมาณสารประกอบฟีนอ ลิกและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของแก่นฝาง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2021;10(1):96-108.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.