ผลลัพธ์และต้นทุนของยา Favipiravir, Molnupiravir, Remdesivir และฟ้าทะลายโจรในช่วงการระบาดของโควิด-19 ของอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
ฟ้าทะลายโจร, ฟาวิพิราเวียร์, เรมเดซิเวียร์, โควิด-19, ต้นทุนบทคัดย่อ
ยารักษาไวรัสโควิด-19 เป็น Repurposing drugs อีกทั้งผลและประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษายังเป็นประเด็นที่ ต้องติดตามและยังต้องรองานวิจัยเพื่อยืนยันถึงผลและประสิทธิภาพของยา ในขณะเดียวกันผลลัพธ์และต้นทุนของ ยารักษาโควิด-19 ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลสามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาและกำหนดนโยบาย ของโรงพยาบาล แต่ยังขาดการวิเคราะห์ผลลัพธ์และต้นทุนของยาเหล่านี้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ และต้นทุนของยา favipiravir, molnupiravir, remdesivir และฟ้ าทะลายโจร ในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดย ทำการศึกษาแบบย้อนหลังเก็บข้อมูลการรับยารักษาโควิด-19 ของโรงพยาบาลกุดชุม จังหวัดยโสธร ระหว่างเดือน มีนาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2565 ศึกษาข้อมูลผลลัพธ์ทางคลินิกและต้นทุนค่ายาและต้นทุนรวมทั้งหมดในผู้ป่ วยติด เชื้อโควิด-19 ที่ได้รับยาฟ้ าทะลายโจร favipiravir, molnupiravir, remdesivir ที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่ วยนอกระบบ แยกกักตัวที่บ้าน (OPSI - out-patient with self isolation, HI - home isolation) และการรับการรักษาด้วยการนอน ในโรงพยาบาล (admit) วิเคราะห์ผลลัพธ์ของการรักษาด้วย multiple logistic regression และต้นทุนของการรักษา ด้วย Kruskall-Wallis test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่ วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 48 ปี รับการรักษาแบบ OPSI, HI ทั้งหมด 4,114 คน ได้รับยา favipiravir ร้อยละ 54 และผู้ป่ วยรักษาในโรงพยาบาล 21 คน ได้รับยา favipiravir เป็นส่วนใหญ่ เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรเพศ อายุ การไม่มีโรคประจำตัว ความเสี่ยงอ้วน หอบหืด แล้วพบว่า ใน OPSI และ HI การที่ได้รับยา favipiravir มีโอกาสทำให้อัตราการมีอาการดีขึ้นไม่แตกต่างจากการได้รับ ยาฟ้ าทะลายโจร (OR = 1.011, 95%CI 0.381–1.230) ต้นทุนค่ายาในการรักษาในโรงพบาบาล favipiravir เฉลี่ย ต่อคนต่ากว่าต้นทุนค่ายา remdesivir เฉลี ํ ่ยต่อคนต่อวัน (ค่ามัธยฐาน 2,883.75 บาท vs. 23,804.14บาท) เมื่อคิด เป็นสัดส่วนในต้นทุนรวมทั้งหมด ต้นทุนค่ายา molnupiravir เท่ากับร้อยละ 0.14 ฟ้ าทะลายโจร เท่ากับ ร้อยละ 3.87 ส่วนต้นทุนค่ายา favipiravir เท่ากับ ร้อยละ 95.99 โดยสรุป ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์ของยาฟ้ าทะลายโจร และ favipiravir ในการรักษาโควิด-19 ไม่แตกต่างกันในกลุ่มที่ไม่มีอาการและอาการเล็กน้อย แต่ favipiravir มี ต้นทุนค่ายาที่ต่ากว่า remdesivir ในคนไข้ที ํ ่รักษาในโรงพยาบาล
Downloads
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65
กรุงเทพมหานคร. สถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 กรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 13 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://www.prbangkok.com/th/ covid-today/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQxODE2Mg.
Cunningham JW, Vaduganathan M, Claggett BL. Clinical outcomes in young US adults hospitalized with COVID-19. JAMA Intern Med 2021;181(3):379-81.
สมคิด แก้วสนธิ, ภิรมย์ กมลรัตนกุล. หลักการและแนวคิด การประยุกต์เศรษฐศาสตร์คลินิกในระบบโรงพยาบาล. เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข: การวิเคราะห์และประเมินผล บริการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2534.
กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้ องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 ส.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/Attach/ 25640625085440AM_CPG_COVID_v.15_n% 2020210625.pdf)
US Food and Drug Administration. Coronavirus (COVID-19) Update: FDA authorizes additional oral antiviral for treatment of covid-19 in certain adults. US Food & Drug Administration [Internet]. 2021 [cited 2022 Aug 19]. Available from: https://www.fda.gov/newsevents/press-announcements/coronavi - rus-covid-19-update-fda-authorizes-additional-oral-antiviral-treatment-covid-19-certain
Mishima E, Anzai N, Miyazaki M, Abe T. Uric Acid Elevation by favipiravir, an antiviral drug. Tohoku J Exp Med 2020;251(2):87-90.
Chen C, Zhang Y, Huang J, Yin P, Cheng Z, Wu J, et al. Favipiravir versus arbidol for clinical recovery rate in moderate and severe adult COVID-19 patients: a prospective, multicenter, open-label, reandomized controlled clinical trial. Front Pharmacol 2021; 2;(12):683296.
Merck. Merck and Ridgeback Biotherapeutics provide update on progress of clinical development program for molnupiravir, an investigational oral therapeutic for the treatment of mild-to-moderate COVID-19 [Internet]. [cited 2023 Dec 9]. Available from: https://www. merck.com/news/merck-and-ridgeback-biotherapeutics-provide-update-on-progress-of-clinical-development-program-for-molnupiravir-an-investigational-oral-therapeutic-for-the-treatment-ofmild-to-moderate-covid-19/?fbclid=IwAR3HF7BcigU9RZwEa-KpNt8Uk5Yx91aTotAnEUtiQ7Don7O-xBW_iOzyd3E
Merck. Merck and Ridgeback’s investigational oral antiviral molnupiravir reduced the risk of hospitalization or death by approximately 50 percent compared to placebo for patients with mild or moderate COVID-19 in positive interim analysis of phase 3 study [Internet]. [cited 2023 Dec 9]. Available from: https://www.merck.com/news/ merck-and-ridgebacks-investigational-oral-antiviral-molnupiravir-reduced-the-risk-of-hospitalizationor-death-by-approximately-50-percent-compared-toplacebo-for-patients-with-mild-or-moderat
อัมพร เบญจพลพิทักษ์, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, ธิติ แสวงธรรม, เทวัญ ธานีรัตน์, กุลธนิต วนรัตน์. รายงานสังเขป ผลการใช้ยาฟ้ าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่ วย COVID-19. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2564; 23(19):229-33.
Miethke-Morais A, Cassenote A, Piva H, Tokunaga E, Cobello V, Gonçalves FAR, et al. COVID-19-related hospital cost-outcome analysis: The impact of clinical and demographic factors. Braz J Infect Dis 2021; 25(4):1-9.
สมจิตร ทองแย้ม. ต้นทุนต่อหน่วยบริการผู้ป่วยใน: หอผู้ป่วย แยกโรคแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ สถาบันบำราศนราดูร ปีงบประมาณ 2558. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2562;1(1):1-12.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.