ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยทำงานในชุมชนเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นอรีนี ตะหวา สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิต, สุขภาวะ, กลุ่มวัยทำงาน

บทคัดย่อ

การพัฒนาที่มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีขึ้นในกลุ่มวัยทำงานมีศักยภาพที่จำเป็นต่อการทำงานให้ทัน การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน จะมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นใน อนาคต และส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำลดลง การศึกษานี้เป็นแบบตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตกลุ่มวัยทำงานชุมชนเทศบาลเมืองปากพูน และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยทำงานใน ชุมชนเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร ยามาเน จำนวน 396 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ 12 หมู่บ้าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าเป็นเพศหญิง ร้อยละ 54.3 อายุเฉลี่ย 44 ปี (SD=11.68) เป็นแรงงานภาคบริการ ร้อยละ 54.5 มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาทต่อ เดือน ร้อยละ 46.0 รายได้เพียงพอแต่ไม่เหลือเก็บ ร้อยละ 48.5 ไม่เคยจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครอบครัว ร้อยละ 88.4 เลือกบริการด้านสุขภาพโดยการใช้การประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 92.7 ปัจจัยแต่ละด้านที่มีผล ต่อคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดี ร้อยละ 63.9 ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับดีร้อยละ 82.3 มีภาวะ ความสุขอยู่ในระดับดีร้อยละ 70.7 ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิต พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ รายได้การเลือกใช้บริการด้านสุขภาพ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติกับระดับคุณภาพชีวิต ส่วนสถานภาพสมรส อายุ ความพอเพียงต่อรายได้ มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติกับระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยทำงานได้แก่ ด้านสุขภาพ มาตรฐานการ ครองชีพ สัมพันธภาพทางสังคม และด้านการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับระดับคุณภาพชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ จึงควรให้ความสำคัญกับปัจจัยเหล่านี้ ในกลุ่มวัยทำงานเพื่อการพัฒนาและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนปากพูน และส่งเสริมให้พวกเขาเป็นกลุ่มวัยทำงานที่มีสุขภาพดี

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

จินางค์กูร โรจนนันต์. แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: http://www.nakhonpathom.go.th

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=6422

กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์ด้านแรงงานประจำปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มี.ค. 2564].แหล่งข้อมูล: https://www.mol.go.th/wp-content/uploads/ sites/2/2022/04/สถานการณ์ด้านแรงงานปี-2564.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข 2562 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 2563].แหล่งข้อมูล: https://bps. moph.go.th/new_bps/sites/default/files/statistic62.pdf

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากการประกอบอาชีพ สำหรับแรงงานนอกระบบประจำปีงบประมาณ 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/galleries3/20220224_01A.pdf

เทศบาลเมืองปากพูน. แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561- 2565) เทศบาลเมืองปากพูน [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 25 ส.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcgl clefindmkaj/https://pakpooncity. go.th/images/PDF/plan/plan1.pdf

Marcela C, Katarina M, Eleonora M, Serhiy M. Informal employment and quality of life in rural areas of Ukraine. European Countryside 2016;2:135-46.

Yamane T. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1973.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, ราณี พรมานะจิรังกุล. เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง; 2540.

นวลลักษณ์ ประภัสสรกุล. คุณภาพชีวิตของผู้ขายสินค้าแบบ หาบเร่และแผงลอยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร 2554;8(2): 24-37.

อภิชัย มงคล, วัชนี หัตถพนม, ภัสรา เชษฐ์โชติศักดิ์, วรรณประภา ชะลอกุล, ละเอียด ปัญโญใหญ่, สุจริต สุวรรณชีพ. การศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2544;46:209-25.

Veenhoven R. Social conditions for human happiness: a review of research. Int J Psychol 2015;50:379-91.

World Health Organization and Calouste Gulbenkian Foundation. Social determinants of mental health. Geneva: World Health Organization; 2014.

ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์ , วรันธรณ์ จงรุ่งโรจน์สกุล, ธานี แก้วธรรมานุกูล, วันเพ็ญ ทรงคำ. สถานการณ์ด้านอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมของกลุ่มแรงงานตัดเย็บผ้า: การ วิเคราะห์ในวิสาหกิจชุมชน. วารสารสภาการพยาบาล 2561; 33(1):61-73.

ศุภกิจ วรรณรัตน์. คุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพสามล้อ ถีบในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2555;31(3):126– 37.

พัชรี หล้าแหล่ง. การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ ภาคใต้ [รายงานผลการวิจัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้; 2556.

สุภัทรา ฝอฝน, พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ , ศุภชัย ปิติ กุลตัง, พิทยา จารุพูนผล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบการค้าแผงลอยในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2557;12(2): 69-83.

รัชนีวรรณ นิรมิตร, บัวพันธ์ พรหมพักพิง. ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเข้าถึงบริการสุขภาพของหญิงบริการชาวลาวในพื้นที่ ชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพัฒนาสังคม 2562; 21(2):78-95.

วิพัฒน์ นีซัง. คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับ ปฏิบัติการห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีบี เพนท์ [วิทยานิพนธ์ปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2555. 84 หน้า.

Akazili J, Chatio S, Ataguba JE, Oduro A. Informal workers’ access to health care services: findings from a qualitative study in the Kassena-Nankana districts of Northern Ghana. BMC International Health and Human Rights 2018;8(20):1-9.

ทัศนีย์ บุญทวีส่ง. พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนในโรคที่พบบ่อย 5 อันดับแรก: กรณีศึกษา เขตบริการโรงพยาบาล สิงหนคร จังหวัดสงขลา [ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์; 2549.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ