สถานการณ์การจัดระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน: กรณีศึกษาจังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • ณิรดา โพธิ์ยิ้ม กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกัน กระทรวงสาธารณสุข
  • ถาวร สกุลพาณิชย์ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ
  • พัชนี ธรรมวันนา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ
  • ภาสกร สวนเรือง มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ
  • ณัฏฐ์นิธิมา แจ้งประจักษ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาความคุ้มครองทางสังคมและสุขภาพ

คำสำคัญ:

แรงงานต่างด้าว, คนต่างด้าว, ระบบประกันสุขภาพ, การตรวจสุขภาพ, เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดระบบประกันสุขภาพให้กับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน กรณีศึกษาจังหวัดตาก โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าว เช่น กฎหมาย ระเบียบ ฯลฯ ศึกษาดูงานในหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึก และอภิปรายกลุ่ม ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับกระบวนการ นำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในพื้นที่ชายแดน และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบประกันสุขภาพ ให้กับแรงงานต่างด้าว ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบข้อมูลสารสนเทศปัจจุบันไม่สามารถนำมาใช้ในการบริหาร จัดการระบบประกันสุขภาพ ตามบทบาทและภารกิจของกระทรวงสาธารณสุขได้ เนื่องจากมีปัญหาทั้งด้านความครบถ้วน ความถูกต้อง และทันเหตุการณ์ (2) มีช่องว่างของการจัดระบบประกันสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขกับระบบ การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวของกระทรวงแรงงาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีแรงงานต่างด้าวมาตรา 64 (พ.ร.ก. การบริหารจัดการการทำงานของคน ต่างด้าว พ.ศ. 2560) และการขายประกันสุขภาพให้กับแรงงานต่างด้าวที่รอสิทธิประกันสังคม ของบริษัทประกันภัย ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย (3) รูปแบบการจัดบริการตรวจสุขภาพปัจจุบันยังเป็นลักษณะตั้งรับ และ นายจ้างมีภาระในการนำแรงงานต่างด้าวไปรับบริการที่โรงพยาบาล และ (4) ข้อจำกัดในการขยายความครอบคลุม ของระบบประกันสุขภาพในพื้นที่ชายแดน ที่ยังมีคนต่างด้าวบางกลุ่มในชุมชนที่เข้าถึงยาก ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุขในส่วนที่เกี่ยวข้องดังกล่าว รวมทั้งเสนอแนะให้ กระทรวงสาธารณสุข เสนอกฎหมายประกันสุขภาพสำหรับคนต่างด้าว ให้ครอบคลุมคนต่างด้าวทุกกลุ่มในระยะยาว เพื่อให้มีกฎหมายรองรับการทำงาน มีการบูรณาการระบบในภาพรวม เพื่อให้มีการเฉลี่ยความเสี่ยง ไม่สร้างภาระค่า ใช้จ่ายให้กับประเทศในระยะยาว

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Srisai P, Phaiyarom M, Suphanchaimat R. Perspectives of Migrants and Employers on the National Insurance Policy (Health Insurance Card Scheme) for Migrants: A Case Study in Ranong, Thailand. Risk Manag Healthc Policy 2020;13:2227–38.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. พระราชกำหนดการบริหารจัด การการทางานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135, ตอน 19 ก (ลงวันที่ 27 มีนาคม 2561).

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่. การค้าชายแดนและการค้า ผ่านแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน. กรุงเทพมหานคร: กองยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ; 2561.

Jaroensathapornkul J. The Truck Terminal Project in Sa Kaeo Province: implications of border trade between Thailand and Cambodia. J Mekong Soc 2017;13(1):55– 80.

The Asian Development Bank (ADB). Eastern Economic Corridor Independent Power Project [Internet]. 2019 [cited 2022 Nov 27]. Available from: https://www.adb. org/projects/53239-001/main

Bhrammanachote W. The review of Thailand’s Eastern Economic Corridor: Potential and Opportunity. Local Adm J. 2019;12(1):73–86.

Phuangketkeow S. Thailand’s Eastern Economic Corridor: A Bold Startegic Move. ISEAS Perspect 2020;13(2022): 1–11.

Open Development Thailand. Special economic zones | open development Thailand [Internet]. 2018 [cited 2022 Nov 27]. Available from: https://thailand.opendevelopmentmekong.net/topics/special-economic-zones/

One Start One Stop Investment Center (OSOS). Thailand offers investors comprehensive services at one location [Internet]. 2022 [cited 2022 Nov 27]. Available from: http://osos.boi.go.th/EN/news/802/One-Start-OneStop-Investment-Center-OSOS/

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2. เขตเศรษฐกิจพิเศษ แม่สอด จังหวัดตาก [Internet]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 30 ธ.ค. 2065]. แหล่งข้อมูล: https://ipc2.dip.go.th/th/category/2016-11-09-08-51-32/2018-02- 14-04-01- 35

สำนักงานแรงงาน จังหวัดตาก. รายงานสถานการณ์และดัชนี ชี้วัดภาวะแรงงานจังหวัดตาก ไตรมาส 3 ปี 2565 (กรกฎาคม – กันยายน 2565). ตาก: สำนักงานแรงงาน จังหวัดตาก; 2565.

เฉิด สารเรือน, นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การเข้าถึงบริการ สุขภาพของแรงงานต่างด้าวก่อนก้าวสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจ และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนชายแดนไทย-เมียนมาร์จังหวัดตาก. J Public Health Nurs 2015;29(3):123–36.

Buadaeng K. Migrant health and access to public health services. J Soc Sci Fac Soc Sci Chiang Mai Univ 2008;20(1):145–72.

König A, Nabieva J, Manssouri A, Antia K, Dambach P, Deckert A, et al. A systematic scoping review on migrant health coverage in Thailand. Trop Med Infect Dis 2022;7(8):166.

Tangcharoensathien V, Thwin AA, Patcharanarumol W. Implementing health insurance for migrants, Thailand. Bull World Health Organ 2017;95(2):146–51.

Kunpeuk W, Teekasap P, Kosiyaporn H, Julchoo S, Phaiyarom M, Sinam P, et al. Understanding the problem of access to public health insurance schemes among cross-border migrants in Thailand through systems thinking. Int J Environ Res Public Health 2020;17(14):5113.

Decharatanachart W, Un-ob P, Putthasri W, Prapasuchat N. The health insurance model for migrant workers’ dependents: A case study of Samut Sakhon Province, Thailand. Kasetsart J Soc Sci 2021;42(3):653–60.

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. รายงานงาน ผลการดำเนินงานประกันสุขภาพของประชากรต่างด้าว ปีงบประมาณ 2562-2563. นนทบุรี: กองเศรษฐกิจสุขภาพ และหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

กระทรวงแรงงาน. ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การ อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอน 176 ง (ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2564).

กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ. คู่มือการ ดำเนินงานประกันสุขภาพคนต่างด้าว กระทรวงสาธารณสุขพ.ศ.2563. นนทบุรี: กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2563.

พราวพิชชา เถลิงพล. ประสิทธิผลการบริหารจัดการระบบ ประกันสุขภาพของกลุ่มแรงงานต่างด้าวในจังหวัด สมุทรสาคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563;5(1):254–67.

กรณมณีธนา ปุณณศิริมั่งมี, นันทนา โควัน, สาวิตรี จันทะ กุล, สมพร แก้วแหยม, เอกชัย ยอดขาว. การศึกษาการขึ้น ทะเบียน การต่อบัตรประกันสุขภาพ กลุ่มโรค และค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลของแรงงานต่างด้าวในโรงพยาบาล ตาพระยา อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;3(3):85–96.

Wickramage K, Vearey J, Zwi AB, Robinson C, Knipper M. Migration and health: a global public health research priority. BMC Public Health 2018;18:987.

Zenner D, Méndez AR, Schillinger S, Val E, Wickramage K. Health and illness in migrants and refugees arriving in Europe: analysis of the electronic Personal Health Record system. J Travel Med 2022;29(7):taac035.

Thai Health Promotion Foundation. Payment of migrant workers’ health checks [Internet]. Thai Health Promotion Foundation. 2019 [cited 2022 Dec 16]. Available from: https://www.thaihealth.or.th/ชำระเงินค่าตรวจสุขภาพข/

The Migrant Fund. Low-cost health protection scheme for migrants Leave no one behind [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 15]. Available from: https://www.m-fund.online/about

Pudpong N, Durier N, Julchoo S, Sainam P, Kuttiparambil B, Suphanchaimat R. Assessment of a voluntary non-profit health insurance scheme for migrants along the Thai–Myanmar Border: a case study of the migrant fund in Thailand. Int J Environ Res Public Health. 2019;16(14):2581.

Chamchan C, Apipornchaisakul K. Health insurance status of cross-border migrant children and the associated factors: a study in a Thai-Myanmar border area. BMC Health Serv Res 2022;22(1):1276.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-02-25

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้