ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางสุขภาพกับการรังแก ในพื้นที่ไซเบอร์ของกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐรัชต์ สาเมาะ ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิมพวัลย์ บุญมงคล ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ติโหมะ โอะหยะเน็น ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มุจลินท์ ชลรัตน์ ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โธมัส กวาดามูซ ศูนย์ศึกษานโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การรังแกในพื้นที่ไซเบอร์, นักเรียน, ความรุนแรงในเยาวชน, สุขภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความชุกของพฤติกรรมการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการถูกรังแกของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีอายุระหว่าง 13-18 ปี ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ใน 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการตอบแบบสอบถามอิเล็กทรอนิกส์ผ่านคอมพิวเตอร์ จำนวน 1,723 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา (จำนวน ร้อยละ) และสถิติเชิงอนุมาน (สถิติไคสแควร์) โดยใช้โปรแกรม SPSS ในการคำนวณ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาในประเทศไทยร้อยละ 33.3 เคยถูกรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ ซึ่งรูปแบบการรังแกที่มีความชุกมาก ที่สุดคือการถูกข่มขู่ ด่าทอ นินทาทางอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์มือถือ (ร้อยละ 21.3) จากการวิเคราะห์เชิงสหสัมพันธ์พบว่าการถูกรังแกในพื้นที่ไซเบอร์มีความเกี่ยวข้องความเสี่ยงต่างๆ ทางสุขภาพ ประกอบด้วย โรคซึมเศร้า (ถูกรังแก ร้อยละ 21.4, ไม่ถูกรังแกร้อยละ 10.4 ; equation= 38.9, p<0.001) การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย (ถูกรังแกร้อยละ 10.1 ไม่ถูกรังแกร้อยละ 3.1; equation = 36.1, p<0.001) รวมไปถึงการพยายามฆ่าตัวตาย (ถูกรังแกร้อยละ 7.1 ไม่ถูกรังแก ร้อยละ 2.2; equation = 25.6, p<0.001) ดังนั้นหน่วยงานของรัฐ โรงเรียน หรือภาคประชาสังคม ควรเข้ามามีบทบาทในการปรับเปลี่ยนทัศนคติของเยาวชน เพื่อให้เยาวชนเกิดความตระหนักต่อปัญหาการรังแกในพื้นที่ไซเบอร์ และทำให้เยาวชนเห็นว่าปัญหานี้ถือเป็นปัญหาของสังคมที่ควรช่วยกันลดให้เหลือน้อยลง ก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะลุกลามอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ