ผลของโปรแกรมลดระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย
คำสำคัญ:
ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พัฒนาและทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุโขทัย การศึกษาประกอบด้วยขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง 330คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า ระยะเวลาการป่วยด้วยโรคเบาหวาน ดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการรักษาพยาบาล พฤติกรรมการรับประทานยาพฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการจัดการความเครียด พฤติกรรมการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาโปรแกรมลดระดับน้ำตาลในเลือด ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย (1) การศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้อง (2) พัฒนาโปรแกรม ประกอบด้วย (2.1) กิจกรรมให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคเบาหวาน การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (2.2) กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคคลตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ (2.3) กิจกรรมการ ฝึกปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (2.4) กิจกรรมการกระตุ้นเตือน และให้คำปรึกษา ขั้นตอนที่ 3 การทดสอบประสิทธิผลของโปรแกรมลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 พบว่า คะแนนระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 ดังนั้น การลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ควรให้ความสำคัญกับการชักจูงด้วยคำพูดและให้คำปรึกษารายบุคคลจากบุคลากรสาธารณสุข
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.