ความพึงพอใจของผู้มารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่อการให้บริการของศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ แซ่ลิ้ม ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
  • ฉวีวรรณ เพ็งรักษา ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
  • ณพิชญ์ วัดมณี ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
  • ศรีวิไล แสงเลิศศิลปชัย ฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน
  • เบญจวรรณ แขวงแดง แผนกพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19, การให้บริการฉีดวัคซีน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้มารับบริการฉีดวัคซีนโควิด19 ต่อการให้บริการของศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มารับบริการเมื่อ วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการของศูนย์ฉีดวัค ซีนฯ ได้ครบถ้วน และมารับบริการฉีดวัคซีนต่อเนื่อง จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม ความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (mean=4.71, SD=0.39) โดยมีระยะเวลาในการให้บริการที่เหมาะสม รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ได้รับความ ประทับใจจากญาติทุกครั้ง ด้านการให้บริการของพยาบาล ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.70, SD=0.40) พยาบาลพูดจาสุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใส และเป็นกันเอง ให้คำแนะนำขั้นตอนในการให้บริการได้อย่างชัดเจน ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ ด้านคุณภาพการให้บริการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.68, SD=0.40) โดยได้รับการฉีดวัคซีนถูกชนิดตามความต้องการ พยาบาลมีทักษะและความชำนาญในการฉีดยาทำให้ ไม่รู้สึกเจ็บ ลดความวิตกกังวลและความกลัวในการมารับบริการฉีดวัคซีนครั้งต่อไป ผู้รับบริการไม่มีภาวะแทรกซ้อน จากการฉีดวัคซีน ทำให้เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.70, SD=0.46) สถานที่ให้บริการสะอาด เป็นระเบียบและสภาพแวดล้อมดี ได้รับบริการตรงตามความ ต้องการ ได้รับคำชื่นชมต่อการให้บริการทุกครั้ง มีเพียงข้อเสนอแนะเดียวคือเรื่องที่จอดรถไม่เพียงพอ ซึ่งจะได้นำ เสนอผู้บริหารเพื่อหาแนวทางแก้ไขต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2022 May17] Available from: https://www.who.int/emergencies/ diseases/novel-coronavirus-2019

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้เสียชีวิตจากเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต].2565[สืบค้นเมื่อ2566ก.พ.5]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph. go.th/covid19-dashboard/?dashboard=death-statistics

nกองโรคติดต่อทั่วไป. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย[อินเทอร์เน็ต].2564 [สืบค้นเมื่อ 2565 มิ.ย. 18]. แหล่งข้อมูลhttps://ddc.moph.go.th/dcd/pagecontent. php?page=641&dept=dcd

โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล. เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนโมเดอร์นา [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ2564 เม.ย.30]. แหล่งข้อมูล: https://vichaivej-nongkhaem. com/health-info/วัคซีนโมเดอร์นา/

Solante R, Alvarez-Moreno C, Burhan E, Chariyalertsak S, Chiu NC, Chuenkitmongkol S, et al. Expert review of global real-world data on COVID-19 vaccine booster effectiveness and safety during the omicron-dominant phase of the pandemic. Expert Rev Vaccines 2023; 22 (1):1-16.

โรงพยาบาลวิชัยเวชอินเตอร์เนชั่นแนล. รู้จักวัคซีนไฟเซอร์ ดีไหม ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร [อินเทอร์เน็ต].2564 [สืบค้นเมื่อ 2564 มิ.ย. 24]. แหล่งข้อมูล: https://vi¬chaivej-nongkhaem.com/health-info/วัคซีนไฟเซอร์

Workpoint Today. สรุปสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับวัควีนซิโนแวค [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 2564 มิ .ย. 23]. แหล่ง ข้อมูล: https://workpointtoday.com/sinovac-4/

นิธิ พัฒน์ เจียรกุล, วรรษมน จันทรเบญจกุล, กำธร มาลาธรรม. การป้องกันการติดโรคโควิด-19 แบบครอบจักรวาล (universal prevention) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ2565 มิ.ย. 17]. แหล่งข้อมูล: https://chulalongkornhos¬pital.go.th/kcmh/line/การป้องกันการติดโควิด.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีน โควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ2566 เม.ย. 14]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/vac¬cine-covid19 /getFiles/11/1628849610213.pdf

เกศรา โชคนำชัยสิริ, อัจฉรา โพชะโน, กะชามาศ เซ่งเถี้ยน. การประเมินผลระบบบริการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขต เมือง. วารสารศูนย์อนามั ย2566;9 (17): 730-47.

ระนอง เกตุดาว. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(1): 53-61.

Likert R. The method of constructing and attitude scale [Internet]. 1967 [cited 2022 Dec 6]. Availablefrom:https://www.sfu.ca/~palys/Likert-1933-The MethodOfConstructingAnAttitudeScale.pdf

ชลธิชา ชุมอินทร์. กลไกการให้บริการในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลอง ม้วน ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น (2564);7(5): 21-34.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการ โรงพยาบาลเปาโลรังสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2561.

Kotler P. Marketing management: analysis, planning, implementation, and control.

thed. Englewood Cliffs: Prentice Hall; 1997.

กิตติภพ แจ่มโสภณ. ประสิทธิผลของหน่วยบริการสุขภาพโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แบบเคลื่อนที่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของคลินิกหมอครอบครัวชุมชนกังแอน อำเภอ ปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารระบบบริการ

ปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2563;3(3):21-34.

น้ำลิน เทียมแก้ว. การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการ ให้บริการของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาสารคาม ประจำปี การศึกษา 2560. มหาสารคาม: สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2561.

ณัฐ จินาเฟย. ความพึงพอใจต่อบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2555.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ