การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการ ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ต่องานบริการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กับหน่วยงานอื่นของภาครัฐและภาคเอกชน

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ทัศนกิจ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
  • สุภาวัลย์ ปิยรัตนวรสกุล สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ, ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, ประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้รับบริการห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ต่องานบริการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการและหน่วยงานประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ทั้งหน่วยงานอื่นของภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ดำเนินการโดย จัดส่งแบบสอบถามทางออนไลน์และทางไปรษณีย์ไปยังผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ทางการแพทย์ที่รับบริการงานประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ตอบแบบสอบถามกลับจากหน่วยงานจำนวน 324 แห่ง ผลการวิเคราะห์พบมีจำนวนผู้รับบริการจำแนกตามสาขามากที่สุดของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ สำนักมาตรฐาน-ห้องปฏิบัติการ สาขาจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก (ร้อยละ 86.12) หน่วยงานอื่นของภาครัฐสาขาภูมิคุ้มกันวิทยาคลินิก (ร้อยละ 39.09) และหน่วยงานภาคเอกชน สาขาเคมีคลินิก (ร้อยละ 45.89) และผลการเปรียบเทียบข้อมูลระดับความพึงพอใจ ด้วยวิธีของ Likert scale และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้การทดสอบ t-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01พบค่าเฉลี่ยของระดับความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของทั้ง 3 กลุ่มอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)และผลการทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยระหว่างความพึงพอใจของผู้รับบริการต่องานบริการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์กับช่วงอายุ ของผู้รับบริการ โดยการวิเคราะห์ One-way ANOVA และวิธี least square difference (LSD) พบความแตกต่างรายคู่ คือ ผู้รับบริการที่มีช่วงอายุ 51 - 60 ปี มีความพึงพอใจต่องานบริการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการแตกต่างจาก ผู้รับบริการที่มีช่วงอายุ 21 - 30 ปี 31 - 40 ปีและ 41 - 50 ปี (p<0.05) สำหรับความไม่พึงพอใจที่ผู้รับบริการ มีต่อการให้บริการของสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการและหน่วยงานภาครัฐสูงสุดคือ การส่งสรุปรายงานผลการประเมินล่าช้า ส่วนหน่วยงานภาคเอกชน ผู้รับบริการไม่พึงพอใจต่อค่าบริการที่มีราคาสูง ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และความพึงพอใจอย่างเกินความคาดหวังให้กับผู้รับบริการต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ