พฤติกรรมการผลิตและจัดการขยะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ลิมปิทีปราการ กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ชาลิณี ซุยน้ำเที่ยง Bachelor Program of Science in Environmental Health, College of Medicine and Public Health, Ubon Ratchathani University, Thailand
  • พัชรี ทองสลับ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • วริศรา นาโสก หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อนามัยสิ่งแวดล้อม) วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สง่า ทับทิมหิน กลุ่มวิชาสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา 2019, การบริการสั่งอาหารออนไลน์, ขยะบรรจุภัณฑ์, นักศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการผลิตขยะและการจัดการขยะที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์การ แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 387 คน โดยเน้นการศึกษาขยะ ที่เกิดจากการบริการสั่งอาหาร (food delivery) และสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายตามสัดส่วนของ นักศึกษาแต่ละคณะ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ผ่านทาง Google form ระหว่างเดือนกันยายน - ตุลาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาทุกคนมีการผลิตขยะประเภทถุง พลาสติก ร้อยละ 100.0 รองลงมาคือ ขยะกล่องพลาสติกใส่อาหาร/กล่องโฟม ร้อยละ 88.1 ขยะที่ทิ้งรวมไม่ได้มีการ คัดแยกก่อนทิ้งมากที่สุด คือ ซองเครื่องปรุงรส ร้อยละ 68.7 ขยะที่คัดแยกเก็บไว้จำหน่ายมากที่สุด คือ กล่องพัสดุ คิดเป็นร้อยละ 14.5 ขยะที่มีการคัดแยกก่อนทิ้งมากที่สุด คือ ขยะแก้วพลาสติกใส่เครื่องดื่ม คิดเป็นร้อยละ 28.9 โดยมีการผลิตขยะถุงพลาสติก มากที่สุดเฉลี่ย 10.7 ชิ้น/คน/สัปดาห์ (SD=11.5) ผลิตสูงสุดอยู่ที่ 150 ชิ้น/สัปดาห์ มีการผลิตขยะซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกและซองพลาสติกแบบมีกันกระแทกมากที่สุดเฉลี่ย 10.9 ชิ้น (SD=21.6) ผลิตสูงสุดอยู่ที่ 200 ชิ้น/เดือน กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมที่ไม่เคยปฏิบัติมากที่สุด คือ การนำปิ่นโตหรือกล่องใส่ อาหารติดตัวไปด้วยเวลาไปซื้ออาหารที่ร้านค้า คิดเป็นร้อยละ 64.3 พฤติกรรมการจัดการขยะภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลางคิดเป็นร้อยละ 70.5 ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐ ร้านค้า จึงควรส่งเสริมให้นักศึกษามีการใช้ถุงผ้า และการพก กล่องใส่อาหาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายและสามารถช่วยลดปริมาณการใช้พลาสติกในกลุ่มนักศึกษาได้ รวมทั้งจัดตั้งจุด รวบรวมขยะพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมมลพิษ. รายงานสถานการณ์มลพิษของ ประเทศไทยปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 8 เม.ย. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.pcd.go.th/publication/26626

พชร เศรษฐวัชระ, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. สภาพการณ์ ผลก ระทบ และมาตรการของรัฐต่อบริการจัดส่งอาหารถึงที่ใน สภาวะแพร่ระบาดไวรัสโควิด 19 ในเขตเทศบาลนคร ขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2565;12(1):199-213.

บุญชนิต ว่องประพิณกุล, สุจิตรา วาสนาดำรงดี. ขยะพลาสติก จากการสั่งอาหารออนไลน์ สถานการณ์ปัญหาและแนวทาง แก้ไข (ตอนที่ 1). วารสารสิ่งแวดล้อม 2564;25(1):1-10.

บุญชนิต ว่องประพิณกุล, สุจิตรา วาสนาดำรงดี. ขยะพลาสติก จากการสั่งอาหารออนไลน์ (ตอนที่ 2) ผลการสำรวจ พฤติกรรมและความคิดเห็นของผู้บริโภค. วารสารสิ่งแวดล้อม 2564;25(3):1-11.

นันทวุฒิ จำปางาม. ไมโครพลาสติก: ปัญหาในระบบนิเวศ แหล่งน้ำ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563;4(2):25-39.

Hobbs JE. Food supply chains during the COVID-19 pandemic. Can J Agric Econ 2020;68(2):171-6.

ณัฐชา ปานอุทัย. อิทธิพลของความกังวลที่มีต่อโรคระบาด โควิด 19 และความเชื่อมั่นในการใช้บริการแอพพลิเคชั่นสั่ง อาหารที่ส่งผลต่อความถี่ของการใช้บริการ [สารนิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2564. 60 หน้า.

ดวงตา อ่อนเวียง. พฤติกรรมผู้บริโภคและความตั้งใจซื้อ สินค้าออนไลน์. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ 2565;7(2): 809-19.

ณัธภัชร เฉลิมแดน. พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบ เดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขต กรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม 2563; 2(1):92-106.

กันต์ฤทัย ปลอดกระโทก, วัลยา ร้อยแก้ว, สุทัศน์ เยี่ยงกลาง, วิวรรณ กาญจนวจี, สุภาวดี สุวิธรรมา. พฤติกรรมการซื้อ สินค้าออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 2563;5(1):19-30.

Daniel WW. Biostatistics: basic concepts and methodology for the health sciences. 9thed. New York: John Wiley & Sons; 2010.

อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์ และ วิษณุ เหลืองละออ. เจตคติและ พฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของประชาชนใน กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 2557;34(1):70-88.

กานดา ปุ่มสิน, ทอแสง พิมพ์เบ้าธรรม, นลพรรณ เจนจำรัส ฤทธิ์ . การศึกษาพฤติกรรมของประชาชนในการจัดการ มูลฝอยของ องค์การบริหารส่วนตำบลแก้งไก่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 2564;1(2):10–22.

Chula zero waste. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนา ต้นแบบการจัดการขยะมูลฝอยและขยะอันตรายในพื้นที่เมือง (จุฬาฯ zero waste) ปีที่ 5 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 ส.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: http://www.chulazerowaste. chula.ac.th/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ