สถานการณ์การบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคกาแฟปรุงสำเร็จของคนไทยเชื้อสายปะกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง

ผู้แต่ง

  • ปริมประภา ก้อนแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • อภิชาติ ธรรมจำนงค์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาด
  • มนัส คำคีรีกุล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่ระมาด
  • รัชดาภรณ์ แม้นศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • กู้เกียรติ ก้อนแก้ว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การบริโภค, กาแฟปรุงสำเร็จ, ปะกาเกอะญอ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริโภคและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริโภคกาแฟ ปรุงสำเร็จชนิดทรีอินวัน เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นคนไทยเชื้อสายปะกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูง จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 389 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวม ข้อมูลระหว่างวันที่ 15 มกราคม-20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วย ข้อมูล ทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคกาแฟปรุงสำเร็จ ทัศนคติการบริโภคกาแฟ ค่านิยม ประเพณี สิ่งแวดล้อมในชุมชน แรงจูงใจในการบริโภคเครื่องดื่มกาแฟปรุงสำเร็จ และพฤติกรรมการบริโภค ผ่านการทดสอบคุณภาพ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษา สถานการณ์การบริโภคกาแฟปรุงสำเร็จชนิด ทรีอินวัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งบริโภค 2 -3 ซองต่อวัน ร้อยละ 60.5 ปัจจัยต่างๆ ได้แก่ การศึกษา อาชีพ หลัก ทัศนคติต่อการบริโภคกาแฟ และแรงจูงใจในการเลือกบริโภค มีความสัมพันธ์กับการบริโภคกาแฟปรุงสำเร็จ ทรีอินวัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการศึกษาสถานการณ์คนไทยเชื้อสายปะกาเกอะญอ ที่อาศัย อยู่ในพื้นที่สูง มีพฤติกรรมดื่มกาแฟปรุงสำเร็จชนิดทรีอินวัน ตั้งแต่ 1-6 ซองต่อวัน ดังนั้น สถานบริการสาธารณสุข ในพื้นที่ควรส่งเสริมความฉลาดรอบรู้ต่อการบริโภคกาแฟ เพื่อให้ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Diabetes [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 1]. Available from: https://www.who. int/health-topics/diabetes#tab=tab_1

World Health Organization. Hypertension [Internet]. 2022 [cited 2022 Jan 1]; Available from: https://www.who. int/health-topics/hypertension#tab=tab_1

วีระศักดิ์ ศรินนภากร. การดูแลผู้ป่ วยโรคเบาหวานที่ยากต่อ การรักษา. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพเวชสาร; 2557.

Czarniecka-Skubina E, Pielak M, Sałek P, Korzeniowska-Ginter R, Owczarek T. Consumer Choices and Habits Related to Coffee Consumption by Poles. International Journal of Environmental Research and Public Health 2021;18(8):3948.

Gokcen BB, Sanlier N. Coffee consumption and disease correlations. Critical Reviews in Food Science and Nutrition 2019;59(2):336-48.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง. สรุปผลการ ดำเนินงานสาธารณสุข ปี 2563. ตาก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองหลวง; 2563

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสม. สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุข ปี 2563. ตาก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแสม; 2563 8. ช่อง

และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค. ผลตรวจกาแฟ 3 อิน 1 พบ ปริมาณน้ำตาลสูงเกินกำหนด [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้น เมื่อ 28 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaich8. com/news_detail/52930

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัยเผยคนไทย ติดหวานแนะลดน้ำตาล ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https:// multimedia.anamai.moph.go.th/news/06032564/

สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ไขมันทรานส์ สารอันตราย กาแฟ ครีมเทียม=ตายผ่อนส่ง [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2564] แหล่งข้อมูล: https:// www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news.php?names=07 &news_id=7944

ภูริตา บุญล้อม. พบเครื่องดื่ม 3-in-1 ชนิดผงบางยี่ห้อมีไข มันทรานส์สูงเกินคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 28 ธ.ค. 2564]. แหล่ง ข้อมูล: https://thestandard.co/trans-fat-in-3-in-1- beverages/

Wayne W, D. Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences. 6th ed. New York: John Wiley Sons; 1995.

ฐิติรัตน์ รุ่งหิรัญรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคกาแฟ ของผู้บริโภค ในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (ส่วนกลาง) [วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์; 2557. 79 หน้า.

นุติพงษ์ สุติก, พรรณวดี ขำจริง. ศึกษาวัฒนธรรมการบริโภค กาแฟของประชากรในจังหวัดภูเก็ต. Walailak Procedia 2562;2019(6):1-11.

ใบเฟิ ร์น แก้วจำปาสี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริโภคกาแฟสด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ 2562;7(3):98-106.

ดารารัตน์ รักเถาว์, ปวรา โกศัย, ธมลวรรณ วิชา, ศุภกิจ จงพงษา, ภัทรวรรณ แท่นทอง. พฤติกรรมการบริโภค กาแฟสดในเขตอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E Journal, Silpakorn University 2561;11(3): 3329-52.

ศรัณภร มาลายะ, ไกรพุฒิ กีรกะจินดา. การรับรู้การโฆษณา ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อกาแฟผงสำเร็จรูป ทรีอินวันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร 2559;1(1):8-19.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้