กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากและสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • สุเทพ ภูติประวรรณ กลุ่มงานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร

คำสำคัญ:

สภาวะสุขภาพช่องปาก, การส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็ก, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ช่องปากทีดำเนินการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมสุขภาพช่องปาก กับสภาวะสุขภาพช่องปากเด็ก วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กอายุ 3 ปี ที่อยู่ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดชุมพร ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานเฝ้ าระวังทันตสุขภาพและปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์ใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีฟัน ไม่สะอาดร้อยละ 17.1 ฟันผุ ร้อยละ 51.3 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด 2.6 ซี่/คน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจัดกิจกรรม แปรงฟันหลังอาหารกลางวัน ร้อยละ 96.2 ทุกแห่งจัดผลไม้เป็นอาหารว่าง 3-5 วัน/สัปดาห์ และจัดนมจืดให้เด็ก ตรวจสุขภาพช่องปากโดยครูผู้ดูแลเด็กร้อยละ 44.2 และโดยทันตบุคลากรร้อยละ 96.2 มีเด็กแปรงฟันตอนเช้าก่อน มาศูนย์ฯ ร้อยละ 88.7 เด็กนำนมรสหวานหรือนมรสเปรี้ยว นมขวด และขนมมาที่ศูนย์ฯ ร้อยละ 6.7, 4.1 และ 7.3 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์พบ การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน การตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากรและ การแปรงฟันตอนเช้ามีความสัมพันธ์กับความสะอาดของฟันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการนำนมรสหวานหรือ นมรสเปรี้ยวมาที่ศูนย์ฯ มีความสัมพันธ์กับการเกิดฟันผุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การ จัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวันและการตรวจช่องปากโดยทันตบุคลากร มีประสิทธิผลทำให้เด็กมีฟันสะอาด และช่วยกระตุ้นการแปรงฟันของเด็ก

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2561.

Khitdee C. The epidemiology of early childhood caries. Thai Dental Public Health Journal 2017;22(Supplement):3-13.

กันยา บุญธรรม, ศรีสุดา ลีละศิธร. ความสัมพันธ์ของฟันผุ กับภาวะโภชนาการในเด็กไทยอายุ 5 ปี . วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2559;21(2):47-53.

พนิตเทพ ทัพพะรังสี, พิชญภัสสร์ ไหลรุ่งเรืองสกุล, เอื้ออารีย์ วัฒนธงชัย, ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. ความสัมพันธ์ของ โรคฟันผุกับน้ำหนัก ส่วนสูง และพัฒนาการของเด็กปฐมวัย 0-5 ปี ในเขตสุขภาพที่ 4. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2558;20(2):9-17.

Rugg-Gunn A, Woodward M. Review of the aetiology of early childhood caries. Thai Dental Public Health Journal 2017;22(Supplement):14-43.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้น เมื่อ 25 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://nich.anamai. moph.go.th/web-upload/9x45fd5e87a - 10707bad447547633b2d76d/tinymce/2564/Child_ Standard/std_64_17.pdf

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการพัฒนาสถาน พัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ “ด้านสุขภาพช่องปาก” [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 25 มี.ค. 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://dental.anamai.moph.go.th/th/handbook/ download?id=89624&mid=35799&mkey=m_dodocume&lang=th&did=28603

พัชรี เรืองงาม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคฟันผุเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556;18(2):9-22.

เมธินี คุปพิทยานันท์, ศรีสุดา ลีละศิธร. กิจกรรมส่งเสริมสุข ภาพช่องปากและสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556;18(2):33-45.

ดลฤดี แก้วสวาท, สุณี วงศ์คงคาเทพ. เปรียบเทียบสภาวะ ฟันผุและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องของเด็กไทยอายุ 1-4 ปี ระหว่างปี 2549 และ 2554. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556;18(1):64-89.

สุพรรณี สุคันวรานิล, สุภาวดี พรหมมา. สภาวะโรคฟันผุใน ฟันน้ำนมและปัจจัยเสียงในเด็ก 1-24 เดือน. วิทยาสารทันต- ่ สาธารณสุข 2557;19(1):66-76.

Ungchusak C. Oral health promotion and prevention of early childhood caries. Thai Dental Public Health Journal 2017;22(Supplement):44-61.

Agouropoulos A, Twetman S, Pandis N, Kavvadia K, Papagiannoulis L. Caries-preventive effectiveness of fluoride varnish as adjunct to oral health promotion and supervised tooth brushing in preschool children: a double-blind randomized controlled trial. J Dent [Internet]. 2014 [cited 2022 Oct 31];42:1277-83. Available from: http://dx.doi.org/10.1016/j.jdent.2014.07.020

Natapov L, Dekel D, Pikovsky V, Zusman SP. Dental health of preschool children after two-years of a supervised tooth brushing program in Southern Israel. Isr J Health Policy Res [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 31];10:1- 6. Available from: https//doi.org/10.1186/s13584- 021-00479-5

American Academy of Pediatric Dentistry. Policy on oral health in child care centers [Internet]. 2021 [cited 2022 Oct 31]. 3 p. Available from: https://www.aapd.org/ globalassets/media/policies_guidelines/p_ochcarecenters.pdf

เจียรไน ตั้งติยะพันธ์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, ธีระวุธ ธรรมกุล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับบริการส่งเสริมสุขภาพช่องปาก กับพฤติกรรมทันตสุขภาพและฟันผุในเด็กอายุ 2-3 ปี อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2561;23(2):28-37.

ลักขณา อุ้ยจิรากุล, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, จันทนา อึ้งชูศักดิ์ , มุขดา ศิริเทพทวี. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรม การเลี้ยงดูและโรคฟันผุในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด สระแก้ว. วิทยาสารทันตสาธารณสุข 2556;18(2):23-32.

Yu KF, Wen W, Liu P, Gao X, Lo ECM, Wong MEM. Effectiveness of family-centered oral health promotion on toddler oral health in Hong Kong. J Dent Res [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 31];101(3):286-94. Available from: https://www.researchgate.net/publication/ 354568446

Muhoozi GKM, Atukunda P, Skaare AB, Willumsen T, Diep LM, Westerberg AC, et al. Effects of nutrition and hygiene education on oral health and growth among toddlers in rural Uganda: follow-up of a cluster-randomised controlled trial. Trop Med Int Health 2018; 23(4):391-404.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ