ผลของการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการตัดสินใจรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19
คำสำคัญ:
สนทนาสร้างแรงจูงใจ, วัคซีนโควิด 19, ความลังเลใจในการฉีดวัคซีนโควิด 19บทคัดย่อ
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยปกป้องให้ผู้คนปลอดภัยและช่วยควบคุม การระบาดของโรคนี้ได้ แต่ยังพบว่าประชาชนยังมีความลังเลใจหรือปฏิเสธการรับวัคซีน ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการสนทนา สร้างแรงจูงใจเพื่อจุดมุ่งหมายลดความลังเลใจและเพิ่มการตัดสินใจรับการฉีดวัคซีน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ เทคนิคการสนทนาสร้างแรงจูงใจต่อการตัดสินใจรับการฉีดวัคซีนป้ องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของผู้ที่มีความลังเลใจ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ (one-group quasi experiment research design) ในกลุ่ม ตัวอย่างที่มีความลังเลใจจำนวน 1,342 คน วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากแบบบันทึกของศูนย์สุขภาพจิตที่ 1 -13 ใน ระหว่างวันที่ 22 - 30 พฤศจิกายน 2564 โดยใช้สถิติพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบไคสแควร์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความลังเลใจในการฉีดวัคซีนโควิด 19 เมื่อได้รับการสนทนาสร้างแรงจูงใจ (Motivational Interview - MI) ขั้นที่ 1 (vaccine advice; VA) ใช้เวลา 5 - 10 นาที มีความต้องการในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 68.4 แต่ยังมีผู้ทีมีความลังเลใจเหลืออยู่จำนวน 424 คน จึงใช้วิธีการสนทนาสร้างแรงจูงใจในขั้นที 2 (vaccine intervention; ่ VI) ใช้เวลา 15 - 20 นาที พบว่ามีความต้องการฉีดวัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 75.2 เมื่อรวมทั้งขั้นตอน VA และ VI สามารถเพิ่มความต้องการในการฉีดวัคซีนโควิด 19 เป็น ร้อยละ 92.2 งานวิจัยนี้พบว่าเทคนิคการสนทนาสร้างแรงจูงใจ (MI) 2 ขั้นตอนในรูปแบบการให้คำแนะนำแบบสั้น (VA และ VI) ใช้เวลาน้อยมีประสิทธิผลในการ สนับสนุนการตัดสินใจฉีดวัคซีนและเสนอแนะให้มีการนำไปประยุกต์ใช้กับการสนับสนุนพฤติกรรมสุขภาพและการ ฉีดวัคซีนในโรคติดเชื้ออื่นและโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ในอนาคตต่อไป
Downloads
เอกสารอ้างอิง
World Health Organization. COVID-19 advice for the public: Getting vaccinated [Internet] 2022 [cited 2022 Apr 8 ]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/covid-19- vaccines/advice.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. องค์การ อนามัยโลกเปิด 10 ภัยคุกคามสุขภาพในปี 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชิ้อไวรัส โคโรนา 2019. ข้อมูลสถิติผู้ติดเชื้อโควิด-19. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 16 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https:// www.moicovid.com/
อนามัยโลกประจำประเทศไทย. รายงานสถานการณ์โดย องค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทยฉบับที่ 254 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 16 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports
เทอดศักดิ์ เดชคง, ธิดารัตน์ ทิพโชติ, พาสนา คุณิวัฒน์, ศรัณยพิชญ์ อักษร. การสัมมนาวิชาการนานาชาติสร้างความ เชื่อมั่น ลดความลังเลใจ พร้อมใจฉีดวัคซีน “vaccine hesitancy; management and intervention”. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2565.
เทอดศักดิ์ เดชคง. หลักสูตรการสนทนาเพื่อสร้างแรงจูงใจ สำหรับผู้ลังเลใจในการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับเจ้าหน้าที่- สาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2564.
Miller WR, Rollnick S. Motivational interviewing: preparing people to change addictive behavior. Washington, DC: the Guilford Press; 1991.
ขนิษฐา ชื่นใจ, บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของ ประชากรในกรุงเทพมหานคร [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [สืบค้น เมื่อ 16 ธ.ค. 2564]. แหล่งข้อมูล: https://mmm.ru.ac.th/ MMM/IS/twin9/6214154037.pdf
Zolezzi M, Paravattil B, El-Gaili, T. Using motivational interviewing techniques to inform decision-making for COVID-19 vaccination. Int J Clin Pharm 2021;(43(6): 1728-34.
ไพรัชฌ์ สงคราม, จักรสันต์ เลยหยุด, พรรณิภา ไชยรัตน์, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง, ชัญญรัชต์ นกศักดา,วิราสินี สีสงคราม. ความต้องการวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุข ในการบริการวัคซีน โควิด-19 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(2):199-207.
Gabarda A, Butterworth SW. Using best practices to address COVID-19 vaccine hesitancy: the case for the motivational interviewing approach. Health Promot Pract 2021;22(5):611-5.
Breckenridge LA, Burns D, Nye C. The use of motivational interviewing to overcome COVID-19 vaccine hesitancy in primary care settings. Public Health Nurs 2022;39(3):618–23.
Moore R, Purvis RS, Hallgren E, Willis DE, Hall S, Reece S, et al. Motivations to vaccinate among hesitant adopters of the COVID-19 vaccine. J Community Health 2022;47:237–45.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.