การพัฒนารูปแบบมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19: กรณีศึกษาบริเวณถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน

ผู้แต่ง

  • จงจิต ปินศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • เจษฎากร โนอินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
  • นิรัชรา ลิลละฮ์กุล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

โรคโควิด 19, การพัฒนารูปแบบ, มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรถนนคนเดิน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรเพื่อป้ องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ (1) ประชาชนทั่วไปและนักท่องเทียว จำนวน 369 คน (2) ผู้ค้าขาย สินค้าและบริการ จำนวน 30 คน และ (3) กลุ่มคณะทำงานมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน จำนวน 21 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา เก็บข้อมูลระหว่าง เมษายน 2565 - มิถุนายน 2565 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ในการป้ องกันการแพร่ระบาด ของโรคโควิด 19 สำหรับองค์กรถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน ได้แก่ รูปแบบ “น่าน + 3 ประสานสัมพันธ์ป้ องกัน โควิด 19 ของกลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยว (2) ผู้ค้าขายสินค้าและบริการ และ (3) องค์กรหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้ 3 มาตรการสำคัญซึ่งเป็นแนวทางในการควบคุมป้ องกันโรคโควิด 19 ได้แก่ (1) มาตรการและพฤติกรรมของการใช้ชีวิตในวิถีใหม่ (2) มาตรการด้านความสะอาด และความปลอดภัย และ (3) มาตรการด้านการระบายอากาศ โดยมี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที 1 ประชาชนทั่วไป/นักท่องเที ่ ยว ประกอบด้วย ่ 8 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสวมหน้ากากอนามัย 2) การเว้นระยะห่าง (3) การเดินช่องทางเดียว (4) การซื้อขาย สินค้าผ่านฉากกั้น (5) การบริการตนเอง (6) การใช้ E-payment (7) การลดการสัมผัสเครื่องใช้ และ (8) การไม่ สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ องค์ประกอบที่ 2 ผู้ค้าขายสินค้าและบริการ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสวมหน้ากากอนามัย (2) การเว้นระยะห่างทางสังคม (3) การปิ ดอาหารหรือสินค้าให้มิดชิด (4) การ ทำความสะอาดแผงจำหน่าย (5) การใช้ E-payment และ (6) การมีสถานที่โล่ง ลดแออัดและหนาแน่น และองค์- ประกอบที่ 3 องค์กรหน่วยงานภาครัฐ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ (1) การกำหนดนโยบายมาตรการ New Normal (2) การสร้างเครือข่าย และ (3) การประเมินติดตาม และควบคุมกำกับ และผลการประเมินความสำเร็จ ของรูปแบบ พบว่า มีระดับของความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นต่อมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กรเพื่อป้ องกัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของจังหวัดน่านอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 87.6 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำ รูปแบบไปใช้ในการควบคุมป้ องกันโรคระบาดที่มีบริบทใกล้เคียงถนนคนเดินกาดข่วงเมืองน่าน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. การระบาดของโควิด 19 ใน ประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 23 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาด ของโควิด 19ในประเทศไทย

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา. การปรับตัวในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่อ เตรียมพร้อมสู่ new normal สำหรับผู้ปฏิบัติงานตำแหน่ง ประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร 2565;13(1):83–104.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อเสนอการยกระดับ มาตรการ กรณีเปิดสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVIDfree setting) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://shorturl.asia/PEY8W

World Health Organization. Coronavirus disease 2019 (COVID-19) situation report – 43 [Internet]. 2020. [cited 2020 Jan 15]. Available from: https://www.who. int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200303- sitrep-43-covid-19.pdf?sfvrsn=2c21c09c_2

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงานสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน. น่าน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด; 2565.

สุฐิต ห่วงสุวรรณ, เขมณัฏฐ์ อำนวยวรชัย, สุกัญญา สมมณี ดวง, สุธาธินี รูปแก้ว. โควิด 19: การป้ องกันและควบคุมการ แพร่ระบาดในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย-อีส เทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 2565;2(12):16–29.

วีระศิษฎ์ แก้วป่ อง, ทัศนาวลัย อุฑารสกุล. ปัจจัยทุนทางสังคม และวัฒนธรรม และทุนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อ กิจกรรมถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอรแก่น 2563;19(3):79–96.

ศูนย์ข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน. รายงาน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน. น่าน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน; 2564.

กรมควบคุมโรค. คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรน กิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19. [อินเทอร์เนต] 2563 [สืบค้นเมื่อ 12 มี.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/ gui_covid19_phase.php

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30(3):607-10.

Guttman L. A basis for scaling qualitative data. American Sociological Review 1944:9(2):139–50.

จิราภรณ์ ชูวงศ์, ดวงใจ สวัสดี, กฤติยา ปองอนุสรณ์, ประไพ เจริญฤทธิ์ . การพัฒนารูปแบบการป้องกันและการควบคุม การแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนจังหวัด ตรัง: การระบาดระลอกที่ 1. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2564;2(27):201–15.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของ ภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอเมืองยาง จังหวัด นครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564;2(3):193–206.

วินัย เดชร่มโพธิ์ ทอง. การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19): กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์การค้นคว้าอิสระปริญญา วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ].พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา; 2563. 90 หน้า.

แพรพันธ์ ภูริบัญชา, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, ปวีณา จังภูเขียว. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในพื้นที่เฉพาะ(bubble and seal) ของสถานประกอบการ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(1):49–62.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้