ปัญหาและความต้องการดูแลทางสุขภาพของผู้สูงอายุ ในประเทศไทย: ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, ปัญหาสุขภาพ, ความต้องการจำเป็นในการดูแลสุขภาพบทคัดย่อ
การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ทำให้ปัญหาและความต้องการทางสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ในปี 2571 ประเทศไทยจะมีผู้อายุเกิน 60 ปี เกือบเท่ากับ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ปัจจุบันมีผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) ร้อยละ 56.5 วัยกลาง (อายุ 70-79 ปี) ร้อยละ 29.9 และวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 13.6 ในจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดแบ่งเป็นกลุ่มติดสังคมร้อยละ 79.5 ติดบ้าน ร้อยละ 19.0 และติดเตียง ร้อยละ 1.5 ภาวะสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุไทยอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาสุขภาพที่พบส่วนมากเป็นการเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรัง ซึ่งต้องการดูแล การจัดบริการด้านสุขภาพของรัฐยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เพื่อสนองตอบความต้องการที่จำเป็นในการดูสุขภาพผู้สูงอายุไทยในอนาคต คือ กำหนดนโยบายจ้างงาน ผู้เกษียณทำงานในโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและส่งเสริมโรงเรียนผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลในครอบครัวเพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้สูงอายุหลังออกจากโรงพยาบาล การจัดหลักสูตรอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสนับสนุนให้ท้องถิ่นจัดตั้งศูนย์พัฒนาและดูแลผู้สูงอายุ และการส่งเสริมเอกชนผลิตบุคลากรดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2017 Journal of Health Science- วารสารวิชาการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.