กรณีศึกษาการบริการวัคซีนแก่ประชากรนอกสถานพยาบาลเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พู่กลิ่น ตรีสุโกศล สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
  • มิ่งขวัญ สุพรรณพงศ์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
  • อรยา กว้างสุขสถิตย์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์
  • นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

บทคัดย่อ

การแพร่ระบาดทั่วโลกของโรคโควิด 19 ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นใน การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน เพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์ ได้รับมอบให้จัดบริการการให้วัคซีนแก่ประชาชนจำนวนมาก (mass vaccination) ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร โดยให้บริการวัคซีนตั้งแต่ 24 พฤษภาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการให้บริการวัคซีน เป็นการศึกษาแบบ retrospective operational research ผลการศึกษาพบว่า มีผู้รับ บริการทั้งหมดจำนวน 6,378,566 ราย ประชาชนสามารถเข้าถึงการรับบริการได้ทุกกลุ่ม เดือนตุลาคม 2564 มีผู้รับ บริการมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยของระยะเวลาการให้บริการเท่ากับ 12.94±14.03 นาทีต่อคน กลุ่มอายุระหว่าง 12-59 ปี และกลุ่มอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่ามีระยะเวลารอคอยเฉลี่ย 12.5±13.8 นาที ต่อคน และ 14.5±14.8 นาทีต่อคน ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกัน 1.97 นาที อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05, CI = -2.14 - -1.79) ภาวะฉุกเฉิน ทางการแพทย์ภายหลังการฉีดวัคซีนมีจำนวนทั้งหมด 63 ราย (ร้อยละ 0.001) หรือ สัดส่วน 0.99 ต่อประชากร 100,000 ราย ผู้รับบริการมีความปลอดภัย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต การบริการวัคซีนแก่ประชากรนอกสถานพยาบาล เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันชุมชน ณ ศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่มีความเหมาะสมในด้าน ประสิทธิผล ศักยภาพ การเข้าถึงบริการ สามารถนำมาพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องของการบริการ

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Kumar B, Asha K, Khanna M, Ronsard L, Meseko CA, Sanicas M. The emerging influenza virus threat: status and new prospects for its therapy and control. Arch Virol 2018;163(4):831–44.

World Health Organization. WHO director-General’s opening remarks at the media briefing on Covid-19 – 11 March2020 [internet]. 2020 [cited 2020 March 11]. Available from: http:// www.who.int/director-general/ speeches/detail/who-director-general-s-opening-remarks-at-the-media-briefing-on-covid-19---11- march-2020

อนุตรา รัตน์นราทร. รายงานผู้ป่ วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): ผู้ป่ วยรายแรกของประเทศไทยและ นอกประเทศจีน. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2):116-23.

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. คำสั่ง นายกรัฐมนตรี ที่ 76/2563 เรื่อง จัดตั้งศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด 19) ลงวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://media. thaigov.go.th/uploads/document/66/2020/03/pdf/ Doc_20200318153452000000.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. อย. อนุมัติวัคซีน โควิด 19 แล้ว 6 ตัว เป็นวัคซีนชนิดเดียวกับที่ WHO ให้การ รับรอง [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ก.พ. 2566]. แหล่ง ข้อมูล: https://oryor.com/media/newsUpdate/media_ news/2087

Destefano F, Offit PA, Fisher A. Vaccine safety Plotkin’s Vaccines [Internet]. 2018 [cited 2022 Dec 7];2018: 1584–600.e10. Available from: https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B97803233576 16000821? via%3Dihub

Daniel L, Stufflebeam DL. The CIPP model for evaluation. In: Kellaghan T, Stufflebeam DL. International Handbook of Educational Evaluation. London: Springer Nature; 2003. p. 31-62.

Australian Institute of Health and Welfare. Australia’s health performance framework [Internet]. 2023 [cited 2023 Feb 10]. Available from: https://www.aihw.gov. au/reports-data/indicators/australias-health-performance-framework

World Health Organization. Monitoring the building blocks of health systems: A handbook of indicators and their measurement strategies. Geneva: World Health Organization; 2010.

ไพโรจน์ เครือกาญจนา, สันต์ หัตถีรัตน์, ปรีชา ศิริทองถาวร, สมชาย กาญจนสุต, ทิพา ชาคร, ณธิดา สุเมธโชติเมธา, และ คณะ. ระบบการดูแลรักษาผู้ป่ วยฉุกเฉิน. นนทบุรี: กรมการแพทย์; 2557.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถานการณ์ให้บริการฉีดวัคซีน โควิด 19 ประจำสัปดาห์ที่ 25 ของปี 2565 วันที่ 20-26 มิถุนายน 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 26 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/9/1656317936171.pdf

Watson OJ, Barnsley G, Toor J, Hogen AB, Winskill P, Ghani Ac. Global impact of the first year of covid-19 vaccination: a mathematical modeling study. Lancet Infect Dis 2022;22(9):1293-302.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. แนวปฏิบัติในการ บริหารจัดการศูนย์ฉีดวัคซีน. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล; 2564.

วิไลลักษณ์ เรืองรัตนตรัย, เกษมศานต์ ชัยศิลป์ , เกษมศานต์ ชัยศิลป์ , โศรดากรณ์ พิมลา, ธิดารัตน์ บุญโชติ, อังคณา สมคิด, และคณะ. ถอดบทเรียนศูนย์วัคซีนกลางบางซื่อ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 27 ก.พ. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://anyflip.com/afmqw/lzxo/

Wichaidit M, Nopsopon T, Sunan K, Phutrakool P, Ruchikachorn P, Wanvarie D, et al. Breakthrough infections, hospital admissions, and mortality after major COVID-19 vaccination profiles: a prospective cohort study. Lancet Reg Health Southeast Asia [Internet]. 2023 [cited 2023 Jan 8];8:100106. Available from: https:// www.thelancet.com/journals/lansea/article/PIIS2772- 3682(22)00122-6/fulltext

Graña C, Ghosn L, Evrenoglou T, Jarde A, Minozzi S, Bergman H, et al. Efficacy and safety of COVID-19 vaccines. Cochrane Database Syst Rev [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec7];12:CD015477. Available from: https://www.cochranelibrary.com/cdsr/ doi/10.1002/14651858.CD015477/full

Washrawirul C, Triwatcharikorn J, Phannajit J, Ullman M, Susantitaphong P, Rerknimitr P. Global prevalence and clinical manifestations of cutaneous adverse reactions following COVID‐19 vaccination: a systematic review and meta‐analysis. J Eur Acad Dermatol Venereol 2022;36(11):1947-68.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ