การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ ในสถานการณ์โควิด 19

ผู้แต่ง

  • อริยา ดีประเสริฐ สาขาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • รังสรรค์ มาระเพ็ญ สาขาการพยาบาลชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, พลังสุขภาพจิต, นักศึกษาระดับปริญญาตรี, โควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพลังสุขภาพจิตและวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพลังสุขภาพจิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในสถานการณ์โควิด 19 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย ในเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 303 คนเก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ผ่าน Google form เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินพลังสุขภาพจิต ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามทั้งฉบับ=0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง ยืนยัน (CFA) ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับพลังสุขภาพจิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ (mean=56.71) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพลังสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านความทนทานทางอารมณ์ ด้านกำลังใจ และด้านการจัดการกับปัญหา ทุกด้านมีน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกค่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ไว้ โดย Chi-Square=115, df=63, p=0.34, SRMR=0.01, RMSEA=0.05, CFI=0.99, AGFI=0.99, TLI=0.99

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

อานุภาพ เลขะกุล. ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ 2564;1(2): 111-25.

เทื้อน ทองแก้ว. การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจาร ย์ 2563;1(2):1-10.

Lischer S, Safi N, Dickson C. Remote learning and students’ mental health during the Covid-19 pandemic: a mixed-method enquiry. Prospects 2022;51(4):589-99.

Irawan AW, Dwisona D, Lestari M. Psychological impacts of students on online learning during the pandemic COVID-19. Konseli Jurnal Bimbingan dan Konseling 2020;7(1):53-60.

นงนุช พลรวมเงิน, นิจวรรณ เกิดเจริญ, ฐานิดา อึ้งรังสีโสภณ. ความสัมพันธ์ระหว่างพลังสุขภาพจิตกับปัญหาสุขภาพจิต ของวัยรุ่นตอนปลายในเขตเมือง. วชิรเวชสารและวารสาร เวชศาสตร์เขตเมือง 2565;66(4):267-76.

อัจฉรา สุขารมณ์. การฟื้ นฟูพลังใจในภาวะวิกฤต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 2559;4(1):209-20.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยปกป้อง และความ แข็งแกร่งในชีวิต. ใน: พัชรินทร์ นินทจันทร์, บรรณาธิการ. ความแข็งแกร่งในชีวิต: แนวคิด การประเมินและการ ประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง; 2558. หน้า 33- 52.

ปฐพร แสงเขียว, ดุจเดือน เขียวเหลือง, สิตานันท์ ศรีใจวงศ์, สืบตระกูล ตันตลานุกูล, ปุณยนุช ชมคำ. ความเข้มแข็งทาง ใจ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์การ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2565;14(1):62-77.

นิจวรรณเกิดเจริญ, วรุณา กลกิจโกวินท์, จอมเฑียร ถาวร. พลังสุขภาพจิต ผลกระทบต่อจิตใจ และปัจจัยจากโรคโควิด 19 ที่มีผลต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาแพทย์ ในช่วงการแพร่ ระบาดของโรคโควิด 19. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์ เขตเมือง 2564;65(เพิ่มเติม):101-16.

ฐิตินันท์ อ้วนล้ำ, ศุภรัตน์ แป้ นโพธิ์ กลาง. พลังสุขภาพจิต และความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2564;37(1):240-51.

Chua JH, Cheng CKT, Cheng LJ, Ang WHD, Lau Y. Global prevalence of resilience in higher education students: A systematic review, meta-analysis and meta-regression. Current Psychology. [Internet]. 2022 [cited 2022 Dec 20]. Available from: https://link.springer. com/article/10.1007/s12144-022-03366-7

Hair JF, Black WC, Babin BJ, Anderson RE. Multivariate data analysis. 7th ed. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall; 2010.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการอบรมเรื่อง การสร้างเสริมความหยุ่นตัวเพื่อรองรับวิกฤตสุขภาพจิตแก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่นำร่อง. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2557.

โสฬวรรณ อินทสิทธิ์ . เปลี่ยนร้ายกลายเป็นดี RQ พลังสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: บียอนด์พับลิสชิ่ง; 2563.

ทัศนา ทวีคูณ, พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน. ปัจจัยทำนายความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2555;22(3):1-11.

พรทิพย์ วชิรดิลก. ปัจจัยทำนายความสามารถในการยืนหยัด เผชิญวิกฤตของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2557; 28(2):17-31.

ระวีนันท์ รื่นพรต. อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลความหยุ่น ตัว การยึดติดความสมบูรณ์แบบที่มีต่อการปรับตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

พัชรินทร์ นินทจันทร์. ความแข็งแกร่งในชีวิต (resilience). ใน: พัชรินทร์ นินทจันทร์, บรรณาธิการ. ความแข็งแกร่งใน ชีวิต: แนวคิด การประเมินและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพมหานคร: จุดทอง; 2558. หน้า 30-2.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ศรีสุดา วนาลีสิน, ลัดดา แสนสีหา, ขวัญพนมพร ธรรมไทย, พิศสมัย อรทัย. ความแข็งแกร่งใน ชีวิต และพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2554;17(3):430-43.

กรรณิการ์ พันทอง. การเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางจิตใจ และกลวิธีการจัดการของวัยรุ่นทีถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์โดยใช้การให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวคิดการปรับความคิดโดยใช้ สติเป็นฐาน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2653.

Grotberg E. A guide to promoting resilience in children: strengthening the human spirit. Early childhood development: practice and reflections, v. 8. The Hague: Bernard Van Leer Foundation; 1995.

Ungar M, Liebenberg L. Assessing resilience across cultures using mixedmethods: construction of the child and youth resilience measure. Journal of Mixed Methods Research 2011;5(2),126-49.

Tindle R, Hemi A, Moustafa A. Social support, psychological flexibility and coping mediate the association between covid-19 related stress exposure and psychological distress. Scientific Reports 2022;12:8688.

Akbar Z, Aisyawati MS. Coping strategy, social support, and psychological distress among university students in Jakata, Indonesia during the COVID 19 pandemic. Frontiers in Psychology 2021;12:1-7.

El-Zoghby SM, Soltan EM, Salama HM. Impact of the COVID-19 pandemic on mental health and social support among adult Egyptians. Journal of Community Health 2020;45:689-95.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ