ความชุกของการใช้ยาหลายขนาน ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • สุทธิพงษ์ รักเล่ง โรงพยาบาลบางแก้ว อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
  • สมเกียรติยศ วรเดช สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

คำสำคัญ:

ยาหลายขนาน, ยาโรคเบาหวาน, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการใช้ยาหลายขนานในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดพัทลุงเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ประชากรคือผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังและชุดข้อมูลตามโครงสร้างมาตรฐาน 43 แฟ้มของโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริม-สุขภาพตำบลภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง จำนวน 20,809 คน สำหรับการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างพิจารณาจากเกณฑ์การคัดออกคือ ไม่มีผลตรวจค่าระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HBAIC) และไม่ได้รับยาโรคเบาหวานชนิดรับประทาน คงเหลือกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 8,322 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1มกราคมถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตัวแปรคือ การใช้ยาหลายขนานในการรักษาโรคเบาหวาน และการใช้ยาหลายขนานในการรักษาทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 55.08 ได้รับยาในการรักษาโรคเบาหวานมากกว่าหรือเท่ากับ 2 ขนาน โดยได้รับยารักษาโรคเบาหวานเฉลี่ยจำนวน 1.6 (SD = 0.58) ขนาน และร้อยละ 56.91 ได้รับยาในการรักษาทั้งหมดมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ขนาน โดยได้รับยาในการรักษาทั้งหมดเฉลี่ยจำนวน 5.35 (SD = 2.64) ขนาน จากผลการศึกษาครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานคลินิกโรคเบาหวานควรวางแผนในการติดตามและเฝ้าระวังปัญหาจากการใช้ยาและผลลัพธ์ทางคลินิกที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาหลายขนานในการรักษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2017-12-28

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้

<< < 1 2