คุณภาพชีวิตของนักศึกษาในช่วงที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • อิทธิพล ดวงจินดา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, คุณภาพชีวิต, นักศึกษา

บทคัดย่อ

การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพ ชีวิตของประชาชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มของนักศึกษาด้านสุขภาพ จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาคุณภาพชีวิตของ นักศึกษาในระดับอุดมศึกษาด้านสุขภาพ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในช่วงที่มี การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี การวิจัยนี้เป็นการ วิจัยแบบภาคตัดขวาง ดำเนินการในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2563 สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 198 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย โลกฉบับย่อ ภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสมการถดถอยพหุโลจิสติก กำหนดช่วงความเชื่อมั่น 95% พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.86 มีอายุเฉลี่ย 20.06 ปี (SD=1.18) ส่วนใหญ่มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ร้อยละ 80.00 โดยพบว่า ปัจจัยด้านจิตใจ (OR=0.62, 95%CI: 0.43 – 0.81) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ทางสังคม (OR=0.28, 95%CI: 0.11 – 0.46) และ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (OR=0.57, 95%CI: 0.37 – 0.77) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาที่ศึกษา ปกติอยู่ในช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโควิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จะเห็นได้ว่า ปัจจัยด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดแนวทางการเฝ้ าระวังการป้ องกันและควบคุมโรค ตลอดจนแนวทาง การฟื้ นฟูคุณภาพชีวิตของนักศึกษาหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากโรคติดต่อทั้งโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่ชัดเจน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization-WHO. Pneumonia of unknown cause - China: disease outbreak news [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 14]. Available from: https:// www.who.int/csr/don/05-january-2020-pneumoniaof-unkown-cause-china/en/

Levkovich I, Shiri SS. Impact of the COVID-19 pandemic on stress and emotional reactions in Israel: a mixed-methods study. International Health 2020;13(4):1–9.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-2019) situation reports. Situation Report -144 [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 14]. Available from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/situation-reports.

Randolph HE, Barreiro LB. Herd immunity: understanding COVID-19. Immunity 2020;52(5):737-41.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48 ง (ลง วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. News report of coronavirus 2019, the news of operation center for coronavirus disease 2019 [Internet]. 2020 [cited 2020 May 15]. Available from: https://ddc.moph. go.th/viralpneumonia/eng/file/news/news_ no39_040363.pdf

สุพิชญา วงศ์วาสนา. ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษาบริษัทบางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS). วารสารรัชต์ภาคย์ 2564;15(39):15-30.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์, เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ลำพึงวอนอก, สุพัฒน์ อาสนะ, วรรณศรี แววงาม, กุลธิดา กิ่งสวัสดิ์ , และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียด ต่อการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID19) ของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์- สุขภาพ 2563;14(2):138–48.

Yingfei Z, Zheng FM. Impact of the COVID-19 pandemic on mental health and quality of life among local residents in Liaoning Province, China: a cross-sectional study. International Journal of Environmental Research and Public Health 2020;17(7):1-12.

Hoang CN, Minh HN, Binh ND, Coung QT, Thao TPN, Khue MP, et.al. People with suspected COVID-19 symptoms were more likely depressed and had lower health-related quality of life: the potential benefit of health literacy. Journal Clinical Medicine 2020;9(4):1-18.

ชนาภา ม่วงศรีงาม, ชนิสรา สิขรีไพศาล, อินทัช สิขรีไพศาล. ผลกระทบของ COVID-19 ต่อคุณภาพการเรียนการสอน และคุณภาพชีวิตของนิสิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา [โครงการวิจัยปริญญาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2563.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 1970;30 (3):607-10.

กรมสุขภาพจิต. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัย โลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI) [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 15 พ.ค. 2563]. แหล่งข้อมูล: https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf

Ma YF, Wen L, Hai BD, Lei W, Ying W, Pei HW, et al. Prevalence of depression and its association with quality of life in clinically stable patient with COVID-19. Journal of Affective Disorders 2020;275(2020):145- 8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้