ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในเครือข่ายสุขภาพ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ สุริยาทัย โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ณัฐกฤตา ไชยสลี โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ชลิดา ธนะขว้าง โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ศิริลักษณ์ พันธุ์แก้ว โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ภภัสสร รัชตโสตถิ์ โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน
  • ปิยวัฒน์ รัตนพันธ์ โรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

การดูแลแบบประคับประคอง, ผู้ป่วยระยะท้าย, เครือข่ายสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์การดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคองของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายน 2561 ถึงตุลาคม 2562 แบ่งการดำเนินการ เป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) ระยะวิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์ ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพผู้ที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบแนวคิด การดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคองขององค์การอนามัยโลก และการประเมินคุณภาพการดูแลของ Donabedian (2) ระยะ ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยขั้นตอนย่อย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติการ ขั้นสังเกตการณ์และขั้นการสะท้อน (3) ระยะรวบรวมข้อมูลและประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้ป่ วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น ผู้ป่ วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองได้แก่ โรคมะเร็งระยะท้าย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังระยะท้าย โรคไตวายเรื้อรัง ระยะท้าย และกลุ่มผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยผู้ป่ วยระยะท้ายจากโรงพยาบาลอื่นที่เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลท่าวังผา จำนวน 32 คน และผู้ดูแลหลัก จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ (1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล (2) รูปแบบ การดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคองของเครือข่ายสุขภาพอำเภอท่าวังผา (3) แบบประเมินระดับผู้ป่ วยทีได้รับการดูแล ่ แบบประคับประคอง ฉบับสวนดอก (4) แบบประเมินอาการรบกวน (5) แบบประเมินความพึงพอใจของครอบครัว ต่อการดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคอง (6) แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง สำหรับผู้ดูแลผู้ป่ วย และ (7) แบบประเมินการเสียชีวิตอย่างสงบและสง่างามหรือการตายดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการเปรียบเทียบ ผลลัพธ์ก่อนและหลังการดูแล ด้วยสถิติ Wilcoxon matched pairs signed rank ผลการศึกษาพบว่าผลลัพธ์หลังการ ดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคองดีขึ้นกว่าก่อนการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ความพึงพอใจโดยรวม ร้อยละ 90.85 แบ่งเป็นความพึงพอใจ 4 ด้านได้แก่ ด้านการจัดการอาการทางร่างกายและความสุขสบายร้อยละ 90.66 ด้านการดูแลผู้ป่ วยและการให้ข้อมูลร้อยละ 91.34 ด้านจัดการอาการรบกวนและอาการข้างเคียงต่างๆ ร้อยละ 93.76 และด้านการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ป่ วยและครอบครัว ร้อยละ 87.92 โดยสรุปการพัฒนาและประเมินรูปแบบ การดูแลแบบประคับประคองของเครือข่ายชุมชนสุขภาพทำให้ผู้ป่ วยได้รับผลเชิงบวกเพิ่มขึ้น และมีประโยชน์ต่อ การรองรับผู้ป่ วยระยะสุดท้ายและครอบครัว ดังนั้น ควรกำหนดระบบนี้ให้เป็นนโยบายการดูแลแบบประคับประคองใน โรงพยาบาลชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ช่อทิพย์ พรหมมารัตน์. ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแล แบบประคับประคองที่บ้านเครือข่ายสุขภาพอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. สาธารณสุขล้านนา 2560;13(1):25-36.

กิตติธร นิลมานัต. การดูแลระยะท้ายของชีวิต.สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์ 2555.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2557.

วาสนา สวัสดีนฤนาท, อมรพันธุ์ ธานีรัตน์, และธารทิพย์ วิเศษธาร.พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายแบบ ประคับประคอง โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558; 25(1):144- 156.

Donabedian A. An introduction to quality assurance in health care. New York: Oxford University Press; 2003.

World Health Organization. Palliative care [Internet] 2018. [cited 2019 Jun 10] Avialable:from https://www. who.int/news-room/ fact-sheets/detail/palliative-care

Bruera E , Kuehn N, Miller MJ, Selmser P, Macmillan K. The Edmonton Symptom Assessment System (ESAS): a simple method for the assessment of palliative care patients. J Palliat Care 1991;7(2):6-9.

บุษยามาส ชีวสกุลยง, และลดารัตน์ สาภินันท์. แบบประเมิน ระดับผู้ป่ วยที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองวัยผู้ใหญ่ ฉบับสวนดอก. ใน: บุษยามาส ชีวสกุลยง, บรรณาธิการ. การ ดูแลผู้ป่ วยแบบประคับประคอง: palliative care. พิมพ์ครั้ง ที่ 2. เชียงใหม่. การเวียงการพิมพ์; 2557. หน้า 34-46.

ลดารัตน์ สาภินันท์. แบบประเมินความพึงพอใจของ ครอบครัวต่อการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2559.

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแล ผู้ป่วยแบบประคับประคอง (the palliative care outcome scale: POS). คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

ไพรินทร์ สมบัติ. แบบประเมินการเสียชีวิตอย่างสงบและสง่า งามหรือการตายดี (dead with dignity/good death). น่าน: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว; 2556.

นพพร ธนามี, สมพร รอดจินดา, วรวรรณ ชำนาญช่าง. ผลลัพธ์การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง. พุทธชินราชเวชสาร 2557;31(2):183-92.

ภัควีร์ นาคะวิโร. ผลลัพธ์การดูแลของผู้ป่วยมะเร็งแบบ ประคับประคองในโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้ องกันแห่งประเทศไทย 2560;7(1):11- 23.

Bruckhardt CS. The impact of arthritis on quality of life. Nur Res 1985;34(1):11-6.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ