การเปรียบเทียบระหว่างการนวดแบบราชสำนักร่วมกับการบริหารร่างกายแบบมณีเวชและการนวดแบบราชสำนัก ในผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยโรคข้อไหล่ติด, การนวดรักษาแบบราชสำนัก, การบริหารร่างกายแบบมณีเวชบทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการศึกษาใช้การบริหารร่างกายแบบมณีเวชมาช่วยในการรักษาโรคบางอย่าง เช่น ออฟฟิ สซินโดรม ข้อไหล่ติด เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ (quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับการบริหาร ร่างกายแบบมณีเวช และการนวดรักษาแบบราชสำนัก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่ วยโรคข้อไหล่ติด รับการรักษาที่ โรงพยาบาลดอนตูม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นสองกลุ่มเท่าๆ กัน มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันทั้งเพศ อายุ และระดับการ ปวดกล้ามเนื้อบ่า ดังนี้ กลุ่มควบคุม 30 คน ได้รับการนวดแบบราชสำนักอย่างเดียว และกลุ่มทดลอง 30 คน ได้รับ การนวดแบบราชสำนักร่วมกับการบริหารร่างกายแบบมณีเวช ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการรักษาทั้งหมด 6 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ Goniometer ใช้วัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เครื่องมือที่ใช้เก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกระดับอาการปวด และองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา (ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (paired sample t- test และ independent t-test) ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษาของทั้งสองกลุ่ม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า กลุ่มทดลองมีระดับอาการ ปวดลดลง และระดับองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่เพิ่มขึ้น มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการ วิจัยนี้สรุปว่า การนวดแบบราชสำนักร่วมกับการบริหารแบบมณีเวช สามารถลดระดับอาการปวด และเพิ่มระดับ องศาการเคลื่อนไหวของข้อ ได้มากกว่าการนวดแบบราชสำนักเพียงอย่างเดียว
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Le HV, Lee SJ, Nazarian A, Rodriguez EK. Adhesive capsulitis of the shoulder: review of pathophysiology and current clinical treatments. Shoulder Elbow 2017;9(2): 75-84.
กนกพร ก่อวัฒนมงคล. การศึกษาความชุกและปัจจัยที่ เกี่ยวข้องของโรคข้อไหล่ติดในผู้ป่ วยศูนย์เวชปฏิบัติ ครอบครัว โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2562;9(1):59–72.
นพวรรณ บัวตูม มนัสนันท์ เริงสันเทียะ สิริพร จารุกิตติ์ สกุล และกชกร สุขจันทร์ การนวดไทยรักษาอาการปวดหลังส่วน ล่าง : การศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2561;21(1):21-9.
Runchida Phimarn. Physical therapy for frozen shoulder. Chula Med Bull 2019;1(4):425–38
ประสิทธิ์ มณีจิระประการ. การจัดกระดูกแบบโบราณของ ไทย-จีน-อินเดีย. นนทบุรี: กรมการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข; 2547.
นภดล นิงสานนท์. มณีเวชเพื่อชีวิตง่ายๆ สบายๆ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2554;3(5):1-13
วิทวัส สิทธิวัชรพงศ์ และวิจิตร บญยะโหตระ. ประสิทธิผล ของการบริหารร่างกายแบบมณีเวชเพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ. [วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ]. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้ าหลวง; 2558.
วีระยุทธ แก้วโมกข์. ผลการทำกายบริหารมณีเวชต่อการ ทรงตัว ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของผู้สูงอายุ โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. บูรพาเวชสาร 2560; 4(1):31–9.
สุวภัทร บุญเรือน. ผลการนวดรักษาแบบราชสำนักร่วมกับ การออกกำลังกายด้วย ท่ากายบริหารมณีเวชของผู้ป่วยโรค Office Syndrome โรงพยาบาลดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2564 ;1 (1):91-104.
ธีรยุทธ ส่งคืน, พงศกร ต้นวงษ์, สิรินาถ อินทร์แช่มชื่น, ธานินทร์ สุธีประเสริฐ, สุวรรณี เนตรศรีทอง. ประสิทธิผล การใช้ท่าบริหารร่างกายมณีเวชของผู้ที่มีภาวะข้อไหล่ติดใน โรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลทับเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัด สุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566;32(2):262- 73.
คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล. แบบประเมิน ความเจ็บปวด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2549.
พงกร ศรีสวัสดิ์ . ผลการนวดแผนไทยสายราชสำนักร่วมกับ การประคบสมุนไพรและการบริหารหน้าด้วยท่าฤาษีดัดตน 7 ท่าต่อระดับอาการปวดศีรษะไมเกรน ในผู้มารับบริการ คลินิกแพทย์แผนไทย กองการแพทย์เทศบาลภูเก็ต [ปริญญา วิทยานิพนธ์แพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาการแพทย์แผน ไทย]. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน วิทยาเขต สกลนคร; 2557.
โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล, คณิสร แก้วแดง, วิภารัตน์ ภิบาลวงษ์. การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการนวดเพื่อผ่อนคลายแบบ นวดโดยใช้น้ำมันไพลกับนวดแบบดั้งเดิมในผู้ที่มีปัญหาปวด ไหล่และคอ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2558;27(1):51-60.
กันจณา สุทาคำ, มุกดา หนุ่ยศรี, วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วย การบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2562;27(2):70-9.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.