การวิจัยเชิงปฏิบัติการการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านหนองนายขุ้ย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ศิริพร วัฒนพฤกษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห จังหวัดสงขลา
  • ผจงศิลป์ เพิงมาก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จังหวัดสงขลา
  • สายสมร สโมทานทวี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห จังหวัดสงขลา
  • รัตน์นริศ สุวรรณรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
  • ศุภโชค ยอดแก้ว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

บทคัดย่อ

ปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชนบ้านหนองนายขุ้ย ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีอัตราป่ วยสูงถึง 673.19 ต่อประชากรแสนคน และพบว่ามีการระบาดแพร่กระจายเข้าสู่โรงเรียนบ้านหนองนายขุ้ย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินการ และคิดค้นนวัตกรรมในการป้ องกันและควบคุมการระบาด ของโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน วิธีการศึกษาทำโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการมี ส่วนร่วม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ บุคลากรโรงเรียน นักเรียน/ผู้ปกครอง แกน นำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และบุคลากรทางสุขภาพ ร่วมกับการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการประเมิน สภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงในโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า จากการตรวจสอบเชิงคุณภาพแสดงให้เห็นว่านวัตกรรม “ขันน้อยคอยลูกน้ำ” (สร้างขึ้นโดยนักการภารโรง และนำไปใช้โดยสารวัตรนักเรียนปราบลูกน้ำยุงลาย) ได้ผลดีในการ กำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน นอกจากนี้ การใช้แบบฟอร์มสำรวจลูกน้ำยุงลาย (ที่ปรับปรุงเพิ่มเติม) การวิเคราะห์ และแปลผลดัชนีลูกน้ำยุงลาย ร่วมกับการนำ Google Map Application ไปใช้ พบว่า สามารถช่วยควบคุมการระบาด ได้รวดเร็วขึ้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความพึงพอใจ และยินดีจะนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุมและป้ องกันโรค ไข้เลือดออกในครั้งต่อๆ ไป สรุปผลการศึกษา การมีส่วนร่วมมือกันของทุกฝ่ายทำให้การควบคุมและป้ องกันโรคไข้- เลือดออกประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี (CI=0) จึงควรนำเอาแนวทางและนวัตกรรมเหล่านี้ไปใช้ เพื่อสนับสนุนการ ทำงานตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

สำนักระบาดวิทยา. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. คู่มือวิชาการ โรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเองกีด้านการแพทย์และ สาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอหาดใหญ่. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปวันที่ 7 สิงหาคม 2563. สงขลา: โรงพยาบาลหาดใหญ่; 2563.

ข้อมูลระบาดวิทยา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห. โปรแกรม 506 วิเคราะห์ข้อมูลโรคไข้เลือดออก ตำบลคลองแห ปี 2562-2563. สงขลา: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองแห; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่. โครงการผนึกพลัง เยาวชนต้านภัยไข้เลือดออกเครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาล หาดใหญ่ ปี 2562. สงขลา: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หาดใหญ่; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำหรับเจ้าหน้าที่ สาธารณสุข พ.ศ.2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

เอ็มวิชั่น. วิวัฒนาการของ Google Maps กับการพัฒนาฟีเจอร์ ใหม่ๆ ในช่วงเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ปี 2563 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 2 มิ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www. whatphone.net/news/google-maps-15 years/

ถนอม นามวงศ์, สุกัญญา คำพัฒน์, สมพร จันทร์แก้ว, แมน แสงภักดิ์, จรรยา ดวงแก้ว. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและระบบติดตามการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1 โดยใช้ Applications จาก Google Drive พื้นทีจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(3):402-10.

พุทธจักร ช่วยราย, อาจินต์ สงทับ. การประยุกต์ใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ในงานสาธารณสุข. วารสารเครือข่าย วิทยลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(3):229-36.

วีรภัทร อรรถมานะ, เหว่ย-เจ๋อ หวัง, เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. การยอมรับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์ต่อการเลือกใช้ แอพพลิเคชั่น Google Maps. สังคมพหุวัฒนธรรมภายใต้ กระแส การเปลี่ยนผ่านสู่ยุค Thailand 4.0; 18 มกราคม 2561. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย; 2561.

ศิริพร วัฒนพฤกษ์, ผจงศิลป์ เพิงมาก, สายสมร สโมทานทวี, รัตน์นริศ สุวรรณรัตน์, ศุภโชค ยอดแก้ว. การใช้ Google Maps Khlonghae อย่างมีส่วนร่วม เพื่อควบคุมโรคไข้เลือดออก กรณีศึกษา: ชุมชนบ้านหนองนายขุ้ย ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. บทคัดย่อผลงาน วิชาการมหกรรมการจัดการความรู้จากบทเรียนโควิด 19 และโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2565 “การพัฒนาระบบสุขภาพที่ยั่งยืน หลังวิกฤตการณ์โค วิด 19”; 14-16 กันยายน 2565; มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์, สงขลา. นนทบุรี: สำนักวิชาการสาธารณสุข 2565. หน้า 234.

Wattanapurk S, Perngmark P, Smotantawee S, Suwanrat R, Yodkaew S. Google Maps application in controlling dengue hemorrhagic fever with community health volunteers at Khlonghae Sub-District, Hat Yai City, Songkhla Province: participatory action research. International Conference: “Enhancing Continuity of Care Through the Science and Art in Nursing and Midwifery”. October 7-8, 2022; Prince of Songkla University. Songkhla: Prince of Songkla University; 2022.

Wattanapurk S, Perngmark P, Smotantawee S, Suwanrat R, Yodkaew S. Utilizing epidemic management and participation concept in dengue hemorrhagic fever control and prevention: action research study. International Conference: “Collaborative Reflections on Language, Culture, and Society for a Sustainable Future”. May 18-19, 2023; Prince of Songkla University, Songkhla. Songkhla: Prince of Songkla University; 2023.

ศิริพร วัฒนพฤกษ์, ผจงศิลป์ เพิงมาก, รัตน์นริศ สุวรรณรัตน์, ศุภโชค ยอดแก้ว. การใช้ Google Maps เพื่อควบคุม โรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองนายขุ้ย ตำบลคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารควบคุมโรค 2566;49(3):519-29.

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล: ระเบียบวิธีวิจัยและกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์; 2555.

Efron SE, Ravid R. Action research in education: a practical guide. New York: Division of Guilford Publications; 2013.

กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือแนวทางการดำเนินงาน เรื่อง โรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2563. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. คู่มืออาสา ปราบยุง (โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้- ปวดข้อยุงลาย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

จันทร์จุรีย์ ถือทอง, ธิดารัตน์ เอกศิรินิมิตร. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐานกรณี 5 โรงเรียนนำร่อง จังหวัดนครศรี- ธรรมราช. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที 7 ขอนแก่น 2562;26(2):48-59.

ศิริลักษณ์ มณีประเสริฐ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและ ควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560; 26(2):309-19.

Roger RW. A protection motivation of fear appeal and attitude change. J Psychol 1975;91:93-114.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง