ปัจจัยเพศต่อโอกาสการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 ในโรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • นำพล แดนพิพัฒน์ โรงพยาบาลสมุทรปราการ

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา 2019, เสียชีวิตจากโควิด-19, ปัจจัยด้านเพศ, โรคประจำตัว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้ป่ วยติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ที่เสียชีวิตที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ ตั้งแต่ เริ่มมีการระบาดระลอกแรกถึงการระบาดระลอกที่ห้า เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เสียชีวิตของกระทรวงสาธารณสุข ทะเบียนประวัติการรักษาของผู้ป่ วย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือน มกราคม 2563 ถึงกันยายน 2565 การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และนำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย ค่า adjusted Odd’s ratio และค่าช่วงเชื่อมั่นที่ 95% confidence interval ผลการศึกษาพบผู้ป่ วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เสียชีวิต 689 ราย สัดส่วนเพศชายมากกว่า 1.2 เท่าของเพศหญิง อายุเฉลี่ย 72.5 ปี (9 เดือนถึง 105 ปี) ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวร่วม โดยพบ 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไตวายเรื้อรังระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 70.0, 44.9 และ 25.0 ตามลำดับ ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งได้รับการรักษาโดยใช้ออกซิเจนระดับสูง (HFNC) ส่วนสาเหตุการเสียชีวิตพบเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ถึงร้อยละ 90 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบค่า NLR มากกว่าหรือเท่ากับ 3.13 แสดงถึงความรุนแรงของโรคพบร้อยละ 62.8 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ การเสียชีวิตกับเพศของผู้ป่ วย พบว่า เพศชายที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตวายเรื้อรังตั้งแต่ ระยะ 3 ขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง โรคปอดเรื้อรัง โรคตับ โรคมะเร็ง และในเพศหญิงที่มีดัชนีมวลกาย ³30 กิโลกรัมต่อตาราเมตร และเป็นผู้ป่ วยติดเตียง มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

กรมควบคุมโรค. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID19) สถานการณ์ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อเมื่อ 1 ต.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ddc. moph.go.th/viralpneumonia/

Bai Y, Yao L, Wei T, Tian F, Jin DY, Chen L, et al. Psesumed Asymptomatic Carrier Transmission of COVID-19 . JAMA 2020;323(14):1406-7.

Lai CC, Liu YH, Wang CY, Wang YH, Hsueh SC, Yen MY, et al. Asymptomatic carrier state, acute respiratory disease, and pneumonia due to severe acute respiratory syndrome coronavirus 2 (SARS-CoV-2): Facts and myths. J Microbiol Immunol Infect 2020;53(3):404- 12.

Wu F, Zhao S, Yu B, Chen YM, Wang W, Song ZG, et al. A new coronavirus associated with human respiratory disease in China, Nature 2020;579(7798):265-9.

Eaaswarkhanth M, Al Madhoun A, Al-Mulla F. Could the D614G substitution in the SARS-CoV-2 spike (S) protein be associated with higher COVID-19 mortality?. Int J Infect Dis 2020;96:459-70.

Wang D, Hu B, Hu C, Zhu F, Liu X, Zhang J, et al. Clinical characteristics of 138 hospitalized patients with 2019 novel coronavirus-infected pneumonia in Wuhan, China. JAMA 2020;323(11):1061-9.

Alahmad B, Al-Shammari AA, Bennakhi A, Al-Mulla F, Ali H. Fasting blood glucose and COVID-19 severity: nonlinearity matters. Diabetes Care 2020; 43(12):3113-16.

Forget P, Khalifa C, Defour JP, Latinne D, Van Pel MC, De Kock M. What is the normal value of the neutrophil-to-lymphocyte ratio? BMC Res Notes 2017;10(1): 12.

Areerattanavet K, Keawkangsadan V, Asanprakit W, Satthaporn S, Vassanasiri W. Evaluation of pre-treatment neutrophil to lymphocyte ratio (NLR) in prediction of disease free survival (DFS) in patients with operable breast cancers. Royal Thai Army Medical Journal 2017;70(3):119-26.

Thaenkaew S, Wongkham S. Application of using blood neutrophil to lymphocyte ratio for prognosis. Srinagrarind Med J 2016;31(5)332-38.

Ethier JL, Desaultels D, Templeton A, Shah Ps, Amir E. Prognostic role of neutrophil-to-lymphocyte ratio in breast cancer: a systematic review and meta-analysis. Breast Cancer Research 2017;19(2):2.

Liu J, Liu Y, Xiang P, Pu L, Xiong H, Li C, et al. Neutrophil-to-lymphocyte ratio predicts critical illness patients with 2019 coronavirus disease in the early stage. J Transl Med 2020;18:206-17.

Al-Mazedi MY, Rajan R, Al-Jarallah M, Dashti R, Al-Saber A, Pan J, et al. Neutrophil-to-lymphocyteratio and in-hospital mortality among patients with SARS-CoV-2: a retrospective study. Annals of Medicine and Surgery 2022; 82:104748.

Prozan L, Shusterman E, Ablin J, Mitelpunkt A, Weiss-Meilik A, Adler A, et al. Prognostic value of neutrophil-to-lymphocyte ratio in COVID-19 compared with Influenza and respiratory syncytial virus infection. Nature 2021;11:927-34.

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลดำเนินงานตัวชี้วัดปี 2565 ลำดับที่ 27 อัตราป่ วยตายของผู้ป่ วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทั้งประเทศ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 1 มี.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http://healthkpi. moph.go.th/kpi2/kpi/index/?id=1915&k-pi_year

Martins-Filho PR, Souza Araújo AA, Pereira LX, Quintans-Júnior LJ, Souza Barboza W, Cavalcante TF, et al. Factors associated with mortality among hospitalized patients with COVID-19: a retrospective cohort study. Am J Trop Med Hyg 2021;104(1):103-5.

Pan F, Yang L, Li Y, Liang B, Li L, Ye T, et al . Factors associated with death outcome in patients with severe coronavirus disease-19 (COVID-19): a case-control study. Int J Med Sci 2020;17:1281-92.

da Costa Sousa V, da Silva MC, de Mello MP, Guimarães JAM, Perini JA. Factors associated with mortality, length of hospital stay and diagnosis of COVID-19: data from a field hospital. Journal of Infection and Public Health 2022;15(7):800-5.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-02-28

วิธีการอ้างอิง