การศึกษาการใช้บริการสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุไทย
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, บริการสุขภาพช่องปาก, สิทธิสวัสดิการบทคัดย่อ
ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุไทย จากการสำรวจสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2560 พบว่า กลุ่มประชากรทีมีอายุ 60-70 ปี มีฟันถาวรใช้งานได้อย่างน้อย 20 ซี่ ร้อยละ 56.1 มีฟันถาวรใช้งาน 20 ซี่ และมีฟันหลัง 4 คู่สบร้อยละ 39.4 มีปัญหาการสูญเสียฟันทั้งปากร้อยละ 8.7 มีความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมบางส่วน ร้อยละ 42.6 ความจำเป็นในการใส่ฟันเทียมทั้งปาก ร้อยละ 2.7 ผู้สูงอายุทีมีฟันผุที ่ ่ยังไม่ได้รับการรักษาร้อยละ 52.6 และมีรากฟัน ผุร้อยละ 16.5 จากผลการสำรวจระดับประเทศที่ผ่านมานั้น พบว่าการได้รับบริการสุขภาพช่องปากของประชาชนยัง คงมีสัดส่วนที่ต่ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้บริการสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2562 กับ พ.ศ. 2564 และศึกษาความสัมพันธ์ของข้อมูลการใช้บริการสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ทำให้ทราบประเด็น ปัญหาอุปสรรคเพื่อนำไปเป็นข้อเสนอแนะ และข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพช่องปากใน ผู้สูงอายุของประเทศต่อไป ผลการศึกษา พบว่า จำนวนครั้งของการไปรับบริการทันตกรรมในรอบ 12 เดือนของปี พ.ศ. 2562 และปี 2564 มีจำนวนค่อนข้างน้อยในทุกช่วงอายุและพบว่าช่วงอายุ 60-64 ปี มีจำนวนครั้งการไปรับ บริการทันตกรรมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 39.7 และ 38.8 ตามลำดับ การเข้ารับบริการทางทันตกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุยังมีอัตราในการเข้ารับบริการในรอบ 1 ปี ค่อนข้างน้อย สำหรับการใช้บริการทันตกรรม ผลการศึกษาพบว่า ในปี พ.ศ. 2562 และ 2564 รายการการใช้บริการทันตกรรมมากที่สุด คือ การถอนฟัน ร้อยละ 47.23, 41.2 ตามลำดับ และเหตุผลของการไม่ใช้สิทธิสวัสดิการที่มีในการใช้บริการ ผลการศึกษา พบว่า ในปี พ.ศ. 2562 และ 2564 เหตุผล การไม่ใช้สิทธิสวัสดิการมากที่สุด คือ ช้า รอนานมากที่สุด ร้อยละ 59.9 และ 61.6 ตามลำดับ จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีโรคในช่องปากที่อยู่ในระยะลุกลาม และเป็นรุนแรง การป้ องกันไม่ให้มีโรคในช่องปากที่รุนแรง จำเป็น ต้องมีการทบทวนมาตรการด้านการสาธารณสุขและดำเนินการต่อเนื่อง ตั้งแต่ในกลุ่มวัยทำงานอย่างเข้มงวด การพัฒนา รูปแบบการบริการด้านทันตกรรมสำหรับผู้สูงอายุในโรงพยาบาลระดับต่างๆ ของภาครัฐในรูปแบบเครือข่ายจะต้อง ให้ความสำคัญต่อการให้บริการตามบทบาทของสถานบริการแต่ละระดับ ด้วยข้อจำกัดของระบบการให้บริการภาครัฐ ที่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทันตบุคลากรในพื้นที่ต้องเร่งหามาตรการ ที่จะช่วยปรับแนวคิด ทัศนคติ สร้างความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองให้กับประชาชน และนำเสนอ เพื่อเป็นประเด็นเชิงนโยบายในการหาแนวทางเพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ทางทันตกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเน้นให้ ประชาชนเห็นประโยชน์ของการป้ องกันมากกว่าการรักษา
Downloads
เอกสารอ้างอิง
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ); 2561.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ประชากรและสังคมผู้สูงอายุ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้น เมื่อ 2 เมษายน 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.ipsr. mahidol.ac.th/ipsr/Contents/Documents/ Gazette2021TH.pdf
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการจัดบริการ ดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ สาหรับทันตบุคลากร. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ); 2564.
ประเสริฐ อัสสันตชัย. แนวทางการดูแลรักษากลุ่มอาการ สูงอายุ. กรุงเทพมหานคร: อิสออกัส; 2558.
Yuki E. Oral Health Department, Ministry of Health, Labour and Welfare Japan [Internet]. [cited 2023 Dec 2]. Available from: https://www5.dent.niigata-u.ac. jp/~prevent/english/pr210401.html
สุปราณี ดาโลดม, วรวุฒิ กุลแก้ว. แผนงานทันตสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.
ปิยะภัทร เดชพระธรรม. ปัญหาการกลืนในผู้สูงอายุ (dysphagia in elderly). J Thai Rehabil Med 2013;23(3): 73-80.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจ สภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพฯ); 2561
Benzian H, Beltrán-Aguilar E, Mathur MR, Niederman R. Pandemic considerations on essential oral health care. Journal of Dental Research 2021;100(3):221–25.
กฤษณะ พลอยบุษย์. แนวทางการรักษาของทันตแพทยสภา ในช่วงโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaipbs.or.th/program/ThaiFightCovid19/watch/ueK4P2
กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19. ประกาศ กรมการแพทย์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 เม.ย. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www.facebook.com/thaidentalcouncil/posts/2795171623898793/
Kadaluru UG, Kempraj VM, Muddaiah P. Utilization of oral health care services among adults attending community outreach Programs. Indian J Dent Res [Internet]. 2012 [cited 2023 Dec 2];23(6):841-2. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23649084/
Choufani A, Folliguet M, El-Osta N, Rammal S, Doumit M. Oral health status and care of institutionalized elderly individuals in Lebanon. Indian J Dent Res [Internet]. 2020 [cited 2023 Dec 2];31(4):507-14. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 33107448/
Yoon MN, Ickert C, Slaughter SE, Lengyel C, Carrier N, Keller H. Oral health status of long-term care residents in Canada: Results of a national cross-sectional study. Gerodontology [Internet]. 2018 [cited 2023 Dec 2];35(4):359-64. Available from: https://pubmed. ncbi.nlm.nih.gov/29993140/
Molete MP, Yengopal V, Moorman J. Oral health needs and barriers to accessing care among the elderly in Johannesburg. SADJ [Internet]. 2014 [cited 2023 Dec 2];69(8):352,354-7. Available from: https://pubmed. ncbi.nlm.nih.gov/26548224/
Brian Z, Weintraub JA. Oral health and COVID-19: increasing the need for prevention and access. Prev Chronic Dis [Internet]. 2020 [cited 2023 Dec 2];17: E82. Available from: https://pubmed.ncbi.nlm.nih. gov/32790606/
Olayan AA, Baseer MA, Ingle NA. Impact of the COVID-19 pandemic on the dental preferences of patients at private university hospitals in Riyadh, Saudi Arabia. Cureus [Internet]. 2023 [cited 2023 Dec 2];15(5):e39435. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 37362498/
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. แนะ ผู้สูงอายุ ดูแลสุขภาพช่องปาก ช่วงโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 7 ธ.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://www. thaihealth.or.th/แนะผู้สูงอายุ-ดูแลสุขภา/
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2563
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส; 2564
อุดมพร ทรัพย์บวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการ ทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี. วารสาร แพทย์ เขต 4-5 2561;37(4):306-17.
ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล, อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, อัญชลี เนาวรัตน์โสภณ, ประพนธ์ พิพัทธสัจก์, แพรวไพลิน สมพีร์วงศ์, วีรนันท์ วิชาไทย. การพัฒนารูปแบบการบริการทันตกรรมผู้สูงอายุที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย: ตัวอย่างเครือข่าย โรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารกรมการแพทย์ 2562;44(5):139-44
ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์, วริศรา พานิชเกรียงไกร, วุฒิพันธุ์ วงษ์มงคล. ความเป็นธรรมในการได้รับบริการสุขภาพช่องปาก ของประชากรไทย: การวิเคราะห์ผลการสำรวจอนามัยและ สวัสดิการ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2562; 13(3):271-83
Griffin SO, Jones JA, Brunson D, Griffin PM, Bailey WD. Burden of oral disease among older adults and implications for public health priorities. Am J Public Health 2012;102(3):411-8.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 กระทรวงสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.