ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรของมารดาวัยรุ่นในตำบลมิตรภาพ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ลุนณี เทียงดาห์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตาหลุง อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ประสบการณ์การตั้งครรภ์, การเลี้ยงดูบุตร, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตร ของมารดาวัยรุ่น ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 – มีนาคม 2561 ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นมารดาวัยรุ่นใน พื้นที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 8 ราย ในตำบลมิตรภาพ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม การดำเนินการวิจัย ใช้ ประเด็นคำถามเชิงลึกร่วมกับการสังเกตผู้สัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เนื้อหาตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบมารดาวัยรุ่นอายุอยู่ระหว่าง 14–19 ปี ทุกคนกำลังศึกษาอยู่ในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาเป็นกลุ่มเพื่อนที่ศึกษาในสถานศึกษาและอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยอยู่กับบิดา มารดา ก่อนการตั้งครรภ์ทุกคนมีความรู้เรื่องวิธีและช่องทางในการป้ องกันการตั้งครรภ์แต่ขาดความตระหนักยั้งคิด และไม่ได้ป้ องกันการตั้งครรภ์ อยากใช้ชีวิตสนุกสนานตามประสาวัยรุ่นตามกลุ่มเพื่อน อีกทั้งมีมุมมองว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรเป็นเรื่องปกติในสมัยปัจจุบัน เมื่อตั้งครรภ์ความรู้สึกแรกคือ กลัวบิดามารดาและครอบครัว เสียใจผิดหวังในตนเอง รู้สึกผิดกลัวการถูกลงโทษ และกลัวการไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัวมากที่สุด ส่งผล ทำให้เกิดความเครียด สับสน คิดจะทำแท้งเพื่อยุติปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่เลือกที่จะปรึกษาเพื่อนกลุ่มเดียวกันเพื่อ หาทางออกของปัญหาร่วมกันว่าจะทำแท้ง หรือดำเนินการตั้งครรภ์ต่อ แต่เนื่องจากกลัวทำบาป กลัวได้รับอันตราย จากการทำแท้งและได้คำแนะนำจากเพื่อนจึงตัดสินใจไม่ทำแท้ง หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดยอมรับว่าครอบครัวมีอิทธิพล มากที่สุดต่อการตัดสินใจที่จะยุติปัญหาว่าจะเลือกทางออกโดยการทำแท้งหรือเข้ารับฝากครรภ์ การได้รับการยอมรับ ความรัก กำลังใจและการให้อภัยจากครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดที่มารดาวัยรุ่นต้องการ เพื่อต่อสู้เผชิญกับปัญหา ที่เกิดขึ้น ลดความกลัว ความเครียด เกิดความอบอุ่นส่งผลให้เข้ารับการฝากครรภ์คุณภาพ ลดปัญหาและภาวะ แทรกซ้อนต่อมารดาและทารกในขณะตั้งครรภ์ ทำให้เกิดกำลังใจและแรงฮึดสู้ในวิกฤติของชีวิต รวมถึงมีความมั่นใจ ทีจะต่อสู้กับปัญหาที ่ ถาโถมเข้ามา กำลังใจและคำแนะนำจากเพื่อน เจ้าหน้าทีสาธารณสุขในการปฏิบัติตัวในขณะตั้งครรภ์ ่ การเตรียมตัวคลอด กระบวนการคลอด การเลี้ยงดูบุตรซึ่งเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ทำให้วัยรุ่นตั้งครรภ์เกิดความกลัว วิตกกังวล กลัวความเจ็บป่ วย กลัวภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดกับตนเองและบุตร เพราะวัยรุ่นมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงบุตร ให้เติบโตแข็งแรงมีคุณภาพมีพัฒนาการทีสมวัย เมื่อตั้งครรภ์ทั้งหมดต้องหยุดเรียน ส่วนใหญ่อยากกลับไปศึกษาต่อเพราะ ่ อยากมีอาชีพที่มั่นคงเพื่อเลี้ยงตนเองและบุตร แม่วัยรุ่นมีความตั้งใจที่จะเลี้ยงดูบุตรให้มีคุณภาพและสร้างครอบครัว ที่อบอุ่นต่อไป ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการป้ องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการดูแล ให้บริการที่เหมาะสม ตอบสนองต่อความต้องการของมารดาวัยรุ่นทุกระยะของการตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตร

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

ศรุตยา รองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร, สมประสงค์ ศิริบริรักษ์. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจ ปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561]; 5(1). แหล่งข้อมูล: https://www2.si.mahidol.ac.th/division/nursing

ปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์, ขวัญใจ เพทายประกายเพชร. การ ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์และการทำแท้ง แนวทางป้องกัน สำหรับวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561];32(2): 133-41. แหล่งข้อมูล: http://www.tci-thaijo.org/index. php.

มนชนก พัฒน์คล้าย, อารี พุ่มประไวทย์, สาโรจน์ เพชรมณี. ประสบการณ์การตั้งครรภ์และการเลี้ยงดูบุตรของวัยรุ่นใน เขตพื้นที่อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์- เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561];4(1):21-32. แหล่งข้อมูล: http://mis.bcnpy.ac.th/webapp/research/.

สำนักอนามัยการเจริญพันธ์ กรมอนามัย. รายงานการเฝ้าระวังการตั้งครรภ์แม่วัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้น เมื่อ 5 ก.พ. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://rh.anamai.moph. go.th/

พันธุ์ทิพย์ บุญเกื้อ. การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของ วัยรุ่นในอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วารสารการพัฒนา สุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น [อินเทอร์เน็ต]. ขอนแก่น: 2560 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561];5(2):195- 216. แหล่งข้อมูล: https://home.kku.ac.th/chd/index

พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 133, ตอนที่ 30 ก (ลงวันที่ 31 มีนาคม 2559).

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. พ.รบ. แม่วัยรุ่น 2559 ‘สิทธิเด็กท้อง’? [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561]. แหล่งข้อมูล: https://www.thaiteentraining.com/index.php?module=news&action=view&id= MzI0MDVlMzA=9

สมพิศ ใยสุ่น. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์: บทบาทพยาบาล เชิงรุก. วารสารการพยาบาลสภากาชาดไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 5 ก.พ. 2561];4(1-3):14-26. แหล่ง ข้อมูล: http://https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ trcnj/article/view/39980

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ