การพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยระบบจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • นภดล สุดสม โรงพยาบาลบ้านหลวง จังหวัดน่าน
  • สุภัคชญา เชียงหนุ้น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
  • บรรจง กิตติสว่างวงค์ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน
  • ดิษพงษ์ ขัติยะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน
  • ศุภกร ธีระไพรพฤกษ์ โรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน
  • อำไพ สุดสม โรงพยาบาลบ้านหลวง จังหวัดน่าน
  • ราเชนทร์ กันใจมา Maecharim Hospital
  • กมล พรมลังกา โรงพยาบาลบ้านหลวง จังหวัดน่าน
  • ฬุจิศักดิ์ วรเดชวิทยา โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติจังหวัดน่าน

คำสำคัญ:

ระบบสารสนเทศ, ระบบจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์, การคัดกรองและเฝ้าระวังโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างรวดเร็ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยรูปแบบการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยระบบจัดการข้อมูล แบบเรียลไทม์สำหรับการเฝ้ าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน โดยปรับใช้วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชัน อย่างรวดเร็ว (rapid application development: RAD) ระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2563 ประกอบด้วย 5 ขั้น ตอน คือ (1) การวางแผนความต้องการ (2) ออกแบบ (3) สร้างระบบ (4) ใช้ระบบ และ (5) ประเมินผล ผลลัพธ์ การพัฒนามีการออกแบบโครงสร้างระบบและเขียนโปรแกรม web-based application เป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) Web application สำหรับด่านคัดกรองโรค www.savenan.com และสำหรับเฝ้ าระวัง ติดตาม อาการของกลุ่มเสี่ยงผู้ที่ต้อง กักตัว 14 วัน (2) Mobile application สำหรับการแจ้งเตือนผู้มาจากพื้นที่เสี่ยงแบบเรียลไทม์ และ (3) Situation awareness team (SAT) system โปรแกรมสำหรับรวบรวมจัดการฐานข้อมูลระบบ ผลการศึกษาพบว่า มีจำนวนข้อมูล ผู้ผ่านด่านคัดกรองทั้งหมด 15,380 ราย มีการแจ้งเตือนออนไลน์กลุ่มเสี่ยงที่กลับบ้านต้องกักตัว 14 วัน แบบเรียลไทม์จากด่านไปถึงชุมชนทั้งหมด 2,143 ครั้ง มีข้อมูลในระบบเฝ้ าระวัง ติดตาม อาการของกลุ่มเสี่ยงผู้ที่ต้องกักตัว หรือสังเกตอาการตนเอง 14 วัน ทั้งหมด 7,135 คน และมีเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้งานครบทั้ง 15 อำเภอ จำนวน 335 คน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าระบบสารสนเทศด้วยระบบจัดการข้อมูลแบบเรียลไทม์เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการ คัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สามารถใช้บูรณาการข้อมูลเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเสียงเพื่อประกอบการ ่ ตัดสินใจในการกำหนดมาตรการควบคุมโรคระดับจังหวัดได้ ส่วนโครงสร้างทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ทีพัฒนาขึ้นสามารถ ่ ต่อยอดใช้เป็นต้นแบบและต้นทุนเพื่อรับมือกับโรคระบาดอื่นๆ ในอนาคตได้ งานวิจัยนี้พบว่า วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชัน อย่างรวดเร็ว เป็นโมเดลที่มีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ในสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. Statement on the Second Meeting of the International Health Regulations. Emergency Committee regarding the outbreak of novel coronavirus (2019-nCoV) [Internet]. Geneva; 2020 [cited 2020 Apr 30]. Available from: https://www.who.int/ news-room/detail/30-01-2020-statement-on-thesecond-meeting-of-the-international-health-regulations-(2005)-emergency-committee-regarding-the-outbreak-of-novel-coronavirus-(2019-ncov)

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ. มาตรการและแนวทางการ ดำเนินการเพื่อการเฝ้ าระวัง ป้ องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ดารณี วรชาติ, ชาตรี นันทพานิช, รุ่งทิวา ประสานทอง, พรพิมล ขันชูสวัสดิ์. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉินและภัยพิบัติทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ระดับจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์ คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2561;35(2):190-202.

กรมควบคุมโรค. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงาน สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2563]. แหล่งข้อมูล: https:// ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

สำนักงานจังหวัดน่าน. ระงับการเดินทางเข้าจังหวัดน่าน เป็นการชั่วคราว (คำสั่งจังหวัดน่าน ที่ ๖๓๘๔/๒๕๖๓) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 30 เม.ย. 2563]. แหล่ง ข้อมูล: http://www.nan.go.th/webjo/index.php?option=com_phocadownload&view=category&id=43:202 0-04-03-09-25-30&Itemid=97

World Health Organization. 2019 Novel Corornavirus (2019-nCoV): strategic preparedness and response plan [Internet]. 2020 [cited 2020 Apr 30]. Available from: https://www.who.int/publications/i/item/strategic-preparedness-and-response-plan-for-the-newcoronavirus

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับ ปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2555.

มานิตา สองสี, ภิรมย์รัตน์ อินทร์ทองคำ, ดนุพัฒน์ กชชาดาปภาดา, ชัยณรงค์ ทรงทอง. ระบบสารสนเทศเพื่อการ สนับสนุนการเฝ้าระวังและการเตือนภัยโรคไข้เลือดออกแบบ มีส่วนร่วม: กรณีศึกษา ตำบลที่วัง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารควบคุมโรค 2559;42(4):315- 26.

Iyengar K, Upadhyaya GK, Vaishya R, Jain V. COVID-19 and applications of smartphone technology in the currentpandemic. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews 2020;(14):733-7.

ถนัด ใบยา, นภดล สุดสม. การพัฒนาระบบการจัดการภาวะ วิกฤตของชุมชนและเครือข่าย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2565;18(3):25-36.

สิทธิพงศ์ พรอุดมทรัพย์, วาสนา เสนาะ, รณกร รัตนธรรมมา, นวิน ครุฑทวีร์. การพัฒนาแอปพลิเคชันข้อมูลข่าวสาร และระบบส่งข้อความแจ้งเตือนแบบพุชบนสมาร์ทโฟนระบบ ปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 2562;13(1):51-65.

วัชราภรณ์ ตาบูรี, ชิงชัย หุมห้อง, ชฎา ณรงค์ฤทธิ์ . ต้นแบบ ระบบภูมิสารสนเทศออนไลน์เพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุในชุมชน. ศรีนครินทร์เวชสาร 2563;35(1):59- 65.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ

บทความที่มีผู้อ่านมากที่สุดจากผู้แต่งเรื่องนี้