การเฝ้าระวังและควบคุมโรคโควิด-19: การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ดรุณี โพธิ์ศรี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • เอกลักษณ์ เอี่ยมประดิษฐ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม
  • เอกพล เสมาชัย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

โควิด-19, การเฝ้าระวังและควบคุมโรค, การมีส่วนร่วม, จังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนกระบวนการบริการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ของการเฝ้าระวัง และควบคุมโรคโควิด-19 แบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้นำองค์กรในระดับจังหวัด ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการป้ องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ทำการศึกษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 31 ธันวาคม 2565 ผลการศึกษา พบว่า จังหวัด นครปฐม มีการวางระบบเฝ้ าระวังและควบคุมโรคที่ดี มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน จัดโครงสร้างผังบัญชาการเหตุการณ์ ตามรูปแบบของกรมป้ องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย แต่ปรับให้มีความเหมาะสมกับจังหวัด นครปฐมโดยแบ่งภารกิจทีสำคัญ 4 ด้าน คือ ภารกิจด้านอำนวยการ ภารกิจด้านการป้ องกันและเฝ้าระวังโรค ภารกิจด้าน การเยียวยา และภารกิจด้านการประชาสัมพันธ์ สิ่งที่จังหวัดนครปฐมทำได้ดีและควรทำต่อไปคือการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติ การโต้ตอบภาวะฉุกเฉินในแต่ละระดับ การทำงานที่มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การประชุม morning brief ผ่านระบบ video conference เพื่อกำกับติดตามการปฏิบัติงานทุกวัน ส่วนจุดอ่อนคือการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลของแต่ละ หน่วยงาน และการขาดกลุ่มงานหลักในด้านสาธารณสุขสำหรับสื่อสารความเสี่ยง ดังนั้น จึงเสนอว่า (1) หน่วยงานรับผิดชอบควรดำเนินการเชื่อมฐานข้อมูลของทุกหน่วยงาน (2) ควรมีโครงสร้างกลุ่มงานสื่อสารความเสี่ยงในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (3) ควรมีการจัดทำชุดความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบการเฝ้ าระวัง ป้ องกัน ควบคุมโรค กรณีโรคโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางการจัดการกรณีเกิดโรคอุบัติใหม่ในอนาคต และ (4) ควรมีการปรับโครงสร้างของ คณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัดเพื่อให้เหมาะสมในกรณีเกิดโรคติดต่ออันตรายในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

แพทย์โรคติดเชื้อและระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ความรู้พื้นฐาน COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://phoubon.in.th/covid-19/ ความรู้เรื่อง%20covid%20รามา.pdf

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สรุปบทเรียน เส้นทาง ฝ่าวิกฤติ พิชิตโรคโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https://moph-flipbook-xj6yx. ondigitalocean.app/books/lesson-learned-covid-19- ddc-thailand

สุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช ,ธิติภัทร คูหา. COVID-19 บทพิสูจน์ ความเข้มแข็งสาธารณสุขไทย. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และ แผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่องชื่อและอาการสำคัญของ โรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137, ตอนพิเศษ 48 ง (วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563).

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. เรื่องยกเลิกชื่อและอาการ สำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139, ตอนพิเศษ 223 ง (วันที่ 20 กันยายน 2565).

พรทิพย์ แก้วมูลคำ. การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม: เทคนิควิธีและการนำไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2560.

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนปฏิบัติการสำหรับทุกภัย อันตราย (all – hazard plan) กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2565.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ระดับความสำเร็จใน การเตรียมพร้อมและตอบโต้การระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: http:// healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1550

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือระบบบัญชาการ เหตุการณ์ทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับการ จัดการในภาวะสาธารณภัย/ภัยพิบัติ [อินเทอร์เน็ต]. [สืบค้น เมื่อ 19 ม.ค. 2566]. แหล่งข้อมูล: https;//www.skto. moph.go.th/document_file/conf_paper_file_ name/20161104163805_885591316.pdf

พระสมุห์ชาญชัย ญาณชาโต (เพชรดี). การพัฒนาพระสงฆ์ ด้วยกระบวนการเดมมิ่ง (Deming cycle) สำหรับพัฒนา จิตใจผู้ต้องขังตามหลักพระพุทธศาสนา. บัณฑิตศึกษา ปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์ [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 19 ม.ค. 2566];2:277. แหล่งข้อมูล: https:// so02.tci-thaijo.org/index.php/jgsnsbc-journal/article/ download/240267/163646/

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ