การเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรองรับการปรับเปลี่ยนโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น กรณีศึกษาตำบลนำร่อง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • กรภัทร อาจวานิชชากุล โรงพยาบาลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
  • เอกพงษ์ ตั้งกิตติเกษม โรงพยาบาลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
  • สุภาพร ปานิเสน โรงพยาบาลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, การเตรียมความพร้อม, โรคประจำถิ่น, การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมของประชาชนในการรองรับการปรับโรคโควิด-19 เป็น โรคประจำถิ่น กรณีศึกษาตำบลนำร่อง อำเภอโพธิ์ ตาก จังหวัดหนองคาย ทำการศึกษา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) การสำรวจความพร้อมฯด้านความเข้าใจและการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ด้วย แบบสอบถาม จำนวน 256 คน (2) พัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมฯโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในพื้นที่ของตำบลนำร่อง และ (3) การประเมินผลลัพธ์การนำไปใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามกับ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลของการสำรวจความพร้อมประชาชนในพื้นที่ ทางด้านความรู้ ความเข้าใจ และรับทราบ ข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด-19 จากแหล่งต่างๆอยู่ในระดับปานกลาง (2) จัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมโดย ส่งเสริมความรู้ในการป้ องกันโรคโควิด-19 และรณรงค์ฉีดวัคซีนเชิงรุกทั้งในหมู่บ้านและทีบ้านของผู้ป่ วยติดเตียง เป็นต้น ่ และ (3) หลังการนำแนวทางเตรียมความพร้อมฯ ไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรงเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และลักษณะการเตรียมความพร้อมรองรับการปรับโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่ ให้การสนับสนุนและร่วมปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่ไปด้วยกัน จนสร้างความร่วมมือกับประชาชนได้เป็นอย่างดี นำไป สู่การเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นป้ องกันโรคโควิด-19 มากขึ้น และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้อย่าง ปลอดภัย (Living with COVID-19)

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

World Health Organization. WHO Director-General’s opening remarks at the media briefing on COVID-19 - 11 March 2020 [Internet]. 2020 [Cited 1 July, 2022]. Available from: https://www.who.int/director-general/ speeches/detail/who-director-general-s-openingremarks-at-the-media-briefing-on-covid-19-11- march-2020.

รุ่งเรือง กิจผาติ, จุฬาพร กระเทศ, ขวัญชัย นุชกลาง, รุ่งเรือง แสนโกษา. รูปแบบการพัฒนาระบบเฝ้ าระวังป้ องกันควบคุม โรคโควิด 19 และคุ้มครองสิทธิประชาชนในวิถีปกติใหม่โดย ชุมชนเสมือนจริงของเครือข่ายบริการสุขภาพปฐมภูมิ จังหวัด มหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(4): 648-63.

สมชาย ภานุมาสวิวัฒน์, อนุศร การะเกษ, วรรณชาติ ตาเลิศ, เกตุนรินทร์ บุญคล้าย และกรรณิกา เพ็ชรักษ์. ความรอบรู้ ด้านวัคซีนโควิด 19 กับความตั้งใจในการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(เพิ่มเติม 1):S3-S12.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการ สถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (endemic approach to COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.pyomoph. go.th/backoffice/files/42148.pdf

เจาะลึกระบบสุขภาพ. จุดจบโควิด เมื่อกลายเป็นโรคประจำถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 9 พ.ค 2565]. แหล่ง ข้อมูล: https://www.hfocus.org/content/2021/11/ 23679

พันธุ์ทิพา หอมทิพย์. โควิด 19 บนเส้นทางเปลี่ยนผ่านสู่โรค ประจำถิ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ14 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/san/Covid19.pdf

สุรชัย โชคครรชิตไชย. วัคซีนโควิด-19 กับแผนสร้าง ภูมิคุ้มกันหมู่ในประเทศไทย (บทบรรณาธิการ). วารสาร เวชศาสตร์ป้ องกันประเทศไทย 2564;11(1):ง.

Center for Systems Science and Engineering (CSSE), Johns Hopkins University. COVID-19 Dashboard by the Center for Systems Science and Engineering (CSSE) at Johns Hopkins University [Internet]. 2020 [Cited 2022 Jun 1]. Available from: https://www.arcgis.com/apps/ opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299 423467b48e9ecf6.

ปริญญ์ ณรงค์ตะณุพล, ปาริชาติ ณรงค์ตะณุพล. บทความ วิชาการ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนโควิด19 แต่ละโดส. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565;8(4): 178-94.

วิวัฒน์ โรจนพิทยากร. บทเรียนจากโรคโควิด 19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2565;31(ฉบับเพิ่มเติม 1):S1-S2.

อุดม ลิขิตวรรณวุฒิ. อนาคตหลังโรคระบาด: การมีชีวิตร่วม กับโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [สืบค้นเมื่อ 22 พ.ย. 2565]. แหล่งข้อมูล: https://ihri.org/th/through-udomslens-column1/

Darwin H. Statistic. Minnesota: AERA Mini Presentation; 1977.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ กระบวนการ ปฏิบัติและเครื่องมือประเมิน. กรุงเทพมหานคร: ไอดีออลดิจิตอลพรินท์; 2564.

เอกพงษ์ ตั้งกิตติเกษม, กรภัทร อาจวานิชชากุล, สุภาพร ปานิเสน. กรณีศึกษารูปแบบการลดการตีตราทางสังคมกับ ผู้ป่ วยโควิด 19 ในชุมชน. วารสารกรมควบคุมโรค 2565; 48(4):758-71.

กิติศักดิ์ แก้วเรือง, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนิน งานควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564;4(2):21-32.

นฤเนตร ลินลา, สุพจน์ คาสะอาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการปฏิบัติตัวต่อการป้ องกันโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 8(3): 8-24.

Becker, M.H. and Maiman L.A. The health belief model and sick role behavior, in the health belief model and personal health behavior. New Jersey: Chales Slack; 1975.

รัศมี สุขนรินทร์, กฤษฎนัย ศรีใจ, จินดา ม่วงแก่น, วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ. พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารควบคุมโรค 2564;48(3):484- 92.

World Health Organization. Advancing the right to health: the vital role of law. Geneva: World Health Organization; 2017. 20. ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัด อุดรธานี “Udon Model COVID-19”. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564;30(1):53-61.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-08-30

วิธีการอ้างอิง

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ